ไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่คุณอาจไม่ทันรู้ตัว

     โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติ คือประมาณ 5-10% ของตับ โดยน้ำหนักไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นชนิดไตรกลีเซอไรด์ ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจเป็นภัยเงียบที่คุณอาจไม่รู้ตัวและบ่งชี้ถึงโรคอื่นๆ ได้

สาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับเพศ ประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ เรียกว่า alcoholic fatty liver disease

2. จากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น

  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มต้านฮอร์โมน

กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่

1. คนอ้วน ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผู้หญิง รอบเอวเกิน 35 นิ้ว

2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

3. ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

4. ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDL ต่ำ (ผู้ชาย น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง น้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

5. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

 

รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีไขมันพอกตับ?

     โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการ มักจะตรวจพบจากการตรวจเลือดประจำปี หรืออัลตราซาวนด์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา ตรวจพบโรคไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่ควบคุมดูแล และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องเกิดพังผืด (fibrosis) สะสมในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงแทนที่ด้วยพังผืด
  • ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้เกิดตับแข็งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ

     การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ การตรวจด้วยเครื่อง Fibroscan ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับรวมถึงระดับพังผืดและตับแข็งได้โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว

แนวทางการรักษาและป้องกันภาวะไขมันเกาะตับ

1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยการลดน้ำหนักไม่ควรเกินร้อยละ 7 ในช่วงเวลา 3 เดือน

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ

3. ผู้ป่วยที่มีเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย

4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

     โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือไขมันเกาะตับ เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับมากเกินปกติคือประมาณ 5-10% ของตับ โดยน้ำหนักไขมันที่เข้าไปแทรกตับนั้นมักเป็นชนิดไตรกลีเซอไรด์ ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด แต่อาจเป็นภัยเงียบที่คุณอาจไม่รู้ตัวและบ่งชี้ถึงโรคอื่นๆ ได้

สาเหตุการเกิดโรคไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับเพศ ประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ เรียกว่า alcoholic fatty liver disease

2. จากปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น

  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาต้านไวรัสบางชนิด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากลุ่มต้านฮอร์โมน

กลุ่มเสี่ยงที่อาจมีภาวะไขมันพอกตับ ได้แก่

1. คนอ้วน ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว ผู้หญิง รอบเอวเกิน 35 นิ้ว

2. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

3. ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

4. ผู้ที่มีไขมันดี หรือ HDL ต่ำ (ผู้ชาย น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง น้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

5. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

 

รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีไขมันพอกตับ?

     โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการ มักจะตรวจพบจากการตรวจเลือดประจำปี หรืออัลตราซาวนด์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา ตรวจพบโรคไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่ควบคุมดูแล และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องเกิดพังผืด (fibrosis) สะสมในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงแทนที่ด้วยพังผืด
  • ระยะที่สี่ เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้เกิดตับแข็งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ

     การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ (liver biopsy) มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ การตรวจด้วยเครื่อง Fibroscan ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับรวมถึงระดับพังผืดและตับแข็งได้โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว

แนวทางการรักษาและป้องกันภาวะไขมันเกาะตับ

1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยการลดน้ำหนักไม่ควรเกินร้อยละ 7 ในช่วงเวลา 3 เดือน

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ

3. ผู้ป่วยที่มีเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย

4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง

5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง