ตาเหล่ในเด็ก รักษาได้

ตาเหล่ (Strabismus) คืออะไร

   ตาเหล่ คือ ภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งเขเข้าใน ออกนอก ขึ้นบน หรือลงล่าง ภาวะตาเหล่นอกจากเกี่ยวข้องกับความสวยงามแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุให้ระดับการมองเห็นด้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (แอมไบลโอเปีย) และยังขัดขวางพัฒนาการมองเห็นภาพ 3 มิติ ของเด็กได้

ตาเหล่มีสาเหตุมาจากอะไร

   โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นแต่กำเนิด หรือเกิดจากภาวะสายตายาว หรือโรคตาที่ทำให้เกิดการมองเห็นลดลง และอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ หรือโรคทางระบบสมอง

ตาเหล่รักษาได้อย่างไร

   ภาวะตาเหล่ควรรักษาตั้งแต่ช่วงต้นๆ เนื่องจากในเด็กบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติร้ายแรงทางตา เช่น ภาวะมะเร็งของจอประสาทตา (Retinoblastoma) โดยจักษุแพทย์สามารถตรวจตาให้เด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หากพบว่าเด็กมีอาการตาเหล่ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค้นหาสาเหตุและทำการรักษา อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ มักมีเนื้อบริเวณหัวตากว้างและดั้งจมูกแบน อาจทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้าใน แต่หากสังเกตเห็นตาดำไม่อยู่ตรงกลาง ควรรีบมาพบจักษุแพทย์

#ศูนย์ตา #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #ตาเหล่เทียม #ตาเหล่ในทารก #ตาเหล่ แก้ไข #ตาเหล่หลบใน #ตาเหล่ ตาเข #ตาเหล่ออก #ตาเหล่ ผ่าตัด #ตาเหล่ ซ่อนเร้น #ตาเหล่ #ตาเหล่ในเด็ก #ตาเหล่ ทําไงดี #ตาเหล่ซ่อนเร้น

แนวทางในการรักษา

  • บางชนิดสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตา
  • บางชนิดต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

   *เด็กที่มีตาเหล่ มักมีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ฉะนั้นหลักการรักษาจะเริ่มรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีก่อน จึงจะรักษาอาการตาเหล่ได้ต่อไป 

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

ตาเหล่ (Strabismus) คืออะไร

   ตาเหล่ คือ ภาวะที่ตาข้างใดข้างหนึ่งเขเข้าใน ออกนอก ขึ้นบน หรือลงล่าง ภาวะตาเหล่นอกจากเกี่ยวข้องกับความสวยงามแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุให้ระดับการมองเห็นด้อยกว่าปกติ หรือที่เรียกว่า ตาขี้เกียจ (แอมไบลโอเปีย) และยังขัดขวางพัฒนาการมองเห็นภาพ 3 มิติ ของเด็กได้

ตาเหล่มีสาเหตุมาจากอะไร

   โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นแต่กำเนิด หรือเกิดจากภาวะสายตายาว หรือโรคตาที่ทำให้เกิดการมองเห็นลดลง และอาจเกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ หรือโรคทางระบบสมอง

ตาเหล่รักษาได้อย่างไร

   ภาวะตาเหล่ควรรักษาตั้งแต่ช่วงต้นๆ เนื่องจากในเด็กบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติร้ายแรงทางตา เช่น ภาวะมะเร็งของจอประสาทตา (Retinoblastoma) โดยจักษุแพทย์สามารถตรวจตาให้เด็กได้ตั้งแต่แรกเกิด หากพบว่าเด็กมีอาการตาเหล่ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยค้นหาสาเหตุและทำการรักษา อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กๆ มักมีเนื้อบริเวณหัวตากว้างและดั้งจมูกแบน อาจทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้าใน แต่หากสังเกตเห็นตาดำไม่อยู่ตรงกลาง ควรรีบมาพบจักษุแพทย์

#ศูนย์ตา #โรงพยาบาลศิริราช  ปิยมหาราชการุณย์  #ตาเหล่เทียม #ตาเหล่ในทารก #ตาเหล่ แก้ไข #ตาเหล่หลบใน #ตาเหล่ ตาเข #ตาเหล่ออก #ตาเหล่ ผ่าตัด #ตาเหล่ ซ่อนเร้น #ตาเหล่ #ตาเหล่ในเด็ก #ตาเหล่ ทําไงดี #ตาเหล่ซ่อนเร้น

แนวทางในการรักษา

  • บางชนิดสามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นสายตา
  • บางชนิดต้องใช้การผ่าตัดในการรักษา

   *เด็กที่มีตาเหล่ มักมีภาวะตาขี้เกียจร่วมด้วย ฉะนั้นหลักการรักษาจะเริ่มรักษาภาวะตาขี้เกียจให้ดีก่อน จึงจะรักษาอาการตาเหล่ได้ต่อไป 

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง