อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ควรได้รับพลังงานประมาณ 30 - 35 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่จะต้องจำกัดปริมาณสารอาหารบางชนิด ได้แก่

1. โปรตีน

ควรได้รับโปรตีนในปริมาณ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งอย่างน้อยร้อยละ 50 ของปริมาณโปรตีนที่บริโภคควรเป็นโปรตีนคุณภาพสูง

ควรได้รับการแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดก่อนได้รับการจำกัดอาหารโปรตีน หรือถ้าผู้ป่วยรับประทานโปรตีนปริมาณต่ำมาก คือ 0.4 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ควรรับประทานร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น 4.8 กรัมต่อวัน หรือกรดคีโตเสริมวันละประมาณ 0.1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน

2. ไขมัน

ควรจำกัดไขมันอิ่มตัวในอาหาร บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

3. เกลือแร่

โซเดียม ควรจำกัดการบริโภคเกลือ โดยให้ปริมาณเกลือแกงน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน และไม่ควรรับประทานผลไม้ตากแห้งหรือหมักดอง เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง

ฟอสฟอรัส ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เต้าหู้ งา เมล็ดพืช กาแฟ เป็นตัน

โพแทสเชียม มีมากในผลไม้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดในระยะแรก เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดี ควรจำกัดเมื่อมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเมื่อเป็นไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยสามารถรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำในปริมาณที่เหมาะสม เช่น องุ่น ชมพู่ แพร์ พีช แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีโพแทสเชียมสูง เช่น ทุรียน แคนตาลูป มะขาม กล้วย เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนระยะสุดท้ายที่ยังปัสสาวะได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ แต่ควรจำกัดน้ำดื่มเมื่อมีอาการบวม หรือในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เมื่อไตเสื่อมประสิทธิภาพจนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนการทำงานของไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ซึ่งจะลดการคั่งของน้ำและของเสีย ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น

แต่การรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดนั้นจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสารอาหารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน หากรุนแรงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตจึงควรเรียนรู้วิธีการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยภาวะโภชนาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นได้นั้น ผู้ป่วยต้องบริโภคอาหารประเภทต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม ตามรายละเอียด ดังนี้

1. โปรตีน

เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อต่างๆ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดแล้วจำเป็นต้องได้รับปริมาณโปรตีนในอาหารที่สูงกว่าคนปกติทั่วไป เพื่อทดแทนการสลายของกล้ามเนื้อและปริมาณกรดอะมิโนที่สูญเสียไปในระหว่างการฟอกเลือด

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 1.0 - 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยร้อยละ 50 ควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ หรือเนื้อปลา เลือกชนิดไม่ติดมันและหนังรับประทานมื้อละ 3 - 4 ช้อนกินข้าว ร่วมกับไข่ขาววันละ 2 - 3 ฟอง ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ปริมาณมากเพียงพอ 

หากรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป จะทำให้มีของเสียคั่งในเลือดมาก เนื่องจากผู้ป่วยจะทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แต่หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ สุขภาพทรุดโทรม ระดับโปรตีนในเลือดลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวมได้ง่าย ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

อาหารที่ควรเลี่ยง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เช่น ขาหมู หนังหมูหัน หนังเป็ดปักกิ่ง หมูกรอบ (หมู 3 ชั้น) ไข่แดง เครื่องในสัตว์

2. ไขมัน

เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเนื่องจากให้พลังงานสูง ไขมันจากอาหารมีทั้งชนิดที่ดี คือ ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และไขมันชนิดไม่ดี คือ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิ หมูสามชั้น เนย ชีส หากรับประทานไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจตามมาได้ ผู้ป่วยฟอกเลือดมักมีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง บางรายมีระดับโคเลสเตอรอลสูงร่วมด้วย แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง

     อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ไส้ กระเพาะ
  • อาหารที่มีส่วนผสมของครีม เนย เนยแข็ง เช่น ชีสเบอร์เกอร์
  • ขนมอบต่างๆ ครัวซอง เค้ก พัฟ พาย  ขนมครก
  • อาหารฟาสฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า

3. พลังงาน

ความเพียงพอในด้านพลังงานนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกาย การได้รับพลังงานที่พอเพียงจะช่วยป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ร่างกายจะได้รับพลังงานจากอาหารที่รับประทานประเภทแป้งและไขมัน โดยทั่วไปปริมาณแคลอรีที่ผู้ป่วยต้องการคือ 30 - 35 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยร้อยละ 60 ของพลังงานควรมาจากอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล อีกร้อยละ 30 มาจากไขมัน หากบริโภคอาหารที่ให้พลังงานน้อยเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวลดลง และมีการสลายของกล้ามเนื้อมากขึ้น

4. เกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วย

โซเดียม การรับประทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียทำให้กระหายน้ำบ่อย และต้องดื่มน้ำมากขึ้น เมื่อร่างกายขับโซเดียมได้น้อยลงก็จะทำให้เกิดอาการบวม น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตควรจำกัดเกลือโซเดียมในอาหารไม่ให้เกิน 1-2 กรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับเกลือแกงประมาณ 1-2 ช้อนชาต่อวัน หรือเท่ากับน้ำปลา 2.5-5 ช้อนชาต่อวัน ควรงดการเติมเกลือ น้ำปลา ซอส เพิ่มเติมในอาหาร งดอาหารหมักดองทุกชนิด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง รวมถึงอาหารแปรรูป ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แฮม ปลากระป๋อง ของขบเคี้ยวประเภทซองทุกชนิด

ฟอสฟอรัส ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมักมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง หากร่างกายมีฟอสฟอรัสสะสมมากเกินไปจะกระตุ้นให้ระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลเสียกับอวัยวะต่างๆ เช่น กระดูกเปราะ หักง่าย ฟอสฟอรัสมีมากในเมล็ดพืช ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อสัตว์ ไข่แดง กาแฟ งา ช็อกโกแลต มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ดังนั้น แพทย์จึงให้ยาจับฟอสฟอรัสในอาหาร ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมอะซิเตท  ซึ่งต้องรับประทานพร้อมอาหารคำแรก เพื่อช่วยควบคุมให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และระวังไม่ให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกิน 10.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

 โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่สำคัญที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดมักมีปัญหาโปแตสเซียมสูง จึงควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง และควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการรักษาในการรับประทานผักผลไม้ที่มีปริมาณโปแตสเซียมที่เหมาะสมดังตารางด้านล่าง

5. วิตามิน

ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน เนื่องจากการรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ และวิตามินที่ละลายในน้ำได้จะสูญเสียไปในระหว่างการฟอกเลือดด้วย ผู้ป่วยจึงควรได้รับวิตามินเสริมต่างๆ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 บี 12 ไบโอติน ไนอาซิน วิตามินซี และกรดโฟลิค ควรหลีกเลี่ยงวิตามินซีขนาดสูงและวิตามินเอ เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

6. น้ำดื่ม

โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มน้ำได้เท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน บวกกับอีกวันละ 500-700 มิลลิลิตร ดังนั้น หากผู้ป่วยไม่มีปัสสาวะเลยหรือมีน้อยมาก สามารถดื่มน้ำได้ไม่เกินวันละ 700 มิลลิลิตร โดยต้องรวมเครื่องดื่มชนิดอื่น และอาหารทุกอย่างที่เป็นของเหลวด้วย ในผู้ป่วยที่มีปัสสาวะน้อยมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันจะสอดคล้องกับปริมาณของเหลวต่างๆ ที่ดื่มเข้าไป โดยทั่วไปแนะนำให้น้ำหนักผู้ป่วยขึ้นได้ไม่เกินวันละ 1 กิโลกรัม หากผู้ป่วยดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้บวมมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือน้ำท่วมปอดได้ นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นมากเกินไป ในระหว่างการฟอกเลือดจะต้องพยายามดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น ตะคริว ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น

การปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
  • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ขาว เป็นประจำทุกมื้อ ไม่ต้องจำกัดเหมือนก่อนทำการฟอกเลือด
  • รับประทานอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ให้เพียงพอทุกมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มและของหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เมล็ดถั่ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารใส่กะทิ เค้ก
  • เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ในการประกอบอาหาร
  • เลือกรับประทานผลไม้ที่มีปริมาณโปแตสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น ตามปริมาณที่แนะนำ

ตัวอย่างรายการอาหารที่ให้พลังงาน 1800 กิโลแคลอรี

โปรตีน 69 กรัม โพแทสเซียม 1600 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 899 มิลลิกรัม และโซเดียม 1557 มิลลิกรัม

ในกรณีที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอโดยเฉพาะโปรตีน แพทย์อาจพิจารณาให้กรดอะมิโนทางหลอดเลือดดำเสริมในระหว่างที่ทำการฟอกเลือด

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนรับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต ควรได้รับพลังงานประมาณ 30 - 35 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน แต่จะต้องจำกัดปริมาณสารอาหารบางชนิด ได้แก่

1. โปรตีน

ควรได้รับโปรตีนในปริมาณ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ซึ่งอย่างน้อยร้อยละ 50 ของปริมาณโปรตีนที่บริโภคควรเป็นโปรตีนคุณภาพสูง

ควรได้รับการแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดก่อนได้รับการจำกัดอาหารโปรตีน หรือถ้าผู้ป่วยรับประทานโปรตีนปริมาณต่ำมาก คือ 0.4 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน ควรรับประทานร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น 4.8 กรัมต่อวัน หรือกรดคีโตเสริมวันละประมาณ 0.1 กรัมต่อกิโลกรัมของน้ำหนักตัวต่อวัน

2. ไขมัน

ควรจำกัดไขมันอิ่มตัวในอาหาร บริโภคไขมันไม่อิ่มตัวได้ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

3. เกลือแร่

โซเดียม ควรจำกัดการบริโภคเกลือ โดยให้ปริมาณเกลือแกงน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน และไม่ควรรับประทานผลไม้ตากแห้งหรือหมักดอง เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง

ฟอสฟอรัส ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่ว เนื้อสัตว์ ไข่แดง นมสด เต้าหู้ งา เมล็ดพืช กาแฟ เป็นตัน

โพแทสเชียม มีมากในผลไม้ ไม่จำเป็นต้องจำกัดในระยะแรก เพราะไตยังสามารถขับออกทางปัสสาวะได้ดี ควรจำกัดเมื่อมีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเมื่อเป็นไตวายระยะสุดท้าย ผู้ป่วยสามารถรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำในปริมาณที่เหมาะสม เช่น องุ่น ชมพู่ แพร์ พีช แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีโพแทสเชียมสูง เช่น ทุรียน แคนตาลูป มะขาม กล้วย เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนระยะสุดท้ายที่ยังปัสสาวะได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องจำกัดน้ำ แต่ควรจำกัดน้ำดื่มเมื่อมีอาการบวม หรือในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เมื่อไตเสื่อมประสิทธิภาพจนไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนการทำงานของไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ซึ่งจะลดการคั่งของน้ำและของเสีย ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้น

แต่การรักษาทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดนั้นจะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสารอาหารโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน หากรุนแรงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตจึงควรเรียนรู้วิธีการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยภาวะโภชนาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นได้นั้น ผู้ป่วยต้องบริโภคอาหารประเภทต่างๆ ในปริมาณที่เหมาะสม ตามรายละเอียด ดังนี้

1. โปรตีน

เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในการสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อต่างๆ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดแล้วจำเป็นต้องได้รับปริมาณโปรตีนในอาหารที่สูงกว่าคนปกติทั่วไป เพื่อทดแทนการสลายของกล้ามเนื้อและปริมาณกรดอะมิโนที่สูญเสียไปในระหว่างการฟอกเลือด

ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับคือ 1.0 - 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยร้อยละ 50 ควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ หรือเนื้อปลา เลือกชนิดไม่ติดมันและหนังรับประทานมื้อละ 3 - 4 ช้อนกินข้าว ร่วมกับไข่ขาววันละ 2 - 3 ฟอง ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ปริมาณมากเพียงพอ 

หากรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป จะทำให้มีของเสียคั่งในเลือดมาก เนื่องจากผู้ป่วยจะทำการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แต่หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ สุขภาพทรุดโทรม ระดับโปรตีนในเลือดลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวมได้ง่าย ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

อาหารที่ควรเลี่ยง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เช่น ขาหมู หนังหมูหัน หนังเป็ดปักกิ่ง หมูกรอบ (หมู 3 ชั้น) ไข่แดง เครื่องในสัตว์

2. ไขมัน

เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเนื่องจากให้พลังงานสูง ไขมันจากอาหารมีทั้งชนิดที่ดี คือ ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว และไขมันชนิดไม่ดี คือ ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิ หมูสามชั้น เนย ชีส หากรับประทานไขมันชนิดไม่ดีมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจตามมาได้ ผู้ป่วยฟอกเลือดมักมีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง บางรายมีระดับโคเลสเตอรอลสูงร่วมด้วย แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลหรือไขมันอิ่มตัวสูง

     อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงและควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม มันกุ้ง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ไส้ กระเพาะ
  • อาหารที่มีส่วนผสมของครีม เนย เนยแข็ง เช่น ชีสเบอร์เกอร์
  • ขนมอบต่างๆ ครัวซอง เค้ก พัฟ พาย  ขนมครก
  • อาหารฟาสฟู้ด เช่น แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า

3. พลังงาน

ความเพียงพอในด้านพลังงานนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกาย การได้รับพลังงานที่พอเพียงจะช่วยป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ร่างกายจะได้รับพลังงานจากอาหารที่รับประทานประเภทแป้งและไขมัน โดยทั่วไปปริมาณแคลอรีที่ผู้ป่วยต้องการคือ 30 - 35 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน โดยร้อยละ 60 ของพลังงานควรมาจากอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล อีกร้อยละ 30 มาจากไขมัน หากบริโภคอาหารที่ให้พลังงานน้อยเกินไปจะทำให้น้ำหนักตัวลดลง และมีการสลายของกล้ามเนื้อมากขึ้น

4. เกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกาย ประกอบด้วย

โซเดียม การรับประทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมมากเกินไป มีผลเสียทำให้กระหายน้ำบ่อย และต้องดื่มน้ำมากขึ้น เมื่อร่างกายขับโซเดียมได้น้อยลงก็จะทำให้เกิดอาการบวม น้ำท่วมปอด ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตควรจำกัดเกลือโซเดียมในอาหารไม่ให้เกิน 1-2 กรัมต่อวัน ซึ่งเท่ากับเกลือแกงประมาณ 1-2 ช้อนชาต่อวัน หรือเท่ากับน้ำปลา 2.5-5 ช้อนชาต่อวัน ควรงดการเติมเกลือ น้ำปลา ซอส เพิ่มเติมในอาหาร งดอาหารหมักดองทุกชนิด เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง รวมถึงอาหารแปรรูป ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แฮม ปลากระป๋อง ของขบเคี้ยวประเภทซองทุกชนิด

ฟอสฟอรัส ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมักมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง หากร่างกายมีฟอสฟอรัสสะสมมากเกินไปจะกระตุ้นให้ระดับพาราธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลเสียกับอวัยวะต่างๆ เช่น กระดูกเปราะ หักง่าย ฟอสฟอรัสมีมากในเมล็ดพืช ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อสัตว์ ไข่แดง กาแฟ งา ช็อกโกแลต มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น ดังนั้น แพทย์จึงให้ยาจับฟอสฟอรัสในอาหาร ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต หรือแคลเซียมอะซิเตท  ซึ่งต้องรับประทานพร้อมอาหารคำแรก เพื่อช่วยควบคุมให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และระวังไม่ให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกิน 10.2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

 โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่สำคัญที่มีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดมักมีปัญหาโปแตสเซียมสูง จึงควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง และควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลการรักษาในการรับประทานผักผลไม้ที่มีปริมาณโปแตสเซียมที่เหมาะสมดังตารางด้านล่าง

5. วิตามิน

ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามิน เนื่องจากการรับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ และวิตามินที่ละลายในน้ำได้จะสูญเสียไปในระหว่างการฟอกเลือดด้วย ผู้ป่วยจึงควรได้รับวิตามินเสริมต่างๆ ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 บี 12 ไบโอติน ไนอาซิน วิตามินซี และกรดโฟลิค ควรหลีกเลี่ยงวิตามินซีขนาดสูงและวิตามินเอ เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

6. น้ำดื่ม

โดยทั่วไปแนะนำให้ดื่มน้ำได้เท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน บวกกับอีกวันละ 500-700 มิลลิลิตร ดังนั้น หากผู้ป่วยไม่มีปัสสาวะเลยหรือมีน้อยมาก สามารถดื่มน้ำได้ไม่เกินวันละ 700 มิลลิลิตร โดยต้องรวมเครื่องดื่มชนิดอื่น และอาหารทุกอย่างที่เป็นของเหลวด้วย ในผู้ป่วยที่มีปัสสาวะน้อยมาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันจะสอดคล้องกับปริมาณของเหลวต่างๆ ที่ดื่มเข้าไป โดยทั่วไปแนะนำให้น้ำหนักผู้ป่วยขึ้นได้ไม่เกินวันละ 1 กิโลกรัม หากผู้ป่วยดื่มน้ำมากเกินไปจะทำให้บวมมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือน้ำท่วมปอดได้ นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นมากเกินไป ในระหว่างการฟอกเลือดจะต้องพยายามดึงน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น ตะคริว ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น

การปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรปฏิบัติตัวในการเลือกรับประทานอาหาร ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
  • รับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อปลา ไข่ขาว เป็นประจำทุกมื้อ ไม่ต้องจำกัดเหมือนก่อนทำการฟอกเลือด
  • รับประทานอาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ให้เพียงพอทุกมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มและของหมักดอง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เมล็ดถั่ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารใส่กะทิ เค้ก
  • เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ในการประกอบอาหาร
  • เลือกรับประทานผลไม้ที่มีปริมาณโปแตสเซียมต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ชมพู่ องุ่น ตามปริมาณที่แนะนำ

ตัวอย่างรายการอาหารที่ให้พลังงาน 1800 กิโลแคลอรี

โปรตีน 69 กรัม โพแทสเซียม 1600 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 899 มิลลิกรัม และโซเดียม 1557 มิลลิกรัม

ในกรณีที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอโดยเฉพาะโปรตีน แพทย์อาจพิจารณาให้กรดอะมิโนทางหลอดเลือดดำเสริมในระหว่างที่ทำการฟอกเลือด

นักกำหนดอาหาร แผนกโภชนาการ คลิก!! ติดตามข่าวสารกับนักกำหนดอาหาร

สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง