อาการบ้านหมุน เวียนศีรษะ เรื่องที่ควรระวัง

   เวียนศีรษะ เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึงอาการสมองตื้อ ไม่แจ่มใส รู้สึกมึนงง โคลงเคลง การทรงตัวไม่ค่อยดี ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่ง และในบางรายอาจมีอาการบ้านหมุน คือ รู้สึกว่าตัวเองหมุนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริง และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเวียนศีรษะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกายตลอดจนความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ

1. ความผิดปกติของหูชั้นในหรือระบบสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว

2. ความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต หรือสายตา

3. ฤทธิ์ข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด

4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ

วิธีการตรวจวินิจฉัยอาการเวียนศีรษะ

1. ซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น ตรวจหู ตรวจประสาทและการทรงตัวทั้งหมด

2. หากสงสัยว่ามีสาเหตุจากสมอง อาจจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการเวียนศีรษะ

1. การรักษาตามสาเหตุของโรค

แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ซึ่งแต่ละโรคจะรักษาแตกต่างกันไป      

2. การรักษาตามอาการ

การให้ยา บรรเทาอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน

3. บริหารระบบทรงตัว

เมื่ออาการเวียนศีรษะน้อยลง แนะนำให้บริหารระบบทรงตัว เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้ เช่น การฝึกบริหารสายตา ฝึกกล้ามเนื้อ คอ แขน ขา ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและคอ รวมทั้งการเดินและยืน

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ผู้ป่วยนอนบนพื้นราบ ระวังล้ม และพยายามให้ผู้ป่วยมองจุดใดจุดหนึ่งนิ่งๆ ไว้

2. หากมีอาการร่วม เช่น พูดไม่ชัด กลืนลำบาก เสียงแหบ แขนหรือขาอ่อนแรง ชา ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

3. ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคที่เกี่ยวข้องกับหูชั้นใน เช่น โรคน้ำหูไม่เท่ากัน หรือโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เป็นต้น แนะนำให้รับประทานยาประจำตัวก่อน หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์

วิธีป้องกันการเกิดอาการบ้านหมุน

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด, ความวิตกกังวล, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สารก่อภูมิแพ้ (ถ้าแพ้) เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หรือสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ และการสูบบุหรี่

3. ออกกำลังกายและบริหารประสาททรงตัวอย่างสม่ำเสมอ

4. หลีกเลี่ยงเสียงดัง และการกระทบกระเทือนบริเวณหู

อาการบ้านหมุนอันตรายไหม?

อาการบ้านหมุนจะอันตรายหรือไม่อันตรายนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เพราะถ้าสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือเส้นเลือดผิดปกติอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้าเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หินปูนในหูชั้นในหลุดก็สามารถรักษาได้และไม่เป็นอันตราย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D

   เวียนศีรษะ เป็นคำรวมๆ ที่หมายถึงอาการสมองตื้อ ไม่แจ่มใส รู้สึกมึนงง โคลงเคลง การทรงตัวไม่ค่อยดี ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกเพศทุกวัย ไม่จำเพาะกับโรคใดโรคหนึ่ง และในบางรายอาจมีอาการบ้านหมุน คือ รู้สึกว่าตัวเองหมุนหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริง และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเวียนศีรษะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งความผิดปกติของระบบการทรงตัวของร่างกายตลอดจนความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ

1. ความผิดปกติของหูชั้นในหรือระบบสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทรงตัว

2. ความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต หรือสายตา

3. ฤทธิ์ข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด

4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ

วิธีการตรวจวินิจฉัยอาการเวียนศีรษะ

1. ซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น ตรวจหู ตรวจประสาทและการทรงตัวทั้งหมด

2. หากสงสัยว่ามีสาเหตุจากสมอง อาจจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเอกซเรย์สนามแม่เหล็ก (MRI) เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการเวียนศีรษะ

1. การรักษาตามสาเหตุของโรค

แพทย์จะพิจารณาการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ซึ่งแต่ละโรคจะรักษาแตกต่างกันไป      

2. การรักษาตามอาการ

การให้ยา บรรเทาอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และอาเจียน

3. บริหารระบบทรงตัว

เมื่ออาการเวียนศีรษะน้อยลง แนะนำให้บริหารระบบทรงตัว เพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลของระบบประสาททรงตัวได้ เช่น การฝึกบริหารสายตา ฝึกกล้ามเนื้อ คอ แขน ขา ฝึกการเคลื่อนไหวศีรษะและคอ รวมทั้งการเดินและยืน

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ผู้ป่วยนอนบนพื้นราบ ระวังล้ม และพยายามให้ผู้ป่วยมองจุดใดจุดหนึ่งนิ่งๆ ไว้

2. หากมีอาการร่วม เช่น พูดไม่ชัด กลืนลำบาก เสียงแหบ แขนหรือขาอ่อนแรง ชา ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

3. ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคที่เกี่ยวข้องกับหูชั้นใน เช่น โรคน้ำหูไม่เท่ากัน หรือโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน เป็นต้น แนะนำให้รับประทานยาประจำตัวก่อน หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบมาพบแพทย์

วิธีป้องกันการเกิดอาการบ้านหมุน

1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด, ความวิตกกังวล, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สารก่อภูมิแพ้ (ถ้าแพ้) เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม หรือสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ และการสูบบุหรี่

3. ออกกำลังกายและบริหารประสาททรงตัวอย่างสม่ำเสมอ

4. หลีกเลี่ยงเสียงดัง และการกระทบกระเทือนบริเวณหู

อาการบ้านหมุนอันตรายไหม?

อาการบ้านหมุนจะอันตรายหรือไม่อันตรายนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เพราะถ้าสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือเส้นเลือดผิดปกติอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ แต่ถ้าเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หินปูนในหูชั้นในหลุดก็สามารถรักษาได้และไม่เป็นอันตราย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง