เทคนิคออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นโรคหัวใจ

    รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือ แอโรบิค (Cardio or Aerobic Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้ระบบการหายใจถูกกระตุ้นให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นการบีบตัวของหัวใจจะแรงและเร็วขึ้น หลอดเลือดในร่างกายจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อให้ออกซิเจนในเลือดที่ได้รับมาจากระบบการหายใจถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
  • เพิ่มความสามารถของระบบไหลเวียนโลหิต
  • ลดอัตราการเสียชีวิต
  • ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
  • เพิ่มคุณภาพชีวิต
  • ส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • กระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก และลดการสลายของมวลกระดูก

 

 

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกาย

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เริ่มต้นการออกกำลังกายควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสมรรถนภาพร่างกาย ภาวะแทรกซ้อน การเฝ้าระวังและการติดตามความผิดปกติจากการทำงานของหัวใจ รวมถึงการแนะนำในการสังเกตอาการ หรือสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ ก่อน ขณะ และหลังออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากเฝ้าติดตามแล้วหากไม่มีความเสี่ยงรุนแรงแพทย์จะอนุญาตให้ออกกำลังกายที่บ้านด้วยตัวเองได้ และมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งเพื่อประเมินผลจากการออกกำลังกาย
  • ระยะในการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย 10 – 15 นาที
  • ระยะเวลาในการออกกำลังกาย 20 – 30 นาที
  • ระยะเวลาในการคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย 10 – 15 นาที
  • ความถี่ในการออกกำลังกาย แนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
  • ความหนักของการออกกำลังกายให้พิจารณาเป็นรายบุคคล ในการกำหนดความหนักของการออกกำลังกายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดโดยมีการทดสอบทั้งก่อน ขณะ หรือหลังออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยความหนักของการออกกำลังกายจะอยู่ที่ร้อยละ 50 – 80 ของอัตราการเต้นหัวใจที่กำหนด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องออกกำลังกาย

  • ไม่ควรออกกำลังกายขณะท้องว่าง และก่อนออกกำลังกาย ควรเว้นระยะห่างจากการรับประทานอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ควรออกกำลังกายในที่ร่มเมื่อช่วงเวลาที่ออกกำลังกายมีสภาพอากาศร้อน หรือหนาวจัด
  • ห้ามกลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย ในระหว่างออกกำลังกายพยายามหายใจให้ปกติ ควรสังเกตการหายใจไม่ให้ติดขัด และสามารถพูดคุยได้โดยไม่หอบเหนื่อย
  • ควรอบอุ่นร่างกาย และมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
  • ในการออกกำลังกายควรสวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง สบาย ไม่หนาจนเกินไป
  • ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาเดียวกันในทุกวัน
  • อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ก่อนออกกำลังกายควรดื่มน้ำประมาณ 1 แก้ว
  • การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องออกแรงมากเกินไป แต่ควรเน้นที่ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ไม่ออกกำลังกายหากรู้สึกไม่สบาย
  • ไม่ควรออกกำลังกาย หรือหยุดออกกำลังกายทันที แต่ให้ค่อย ๆ หยุดออกกำลังกายช้า ๆ เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยผิดปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกฟื้นฟูหัวใจ ชั้น 4 โซน C

    รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือ แอโรบิค (Cardio or Aerobic Exercise) เป็นการออกกำลังกายที่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ทำให้ระบบการหายใจถูกกระตุ้นให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นการบีบตัวของหัวใจจะแรงและเร็วขึ้น หลอดเลือดในร่างกายจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อให้ออกซิเจนในเลือดที่ได้รับมาจากระบบการหายใจถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
  • เพิ่มความสามารถของระบบไหลเวียนโลหิต
  • ลดอัตราการเสียชีวิต
  • ลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดผิดปกติ
  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
  • เพิ่มคุณภาพชีวิต
  • ส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น
  • ช่วยลดน้ำหนัก
  • กระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก และลดการสลายของมวลกระดูก

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้เริ่มต้นออกกำลังกาย

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เริ่มต้นการออกกำลังกายควรอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสมรรถนภาพร่างกาย ภาวะแทรกซ้อน การเฝ้าระวังและการติดตามความผิดปกติจากการทำงานของหัวใจ รวมถึงการแนะนำในการสังเกตอาการ หรือสัญญาณความผิดปกติต่าง ๆ ก่อน ขณะ และหลังออกกำลังกาย ซึ่งหลังจากเฝ้าติดตามแล้วหากไม่มีความเสี่ยงรุนแรงแพทย์จะอนุญาตให้ออกกำลังกายที่บ้านด้วยตัวเองได้ และมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้งเพื่อประเมินผลจากการออกกำลังกาย
  • ระยะในการอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย 10 – 15 นาที
  • ระยะเวลาในการออกกำลังกาย 20 – 30 นาที
  • ระยะเวลาในการคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย 10 – 15 นาที
  • ความถี่ในการออกกำลังกาย แนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
  • ความหนักของการออกกำลังกายให้พิจารณาเป็นรายบุคคล ในการกำหนดความหนักของการออกกำลังกายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดโดยมีการทดสอบทั้งก่อน ขณะ หรือหลังออกกำลังกาย เพื่อหาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย โดยความหนักของการออกกำลังกายจะอยู่ที่ร้อยละ 50 – 80 ของอัตราการเต้นหัวใจที่กำหนด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ต้องออกกำลังกาย

  • ไม่ควรออกกำลังกายขณะท้องว่าง และก่อนออกกำลังกาย ควรเว้นระยะห่างจากการรับประทานอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • ควรออกกำลังกายในที่ร่มเมื่อช่วงเวลาที่ออกกำลังกายมีสภาพอากาศร้อน หรือหนาวจัด
  • ห้ามกลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย ในระหว่างออกกำลังกายพยายามหายใจให้ปกติ ควรสังเกตการหายใจไม่ให้ติดขัด และสามารถพูดคุยได้โดยไม่หอบเหนื่อย
  • ควรอบอุ่นร่างกาย และมีการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
  • ในการออกกำลังกายควรสวมใส่เสื้อผ้าโปร่ง สบาย ไม่หนาจนเกินไป
  • ควรออกกำลังกายในช่วงเวลาเดียวกันในทุกวัน
  • อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ก่อนออกกำลังกายควรดื่มน้ำประมาณ 1 แก้ว
  • การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องออกแรงมากเกินไป แต่ควรเน้นที่ระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ไม่ออกกำลังกายหากรู้สึกไม่สบาย
  • ไม่ควรออกกำลังกาย หรือหยุดออกกำลังกายทันที แต่ให้ค่อย ๆ หยุดออกกำลังกายช้า ๆ เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยผิดปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกฟื้นฟูหัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง