รู้ไว้ให้หายหน้านิ่ว สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการปวดเป็นครั้งๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวดๆ หายๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่ มาหาคำตอบกัน

รู้จักนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

     นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ตะกอนที่ตกอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งปกติน้ำปัสสาวะจะเป็นของเหลวและในน้ำปัสสาวะก็จะมีสารหลายๆ อย่างที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ สภาวะบางอย่างทำให้สารต่าง ๆ เหล่านี้ตกตะกอนกลายเป็นผลึกและจากหลายๆ ผลึกจะรวมกันเป็นก้อนได้ง่ายมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ปริมาณสารต่างๆ เหล่านั้นมีมากเกินไปในน้ำปัสสาวะ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้น้ำปัสสาวะน้อยก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของผลึกต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนนิ่วได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งค่าความเป็นกรดด่างของน้ำปัสสาวะ  เช่น  น้ำปัสสาวะที่มีความเป็นกรดมากก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของกรดยูริกง่ายมากขึ้น

อาการใดเข้าข่ายโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ?

     อาการค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่ง รวมถึงการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากก้อนนิ่วนั้นๆ ว่ามีการอุดตันมากน้อยแค่ไหน ในบางกรณีผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณท้องหรือบริเวณหลังหรือในตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ ซึ่งจะเจ็บปวดทุรนทุรายมากจนกระทั่งทำให้ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ หรือในผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่สามารถตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยรับการตรวจสุขภาพ และ/หรือ ได้พบว่าไตได้สูญเสียการทำงานไปแล้ว หรือที่เราเรียกว่า ภาวะไตวาย

หากมีอาการผิดปกติควรทำอย่างไร?

     หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น แนะนำผู้ป่วยให้มาพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการและทำการตรวจร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจำเป็นจะต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อช่วยระบุตำแหน่งหรือขนาดของนิ่ว โดยการทำเอกซเรย์ หรือการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อจะดูผลจากการอุดตันของก้อนนิ่วนั้นๆ หลังจากนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีรักษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยต่อไป

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

     ในปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่วที่อุดตันอยู่ในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

การเอานิ่วออก

     1.การรอให้ก้อนนิ่วหลุดออกมาเอง มักใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก (ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร โดยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ

     2.การรักษาโดยการเอานิ่วออก

  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่น Shock wave ส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และไหลหลุดออกมากับปัสสาวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูง แต่อาจไม่ได้ผลในกรณีนิ่วก้อนใหญ่ แข็ง หรือผู้ป่วยที่มีรูปร่างค่อนข้างใหญ่
  • การส่องกล้องผ่านท่อไต (Ureteroscopy : URS) เป็นการใส่เครื่องมือเข้าไปทางท่อไตและเข้าไปยังตำแหน่งของก้อนนิ่วทั้งในท่อไตหรือในไตจากนั้นใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงแล้วจึงใช้เครื่องมือนำเศษนิ่วเหล่านั้นออกมาโดยไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ
  • การผ่าตัดโดยการเจาะและส่องกล้องสลายนิ่วภายในไต (Percutaneous Nephrolithotomy : PCNL)  ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้ โดยจะทำการเจาะรูขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านผิวหนังบริเวณหลังเข้าไปที่ไต จากนั้นใช้เครื่องมือกรอสลายก้อนนิ่วและดูดออกมา

การรักษาที่สาเหตุของโรค

     เนื่องจากการเอานิ่วออกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของการเกิดโรค อาจทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาที่สาเหตุนี้ยกตัวอย่างเช่น

  • นิ่วที่เกิดจากการมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าการคั่งค้างนั้นเกิดจากอะไร แล้วทำการรักษาไปพร้อมกัน เช่น หากการคั่งค้างของปัสสาวะเกิดจากต่อมลูกหมากโต จะต้องใช้วิธีส่องกล้องเพื่อผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือทำการขยายท่อปัสสาวะในกรณีที่มีการตีบตันร่วมด้วย
  • ส่วนนิ่วที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เช่น บีบตัวไม่ดี ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้สายสวนในการช่วยปัสสาวะ

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะป้องกันได้

  • ลดการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดสารก่อนิ่วในน้ำปัสสาวะ เช่น เนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อแดง อาหารที่มีรสเค็ม เครื่องในสัตว์
  • เพิ่มประมาณการดื่มน้ำในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยลดการตกตะกอนของสารก่อนิ่วได้เป็นอย่างดี โดยประมาณน้ำดื่มที่แนะนำต่อวันคือประมาณ 2.5 – 3 ลิตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

อาการปวดเป็นครั้งๆ ที่บั้นเอวหรือหลัง ปวดๆ หายๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่ มาหาคำตอบกัน

รู้จักนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

     นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ คือ ตะกอนที่ตกอยู่ในน้ำปัสสาวะ ซึ่งปกติน้ำปัสสาวะจะเป็นของเหลวและในน้ำปัสสาวะก็จะมีสารหลายๆ อย่างที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ สภาวะบางอย่างทำให้สารต่าง ๆ เหล่านี้ตกตะกอนกลายเป็นผลึกและจากหลายๆ ผลึกจะรวมกันเป็นก้อนได้ง่ายมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ปริมาณสารต่างๆ เหล่านั้นมีมากเกินไปในน้ำปัสสาวะ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้น้ำปัสสาวะน้อยก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของผลึกต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนนิ่วได้ง่ายมากขึ้น รวมทั้งค่าความเป็นกรดด่างของน้ำปัสสาวะ  เช่น  น้ำปัสสาวะที่มีความเป็นกรดมากก็จะเอื้อต่อการตกตะกอนของกรดยูริกง่ายมากขึ้น

อาการใดเข้าข่ายโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ?

     อาการค่อนข้างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่ง รวมถึงการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากก้อนนิ่วนั้นๆ ว่ามีการอุดตันมากน้อยแค่ไหน ในบางกรณีผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณท้องหรือบริเวณหลังหรือในตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ ซึ่งจะเจ็บปวดทุรนทุรายมากจนกระทั่งทำให้ผู้ป่วยต้องรีบมาพบแพทย์ หรือในผู้ป่วยบางคนอาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่สามารถตรวจพบในกรณีที่ผู้ป่วยรับการตรวจสุขภาพ และ/หรือ ได้พบว่าไตได้สูญเสียการทำงานไปแล้ว หรือที่เราเรียกว่า ภาวะไตวาย

หากมีอาการผิดปกติควรทำอย่างไร?

     หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น แนะนำผู้ป่วยให้มาพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการและทำการตรวจร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจำเป็นจะต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อช่วยระบุตำแหน่งหรือขนาดของนิ่ว โดยการทำเอกซเรย์ หรือการทำอัลตราซาวนด์ เพื่อจะดูผลจากการอุดตันของก้อนนิ่วนั้นๆ หลังจากนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีรักษาที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยต่อไป

แนวทางการรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

     ในปัจจุบันการรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่วที่อุดตันอยู่ในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

การเอานิ่วออก

     1.การรอให้ก้อนนิ่วหลุดออกมาเอง มักใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก (ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร โดยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ

     2.การรักษาโดยการเอานิ่วออก

  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่น Shock wave ส่งผ่านผิวหนังไปยังก้อนนิ่ว เพื่อทำให้ก้อนนิ่วแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ และไหลหลุดออกมากับปัสสาวะโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูง แต่อาจไม่ได้ผลในกรณีนิ่วก้อนใหญ่ แข็ง หรือผู้ป่วยที่มีรูปร่างค่อนข้างใหญ่
  • การส่องกล้องผ่านท่อไต (Ureteroscopy : URS) เป็นการใส่เครื่องมือเข้าไปทางท่อไตและเข้าไปยังตำแหน่งของก้อนนิ่วทั้งในท่อไตหรือในไตจากนั้นใช้เลเซอร์ทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงแล้วจึงใช้เครื่องมือนำเศษนิ่วเหล่านั้นออกมาโดยไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ
  • การผ่าตัดโดยการเจาะและส่องกล้องสลายนิ่วภายในไต (Percutaneous Nephrolithotomy : PCNL)  ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้ โดยจะทำการเจาะรูขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผ่านผิวหนังบริเวณหลังเข้าไปที่ไต จากนั้นใช้เครื่องมือกรอสลายก้อนนิ่วและดูดออกมา

การรักษาที่สาเหตุของโรค

     เนื่องจากการเอานิ่วออกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุของการเกิดโรค อาจทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาที่สาเหตุนี้ยกตัวอย่างเช่น

  • นิ่วที่เกิดจากการมีปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ แพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดว่าการคั่งค้างนั้นเกิดจากอะไร แล้วทำการรักษาไปพร้อมกัน เช่น หากการคั่งค้างของปัสสาวะเกิดจากต่อมลูกหมากโต จะต้องใช้วิธีส่องกล้องเพื่อผ่าตัดต่อมลูกหมาก หรือทำการขยายท่อปัสสาวะในกรณีที่มีการตีบตันร่วมด้วย
  • ส่วนนิ่วที่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ เช่น บีบตัวไม่ดี ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้สายสวนในการช่วยปัสสาวะ

โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะป้องกันได้

  • ลดการรับประทานอาหารที่กระตุ้นให้เกิดสารก่อนิ่วในน้ำปัสสาวะ เช่น เนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อแดง อาหารที่มีรสเค็ม เครื่องในสัตว์
  • เพิ่มประมาณการดื่มน้ำในแต่ละวัน เพราะน้ำจะช่วยลดการตกตะกอนของสารก่อนิ่วได้เป็นอย่างดี โดยประมาณน้ำดื่มที่แนะนำต่อวันคือประมาณ 2.5 – 3 ลิตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง