การบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่น

การบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เนื่องจากปัจจุบันเด็กมีแนวโน้มเล่นกีฬามากขึ้น และมีเป้าหมายในการเล่นกีฬาเฉพาะด้าน เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นเลิศในด้านกีฬาเฉพาะทาง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บหลังจากเล่นกีฬา

ร่างกายเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ และมีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บทางกีฬาได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ อันเนื่องมาจากเด็กมีปริมาณพื้นที่ผิวสัมผัสเทียบกับน้ำหนักที่สูงกว่าผู้ใหญ่ (surface area to mass ratio) เด็กมีขนาดศีรษะที่ใหญ่กว่าเทียบกับส่วนสูง และการป้องกันตัวเองหลังจากการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บน้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเฝ้าระวัง การเตรียมตัว และป้องกันตัวเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

การบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย คือ การบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และมือ โดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณใกล้ศูนย์การเจริญของกระดูก (epiphyseal plate) มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บได้ เนื่องจากศูนย์การเจริญของกระดูกดังกล่าวยังปิดไม่สมบูรณ์ในเด็ก

การป้องกันที่สำคัญที่ช่วยลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่น ได้แก่

     1. การอบอุ่นร่างกาย (warm up) ให้เหมาะสมก่อนการออกกำลังกาย รวมถึงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้งก่อน และหลังการออกกำลังกาย

     2. การเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายให้มีความหลากหลายของชนิดกีฬา ไม่ควรมุ่งเน้นเล่นกีฬาเฉพาะด้านอย่างเดียว เพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บเฉพาะข้อ และกล้ามเนื้อเฉพาะมัด เพื่อให้ร่างกายได้พักและมีการพัฒนาของกระดูกและข้อให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก

     3. การตรวจร่างกายก่อนการเล่นกีฬา โดยเฉพาะในเด็กหรือวัยรุ่นที่มีปัญหาด้านกระดูก กระดูกผิดรูป เช่น กระดูกสันหลังคด หรือมีความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่กำเนิด

     4. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน็อค สนับเข่า ข้อศอกหรือมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกีฬาที่มีความเร็วสูง หรือมีความเสี่ยงที่จะมีการปะทะ

สุดท้ายนี้ สำหรับผู้ปกครองที่สงสัย หรือสังเกตว่าบุตรหลานของท่านจะมีการบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา สามารถปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

บทความโดย ผศ. นพ. ภพ กนกโรจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

การบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย เนื่องจากปัจจุบันเด็กมีแนวโน้มเล่นกีฬามากขึ้น และมีเป้าหมายในการเล่นกีฬาเฉพาะด้าน เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นเลิศในด้านกีฬาเฉพาะทาง ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการบาดเจ็บหลังจากเล่นกีฬา

ร่างกายเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ และมีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บทางกีฬาได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ อันเนื่องมาจากเด็กมีปริมาณพื้นที่ผิวสัมผัสเทียบกับน้ำหนักที่สูงกว่าผู้ใหญ่ (surface area to mass ratio) เด็กมีขนาดศีรษะที่ใหญ่กว่าเทียบกับส่วนสูง และการป้องกันตัวเองหลังจากการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บน้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเฝ้าระวัง การเตรียมตัว และป้องกันตัวเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

การบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย คือ การบาดเจ็บบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และมือ โดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณใกล้ศูนย์การเจริญของกระดูก (epiphyseal plate) มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บได้ เนื่องจากศูนย์การเจริญของกระดูกดังกล่าวยังปิดไม่สมบูรณ์ในเด็ก

การป้องกันที่สำคัญที่ช่วยลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บทางกีฬาในเด็กและวัยรุ่น ได้แก่

     1. การอบอุ่นร่างกาย (warm up) ให้เหมาะสมก่อนการออกกำลังกาย รวมถึงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้งก่อน และหลังการออกกำลังกาย

     2. การเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายให้มีความหลากหลายของชนิดกีฬา ไม่ควรมุ่งเน้นเล่นกีฬาเฉพาะด้านอย่างเดียว เพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บเฉพาะข้อ และกล้ามเนื้อเฉพาะมัด เพื่อให้ร่างกายได้พักและมีการพัฒนาของกระดูกและข้อให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก

     3. การตรวจร่างกายก่อนการเล่นกีฬา โดยเฉพาะในเด็กหรือวัยรุ่นที่มีปัญหาด้านกระดูก กระดูกผิดรูป เช่น กระดูกสันหลังคด หรือมีความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่กำเนิด

     4. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวกกันน็อค สนับเข่า ข้อศอกหรือมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกีฬาที่มีความเร็วสูง หรือมีความเสี่ยงที่จะมีการปะทะ

สุดท้ายนี้ สำหรับผู้ปกครองที่สงสัย หรือสังเกตว่าบุตรหลานของท่านจะมีการบาดเจ็บภายหลังจากการเล่นกีฬา สามารถปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ รพ. ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

บทความโดย ผศ. นพ. ภพ กนกโรจน์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง