กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคสุดแสบของชาวออฟฟิศ

กระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่ทำอะไร?

     กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูกของผู้หญิง และจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนักของผู้ชาย มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังกระเพาะปัสสาวะจะเริ่มบีบตัวเพื่อขับปัสสาวะให้ไหลออกมาทางหลอดปัสสาวะ โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใดๆ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร?

     โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยในผู้หญิงเนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปข้างในได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อย ระบบโครงสร้างของระบบปัสสาวะผิดปรกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เป็นต้น

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวันแบบกะปริบกะปรอย โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในเวลากลางคืน

     2. ปัสสาวะแสบขัด

     3. เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ

     4. ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือด

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. ซักถามประวัติการเจ็บป่วย และตรวจร่างกายพื้นฐาน

     2. การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว

     3. หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ

     4. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ หรือการถ่ายภาพรังสี เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะที่มากกว่าการติดเชื้อ

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฎิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

วิธีการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ โดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้แบคทีเรียในปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี

     2. ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 8 - 10 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกจากร่างกายโดยเร็ว

     3. ควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระเสร็จ โดยเฉพาะผู้หญิงควรทำความอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการนำเชื้อโรคจากรูทวารและช่องคลอดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ

    4. ควรทำความสะอาดร่างกายและปัสสาวะทิ้งทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์

     หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบปรึกษาศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่ในระยะแรกด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

กระเพาะปัสสาวะมีหน้าที่ทำอะไร?

     กระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกรานด้านหน้ามดลูกของผู้หญิง และจะอยู่ด้านหน้าต่อทวารหนักของผู้ชาย มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ผนังกระเพาะปัสสาวะส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อในกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ผนังกระเพาะปัสสาวะจะเริ่มบีบตัวเพื่อขับปัสสาวะให้ไหลออกมาทางหลอดปัสสาวะ โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบใดๆ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากอะไร?

     โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้บ่อยในผู้หญิงเนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย จึงทำให้เชื้อโรคต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปข้างในได้ง่ายกว่า แต่ในบางรายอาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะบ่อย ระบบโครงสร้างของระบบปัสสาวะผิดปรกติ หรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เป็นต้น

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวันแบบกะปริบกะปรอย โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในเวลากลางคืน

     2. ปัสสาวะแสบขัด

     3. เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ

     4. ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือด

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. ซักถามประวัติการเจ็บป่วย และตรวจร่างกายพื้นฐาน

     2. การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว

     3. หากมีการติดเชื้อ แพทย์อาจส่งน้ำปัสสาวะเพื่อการเพาะเชื้อ

     4. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจ หรือการถ่ายภาพรังสี เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะที่มากกว่าการติดเชื้อ

แนวทางการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฎิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

วิธีการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

     1. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ โดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้แบคทีเรียในปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี

     2. ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 8 - 10 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกจากร่างกายโดยเร็ว

     3. ควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระเสร็จ โดยเฉพาะผู้หญิงควรทำความอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อลดการนำเชื้อโรคจากรูทวารและช่องคลอดเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ

    4. ควรทำความสะอาดร่างกายและปัสสาวะทิ้งทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์

     หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบปรึกษาศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาตั้งแต่ในระยะแรกด้วยวิธีที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามของโรคต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง