ตาเหล่ในเด็ก รักษาได้

ตาเหล่ (Strabismus) คืออะไร?

   ตาเหล่ เกิดจากกล้ามเนื้อลูกตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน จนลูกตาไม่สามารถขยับเพื่อให้โฟกัสวัตถุในตำแหน่งเดียวกันได้ ทำให้เกิดภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งเหล่เข้าใน ออกนอก ขึ้นบน หรือลงล่าง ภาวะตาเหล่นอกจากเกี่ยวข้องกับความสวยงามแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุให้ระดับการมองเห็นด้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (แอมไบลโอเปีย) และยังขัดขวางพัฒนาการมองเห็นภาพ 3 มิติ ของเด็กได้

ตาเหล่สามารถแบ่งประเภท ดังนี้

  • ตาเหล่เข้าด้านใน (Esotropia) เป็นภาวะตาเหล่ ในแนวนอน  โดยดวงตาจะเคลื่อนเข้ามาด้านในบริเวณสันจมูก เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วง 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตายังพัฒนาไม่เต็มที่ หากพ้นช่วง 6 เดือนไปแล้ว ยังมีอาการ ตาเหล่ จะถือว่ามีความผิดปกติที่ดวงตา จำเป็นต้องได้รับการรักษา
  • ตาเหล่ออกนอก (Exotropia) เป็นภาวะตาเหล่ ในแนวนอน โดยดวงตาเคลื่อนมองออกด้านนอก ส่วนใหญ่เกิดในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ พบได้ทั้งเป็นบางครั้งหรือเป็นตลอดเวลา
  • ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia) เป็นภาวะตาเหล่ในแนวตั้ง  พบได้น้อยมาก เกิดจากกล้ามเนื้อดวงตาผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ รวมถึงเกิดจากอุบัติเหตุ 
  • ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia) เป็นภาวะตาเหล่ในแนวตั้ง   เกิดจากการที่แกนสายตามองลงล่างอยู่ตลอดเวลา มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ แต่พบได้น้อยมาก 

     *โดยส่วนใหญ่ตาเหล่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว แต่สามารถสลับข้างกันเป็นได้ หรือเหล่พร้อมกันสองข้างได้แต่พบได้เป็นส่วนน้อย

ตาเหล่มีสาเหตุมาจากอะไร?

  • ตาเหล่แต่กำเนิด (Congenital Strabismus)  เกิดกับทารกแรกคลอดหรืออาจพัฒนาอาการขึ้นภายใน 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกัน ส่วนใหญ่เป็นตาเหล่เข้าด้านในและตาเหล่ออกด้านนอก  ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้
  • ความผิดปกติทางสายตา อาจเป็นไปได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งเป็นผลมาจากการหักเหของแสงที่ส่องผ่านแก้วตาผิดปกติ
  • ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ส่งผลให้การสั่งงานกล้ามเนื้อดวงตาผิดปกติ รวมถึงทำให้การพัฒนาทางร่างกายและสมองผิดปกติด้วย ซึ่งสามารถแสดงอาการตั้งแต่ในครรภ์ หรือหลังคลอด
  • พันธุกรรม ลักษณะของตาเหล่ทั้งแบบที่ทราบและไม่ทราบสาเหตุ สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ โดยอาจพบตั้งแต่เด็ก หรือพบตอนโตก็ได้
  • โรคทางพันธุกรรม ส่งผลให้เด็กตาเหล่  เช่น กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม  

ตาเหล่รักษาได้อย่างไร?

   ภาวะตาเหล่ควรรักษาตั้งแต่ช่วงต้นๆ เนื่องจากในเด็กตาเหล่บางรายอาจเกิดจากความผิดปกติร้ายแรงทางตา เช่น ภาวะมะเร็งของจอประสาทตา (Retinoblastoma) โดยจักษุแพทย์สามารถตรวจตาให้เด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หากพบว่าเด็กมีอาการตาเหล่ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค้นหาสาเหตุและทำการรักษา อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ มักมีเนื้อบริเวณหัวตากว้างและดั้งจมูกแบน อาจทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้าใน เรียกว่าตาเหล่เทียม ซึ่งจะดูดีขึ้นเมื่อโตขึ้น แต่หากสังเกตเห็นตาดำไม่อยู่ตรงกลางหรือไม่แน่ใจ ควรรีบมาพบจักษุแพทย์

#ศูนย์ตา #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #ตาเหล่เทียม #ตาเหล่ในทารก #ตาเหล่ แก้ไข #ตาเหล่หลบใน #ตาเหล่ ตาเข #ตาเหล่ออก #ตาเหล่ ผ่าตัด #ตาเหล่ ซ่อนเร้น #ตาเหล่ #ตาเหล่ในเด็ก #ตาเหล่ ทําไงดี #ตาเหล่ซ่อนเร้น

แนวทางในการรักษา

  • บางชนิดสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตา
  • บางชนิดต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

   *เด็กที่มีตาเหล่ มักมีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ฉะนั้นหลักการรักษาจะเริ่มรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีก่อน จึงจะรักษาอาการตาเหล่ได้ต่อไป 

ตรวจสอบโดย : ผศ. พญ. เพียงพร ศักดิ์ศิริวุฒโฒ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

 

ตาเหล่ (Strabismus) คืออะไร?

   ตาเหล่ เกิดจากกล้ามเนื้อลูกตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน จนลูกตาไม่สามารถขยับเพื่อให้โฟกัสวัตถุในตำแหน่งเดียวกันได้ ทำให้เกิดภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งเหล่เข้าใน ออกนอก ขึ้นบน หรือลงล่าง ภาวะตาเหล่นอกจากเกี่ยวข้องกับความสวยงามแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุให้ระดับการมองเห็นด้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (แอมไบลโอเปีย) และยังขัดขวางพัฒนาการมองเห็นภาพ 3 มิติ ของเด็กได้

ตาเหล่สามารถแบ่งประเภท ดังนี้

  • ตาเหล่เข้าด้านใน (Esotropia) เป็นภาวะตาเหล่ ในแนวนอน  โดยดวงตาจะเคลื่อนเข้ามาด้านในบริเวณสันจมูก เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วง 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตายังพัฒนาไม่เต็มที่ หากพ้นช่วง 6 เดือนไปแล้ว ยังมีอาการ ตาเหล่ จะถือว่ามีความผิดปกติที่ดวงตา จำเป็นต้องได้รับการรักษา
  • ตาเหล่ออกนอก (Exotropia) เป็นภาวะตาเหล่ ในแนวนอน โดยดวงตาเคลื่อนมองออกด้านนอก ส่วนใหญ่เกิดในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ พบได้ทั้งเป็นบางครั้งหรือเป็นตลอดเวลา
  • ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia) เป็นภาวะตาเหล่ในแนวตั้ง  พบได้น้อยมาก เกิดจากกล้ามเนื้อดวงตาผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงผิดปกติ รวมถึงเกิดจากอุบัติเหตุ 
  • ตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia) เป็นภาวะตาเหล่ในแนวตั้ง   เกิดจากการที่แกนสายตามองลงล่างอยู่ตลอดเวลา มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ แต่พบได้น้อยมาก 

     *โดยส่วนใหญ่ตาเหล่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว แต่สามารถสลับข้างกันเป็นได้ หรือเหล่พร้อมกันสองข้างได้แต่พบได้เป็นส่วนน้อย

ตาเหล่มีสาเหตุมาจากอะไร?

  • ตาเหล่แต่กำเนิด (Congenital Strabismus)  เกิดกับทารกแรกคลอดหรืออาจพัฒนาอาการขึ้นภายใน 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานไม่ประสานกัน ส่วนใหญ่เป็นตาเหล่เข้าด้านในและตาเหล่ออกด้านนอก  ซึ่งสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้
  • ความผิดปกติทางสายตา อาจเป็นไปได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งเป็นผลมาจากการหักเหของแสงที่ส่องผ่านแก้วตาผิดปกติ
  • ระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ ส่งผลให้การสั่งงานกล้ามเนื้อดวงตาผิดปกติ รวมถึงทำให้การพัฒนาทางร่างกายและสมองผิดปกติด้วย ซึ่งสามารถแสดงอาการตั้งแต่ในครรภ์ หรือหลังคลอด
  • พันธุกรรม ลักษณะของตาเหล่ทั้งแบบที่ทราบและไม่ทราบสาเหตุ สามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ โดยอาจพบตั้งแต่เด็ก หรือพบตอนโตก็ได้
  • โรคทางพันธุกรรม ส่งผลให้เด็กตาเหล่  เช่น กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม  

ตาเหล่รักษาได้อย่างไร?

   ภาวะตาเหล่ควรรักษาตั้งแต่ช่วงต้นๆ เนื่องจากในเด็กตาเหล่บางรายอาจเกิดจากความผิดปกติร้ายแรงทางตา เช่น ภาวะมะเร็งของจอประสาทตา (Retinoblastoma) โดยจักษุแพทย์สามารถตรวจตาให้เด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หากพบว่าเด็กมีอาการตาเหล่ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค้นหาสาเหตุและทำการรักษา อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ มักมีเนื้อบริเวณหัวตากว้างและดั้งจมูกแบน อาจทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้าใน เรียกว่าตาเหล่เทียม ซึ่งจะดูดีขึ้นเมื่อโตขึ้น แต่หากสังเกตเห็นตาดำไม่อยู่ตรงกลางหรือไม่แน่ใจ ควรรีบมาพบจักษุแพทย์

#ศูนย์ตา #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #ตาเหล่เทียม #ตาเหล่ในทารก #ตาเหล่ แก้ไข #ตาเหล่หลบใน #ตาเหล่ ตาเข #ตาเหล่ออก #ตาเหล่ ผ่าตัด #ตาเหล่ ซ่อนเร้น #ตาเหล่ #ตาเหล่ในเด็ก #ตาเหล่ ทําไงดี #ตาเหล่ซ่อนเร้น

แนวทางในการรักษา

  • บางชนิดสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตา
  • บางชนิดต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

   *เด็กที่มีตาเหล่ มักมีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ฉะนั้นหลักการรักษาจะเริ่มรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีก่อน จึงจะรักษาอาการตาเหล่ได้ต่อไป 

ตรวจสอบโดย : ผศ. พญ. เพียงพร ศักดิ์ศิริวุฒโฒ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง