
ทำความเข้าใจ โรคไตในผู้หญิง
ปัจจุบันผู้หญิงกว่า 195 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease: CKD) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 8 ของผู้หญิงทั่วโลก หรือประมาณ 600,000 รายในแต่ละปี และคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะสตรีวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการบำบัดทดแทนไตจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ การแท้ง การตกเลือดหลังคลอด ทำให้มีภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้น ผู้หญิงที่เป็นโรคไตก่อนการตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และวางแผนการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม มาเรียนรู้โรคไตในผู้หญิงอย่างเข้าใจ
โรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
คือ ภาวะที่ไตมีการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไต (estimated Glomerular Filtration Rate: eGFR) ที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15 จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา
สาเหตุของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง ที่พบได้บ่อยได้แก่
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไตอักเสบ เช่น IgA nephropathy, Lupus nephritis, FSGS เป็นต้น
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic kidney disease)
- โรคไตขาดเลือดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
- การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน เช่น ยา diclofenac
อาการของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางคืน พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลงในระยะแรก
- ขาบวมและกดบุ๋ม อาจเกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะมาก หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมีน้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
- ความดันโลหิตสูง
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามร่างกาย อ่อนเพลีย
- อาจมีการขาดประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
อาการของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
เมื่อการทำงานของไตลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15 จะมีอาการทางระบบอื่นตามมามากขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้จนมีสภาวะขาดสารอาหาร ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สะอึก บวม หอบเหนื่อย อาจมีอาการหอบจากการคั่งของกรดในร่างกาย หากมีอาการมากและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะซึมลง ชักได้
การรักษาโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
1. การรักษาเพื่อการชะลอการเสื่อมของไต สำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น เช่น
- ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
- การควบคุมอาหาร ลดทานอาหารเค็ม ควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
- การรักษาด้วยยา และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย
2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต
คือ กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
2.1 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีการ นำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรอง เพื่อฟอกเลือดให้สะอาด
ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง / ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
2.2 การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียทำหน้าที่แทนไต
ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัติโนมัติช่วยฟอกทำการเปลี่ยนน้ำยาแทน
2.3 การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอตลอดชีวิต ผู้ให้ไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผู้ให้ไตที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ แม่ หรือ ญาติของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
- ผู้ให้ไตที่เสียชีวิตแล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C
ปัจจุบันผู้หญิงกว่า 195 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease: CKD) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 8 ของผู้หญิงทั่วโลก หรือประมาณ 600,000 รายในแต่ละปี และคาดว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะสตรีวัยเจริญพันธุ์ เมื่อมีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและได้รับการบำบัดทดแทนไตจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ การแท้ง การตกเลือดหลังคลอด ทำให้มีภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้น ผู้หญิงที่เป็นโรคไตก่อนการตั้งครรภ์ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์และวางแผนการตั้งครรภ์อย่างเหมาะสม มาเรียนรู้โรคไตในผู้หญิงอย่างเข้าใจ
โรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
คือ ภาวะที่ไตมีการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไต (estimated Glomerular Filtration Rate: eGFR) ที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15 จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆ ตามมา
สาเหตุของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง ที่พบได้บ่อยได้แก่
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไตอักเสบ เช่น IgA nephropathy, Lupus nephritis, FSGS เป็นต้น
- โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic kidney disease)
- โรคไตขาดเลือดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ หรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
- การได้รับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นระยะเวลานาน เช่น ยา diclofenac
อาการของโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
- ปัสสาวะบ่อยขึ้นในเวลากลางคืน พบได้เมื่อการทำงานของไตเริ่มเสื่อมลงในระยะแรก
- ขาบวมและกดบุ๋ม อาจเกิดจากมีเกลือและน้ำคั่งในร่างกาย หรือมีโปรตีนรั่วมาในปัสสาวะมาก หากบวมมากจะทำให้เกิดอาการหอบเหนื่อยจากการมีน้ำคั่งในปอด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
- ความดันโลหิตสูง
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร คันตามร่างกาย อ่อนเพลีย
- อาจมีการขาดประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
อาการของไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
เมื่อการทำงานของไตลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 15 จะมีอาการทางระบบอื่นตามมามากขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานอาหารไม่ได้จนมีสภาวะขาดสารอาหาร ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สะอึก บวม หอบเหนื่อย อาจมีอาการหอบจากการคั่งของกรดในร่างกาย หากมีอาการมากและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะซึมลง ชักได้
การรักษาโรคไตเรื้อรังในผู้หญิง
1. การรักษาเพื่อการชะลอการเสื่อมของไต สำหรับผู้ป่วยระยะเริ่มต้น เช่น
- ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
- การควบคุมอาหาร ลดทานอาหารเค็ม ควบคุมระดับโพแทสเซียมและฟอสฟอรัส
- การรักษาด้วยยา และหลีกเลี่ยงสารหรือยาที่มีผลเสียต่อไต
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย
2. การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต
คือ กระบวนการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เองตามที่ควรจะเป็น เพื่อช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
2.1 การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
วิธีการ นำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรอง เพื่อฟอกเลือดให้สะอาด
ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง / ครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
2.2 การล้างไตทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis)
วิธีการ ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียทำหน้าที่แทนไต
ระยะเวลา วันละ 4 รอบ ต่อเนื่องกันทุกวัน หรืออาจใช้เครื่องอัติโนมัติช่วยฟอกทำการเปลี่ยนน้ำยาแทน
2.3 การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)
คือ การนำไตที่ดีจากผู้บริจาคใส่ไปในผู้รับไต โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานสม่ำเสมอตลอดชีวิต ผู้ให้ไตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ผู้ให้ไตที่ยังมีชีวิต เช่น พ่อ แม่ หรือ ญาติของผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้
- ผู้ให้ไตที่เสียชีวิตแล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C