เรื่องน่ารู้ของฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร?

     ฮอร์โมนเพศชาย หรือ “เทสโทสเตอโรน (Testosterone)” เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยอัณฑะ (Testis) ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชาย มี 2 ข้างอยู่ในถุงอัณฑะ (Scrotum) ฮอร์โมนนี้ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ และยังส่งผลต่อการทำงานส่วนอื่นของร่างกาย โดยช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดระดับไขมันสะสมในร่างกาย และป้องกันโรคกระดูกพรุนอีกด้วย

ฮอร์โมนเพศชาย ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

     หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศชาย คือการกระตุ้นให้เด็กชายก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม โดยจะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจหลายด้าน เช่น

  • มีความรู้สึกรักใคร่และความต้องการทางเพศ
  • มีเหงื่อออกมากขึ้น และอาจทำให้มีกลิ่นตัว
  • เสียงแหบ หรือเสียงทุ้มขึ้น
  • กระดูกใหญ่ขึ้น ไหล่และหน้าอกกว้างขึ้น
  • ผิวหนังสร้างไขมันมากขึ้น ทำให้มีรูขุมขนใหญ่ขึ้น และบางคนอาจเป็นสิวที่ใบหน้า
  • มีขนที่ใต้วงแขน และหัวเหน่า

ระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติ คือเท่าไร?

     ระดับปกติของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ควรอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl (นาโนกรัมต่อเดซิลิตร) แต่หลังจากที่ผู้ชายมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ระดับฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆลดลงประมาณ 1-2% ต่อปี ทำให้มีโอกาสแสดงอาการจากการขาดฮอร์โมนได้มากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น

     ในผู้ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone deficiency) ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อ้วนลงพุง ความรู้สึกทางเพศลดลง การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ?

     ผู้ชายส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังมีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากเป็นภาวะที่แสดงออกได้ในหลายระบบของร่างกาย

     ดังนั้นหากรู้สึกว่าตนเองมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศชาย เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ ไม่กระฉับกระเฉง อารมณ์ทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีความเครียดมาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อ้วนลงพุง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ หรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง ก็ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมน

วิธีการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายทำอย่างไร?

     แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์ หลังจากนั้นจะนำผลตรวจมาวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

     การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงการตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องจะตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด (Blood test) แล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์

     โดยแพทย์จะซักประวัติผู้เข้ารับการตรวจ ตรวจร่างกาย และนำผลการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดที่ได้ มาประเมินเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา รวมทั้งแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

     สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย แนะนำให้เจาะเลือดในช่วงเช้า 7.00 - 11.00 น. และอาจต้องงดอาหารมาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการเจาะตรวจเพิ่มเติม และถ้าหากมีโรคประจำตัว หรือใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่เป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการตรวจด้วย

ข้อดีของการตรวจฮอร์โมนเพศชาย

     การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้ทราบระดับของฮอร์โมนเพศชายและผลเลือดที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวางแผนในการรักษา ในผู้ป่วยที่มีอาการจากการขาดฮอร์โมนเพศชาย หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการขากฮอร์โมน การเสริมฮอร์โมนเพศชายจะช่วยทำให้อาการต่างดีขึ้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครที่สมควรรับการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย?

     ผู้ที่มีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศชาย เช่น

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่ค่อยหลับ หรือการนอนหลับผิดปกติ
  • ระดับพลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
  • อารมณ์ทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศในช่วงเช้าลดลง
  • ปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
  • สมรรถภาพทางกายลดลง กล้ามเนื้อลีบลง

     ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดของฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • ผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่เคยได้รับเคมีบำบัด หรือฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณขาหนีบ อัณฑะหรือในอุ้งเชิงกราน

เราจะดูแลตนเองให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายปกติได้อย่างไร?

     เรายังสามารถดูแลตนเองได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม เช่น

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษารูปร่างให้ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน ของหวาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
  • งดสูบบุหรี่

หากพบว่ามีฮอร์โมนเพศชายต่ำ รักษาอย่างไร?

     การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

     นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหรือฮอร์โมนเพศชายทดแทน ซึ่งสามารถทำให้เพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดได้ ทำให้ลดอาการจากการขาดฮอร์โมนเพศชายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

ฮอร์โมนเพศชาย คืออะไร?

     ฮอร์โมนเพศชาย หรือ “เทสโทสเตอโรน (Testosterone)” เป็นฮอร์โมนที่ผลิตโดยอัณฑะ (Testis) ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชาย มี 2 ข้างอยู่ในถุงอัณฑะ (Scrotum) ฮอร์โมนนี้ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางเพศ และยังส่งผลต่อการทำงานส่วนอื่นของร่างกาย โดยช่วยในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดระดับไขมันสะสมในร่างกาย และป้องกันโรคกระดูกพรุนอีกด้วย

ฮอร์โมนเพศชาย ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

     หน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเพศชาย คือการกระตุ้นให้เด็กชายก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม โดยจะทำให้อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายทั้งภายนอกและภายในเจริญเติบโตเต็มที่ องคชาติขยายใหญ่และยาวขึ้น มีขนขึ้นที่อวัยวะเพศ รักแร้ หน้าแข้ง แขน ขา มีลูกกระเดือก ไหล่กว้าง สะโพกแคบ กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจหลายด้าน เช่น

  • มีความรู้สึกรักใคร่และความต้องการทางเพศ
  • มีเหงื่อออกมากขึ้น และอาจทำให้มีกลิ่นตัว
  • เสียงแหบ หรือเสียงทุ้มขึ้น
  • กระดูกใหญ่ขึ้น ไหล่และหน้าอกกว้างขึ้น
  • ผิวหนังสร้างไขมันมากขึ้น ทำให้มีรูขุมขนใหญ่ขึ้น และบางคนอาจเป็นสิวที่ใบหน้า
  • มีขนที่ใต้วงแขน และหัวเหน่า

ระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติ คือเท่าไร?

     ระดับปกติของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ควรอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl (นาโนกรัมต่อเดซิลิตร) แต่หลังจากที่ผู้ชายมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ระดับฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆลดลงประมาณ 1-2% ต่อปี ทำให้มีโอกาสแสดงอาการจากการขาดฮอร์โมนได้มากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น

     ในผู้ที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone deficiency) ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง เช่น หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อ้วนลงพุง ความรู้สึกทางเพศลดลง การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่า ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ?

     ผู้ชายส่วนมากมักไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังมีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย เนื่องจากเป็นภาวะที่แสดงออกได้ในหลายระบบของร่างกาย

     ดังนั้นหากรู้สึกว่าตนเองมีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศชาย เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย นอนไม่ค่อยหลับ ไม่กระฉับกระเฉง อารมณ์ทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีความเครียดมาก ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อ้วนลงพุง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ หรือมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง ก็ควรเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมน

วิธีการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายทำอย่างไร?

     แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการณ์ หลังจากนั้นจะนำผลตรวจมาวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

     การตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย รวมถึงการตรวจระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องจะตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด (Blood test) แล้วส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์

     โดยแพทย์จะซักประวัติผู้เข้ารับการตรวจ ตรวจร่างกาย และนำผลการตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดที่ได้ มาประเมินเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษา รวมทั้งแนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

     สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย แนะนำให้เจาะเลือดในช่วงเช้า 7.00 - 11.00 น. และอาจต้องงดอาหารมาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนเจาะเลือด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ต้องการเจาะตรวจเพิ่มเติม และถ้าหากมีโรคประจำตัว หรือใช้ยารักษาโรคประจำตัวอยู่เป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนเข้ารับการตรวจด้วย

ข้อดีของการตรวจฮอร์โมนเพศชาย

     การตรวจฮอร์โมนจะช่วยให้ทราบระดับของฮอร์โมนเพศชายและผลเลือดที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุและวางแผนในการรักษา ในผู้ป่วยที่มีอาการจากการขาดฮอร์โมนเพศชาย หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการขากฮอร์โมน การเสริมฮอร์โมนเพศชายจะช่วยทำให้อาการต่างดีขึ้น และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครที่สมควรรับการตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย?

     ผู้ที่มีอาการของการขาดฮอร์โมนเพศชาย เช่น

  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • นอนไม่ค่อยหลับ หรือการนอนหลับผิดปกติ
  • ระดับพลังงานลดลง อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง
  • อารมณ์ทางเพศและสมรรถภาพทางเพศลดลง
  • การแข็งตัวของอวัยวะเพศในช่วงเช้าลดลง
  • ปริมาณน้ำอสุจิน้อยลง
  • สมรรถภาพทางกายลดลง กล้ามเนื้อลีบลง

     ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดของฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่

  • ผู้ที่เป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติด
  • ผู้ที่มีความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย
  • ผู้ที่เคยได้รับเคมีบำบัด หรือฉายแสงบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณขาหนีบ อัณฑะหรือในอุ้งเชิงกราน

เราจะดูแลตนเองให้มีระดับฮอร์โมนเพศชายปกติได้อย่างไร?

     เรายังสามารถดูแลตนเองได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม เช่น

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษารูปร่างให้ไม่มีภาวะอ้วนลงพุง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด ของมัน ของหวาน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด
  • งดสูบบุหรี่

หากพบว่ามีฮอร์โมนเพศชายต่ำ รักษาอย่างไร?

     การรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม

     นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ยาหรือฮอร์โมนเพศชายทดแทน ซึ่งสามารถทำให้เพิ่มระดับฮอร์โมนที่ขาดได้ ทำให้ลดอาการจากการขาดฮอร์โมนเพศชายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง