สูบบุหรี่ตลอด เสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) คือ โรคปอดชนิดเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพของถุงลมโป่งพองและ/หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดร่วมกัน

สาเหตุโรคถุงลมโป่งพอง

อาการโรคถุงลมโป่งพอง

  • เหนื่อย
  • ไอ
  • มีเสมหะ

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง

   ปัจจัยเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง (COPD) ในทั่วโลก คือ การสูบบุหรี่ประมาณ 20% ของผู้ที่สูบบุหรี่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง และครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานเกือบชั่วชีวิตจะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง

   การอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง ประมาณ 20% การสูบประเภทอื่น ๆ เช่น การสูบกัญชา ซิการ์ และไปป์น้ำ ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน

วินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

  การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง ใช้การตรจสมรรถภาพปอด (Spirometry) ในผู้ที่มีอาการเหนื่อย การไอเรื้อรัง มีเสมหะ และมีประวัติสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรค จากนั้นจึงใช้การตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

แนาทางการดูแลรักษา

   โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการไม่สูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หรือการเกิดโรคแต่เมื่อเกิดโรคแล้วการดูแลรักษาจะประกอบไปด้วยการประเมิน และติดตามโรค การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (reduce risk factors) การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในช่วงที่โรคสงบ (manages table COPD) การดูแลรักษาช่วงที่มีการกำเริบของโรคเฉียบพลัน (manage exacerbations) แม้ว่าโรคถุงลมโป่งพองจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลอการดำเนินโรค บรรเทาอาการของโรค ป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนรวมถึงอาการกำเริบเฉียบพลันได้ โดยวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นได้มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับแรกของโรคถุงลมโป่งพอง การเลิกบุหรี่จะช่วยไม่ให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงและทำให้หายใจได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ และการอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี
  • การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการ ลดการกำเริบ ซึ่งการเลือกใช้ยาจะเป็นไปตามอาการและระดับความรุนแรงของโรค สำหรับกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ยาขยายหลอดลม, ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด, ยาปฏิชีวนะ
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยรุนแรง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยกายภาพบำบัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C

  โรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) คือ โรคปอดชนิดเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพของถุงลมโป่งพองและ/หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดร่วมกัน

สาเหตุโรคถุงลมโป่งพอง

อาการโรคถุงลมโป่งพอง

  • เหนื่อย
  • ไอ
  • มีเสมหะ

 

 

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง

   ปัจจัยเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง (COPD) ในทั่วโลก คือ การสูบบุหรี่ประมาณ 20% ของผู้ที่สูบบุหรี่จะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง และครึ่งหนึ่งของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานเกือบชั่วชีวิตจะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง

   การอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง ประมาณ 20% การสูบประเภทอื่น ๆ เช่น การสูบกัญชา ซิการ์ และไปป์น้ำ ก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน

วินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

  การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง ใช้การตรจสมรรถภาพปอด (Spirometry) ในผู้ที่มีอาการเหนื่อย การไอเรื้อรัง มีเสมหะ และมีประวัติสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงของโรค จากนั้นจึงใช้การตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

แนาทางการดูแลรักษา

   โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการไม่สูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง หรือการเกิดโรคแต่เมื่อเกิดโรคแล้วการดูแลรักษาจะประกอบไปด้วยการประเมิน และติดตามโรค การลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค (reduce risk factors) การดูแลผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในช่วงที่โรคสงบ (manages table COPD) การดูแลรักษาช่วงที่มีการกำเริบของโรคเฉียบพลัน (manage exacerbations) แม้ว่าโรคถุงลมโป่งพองจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถชะลอการดำเนินโรค บรรเทาอาการของโรค ป้องกันและรักษาภาวะแทรกซ้อนรวมถึงอาการกำเริบเฉียบพลันได้ โดยวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นได้มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอันดับแรกของโรคถุงลมโป่งพอง การเลิกบุหรี่จะช่วยไม่ให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงและทำให้หายใจได้ดีขึ้น
  • หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ และการอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี
  • การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการ ลดการกำเริบ ซึ่งการเลือกใช้ยาจะเป็นไปตามอาการและระดับความรุนแรงของโรค สำหรับกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่ ยาขยายหลอดลม, ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด, ยาปฏิชีวนะ
  • การรักษาอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยออกซิเจน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยรุนแรง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยกายภาพบำบัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ระบบการหายใจ ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง