เตรียมตัวตรวจสุขภาพ อย่างไรดี? (Health checkup preparation)
การเตรียมตัวตรวจสุขภาพสำคัญอย่างไร?
ผู้รับการตรวจสุขภาพ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และจะทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่ นอกจากนี้ควรงดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ
การตรวจความดันโลหิต
- ก่อนวัดความดันประมาณ 30 นาที ไม่ควรดื่มกาแฟ เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ออกกำลังกาย ไม่เครียด ไม่โกรธ
- ควรนั่งพักก่อนวัดความดันประมาณ 5 – 15 นาที
- หากปวดปัสสาวะควรปัสสาวะก่อนวัดความดัน
- ไม่ควรพูดคุยขณะวัดความดันโลหิต
** หากต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิด สามารถรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำก่อนมาตรวจสุขภาพได้***
การเจาะเลือดจำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารหรือไม่?
- การตรวจน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) ควรงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ก่อนเจาะเลือด
- การตรวจไขมันในเลือด ควรงดอาหาร 10 - 12 ชม. ก่อนเจาะเลือด รวมถึง งดดื่ม ชา กาแฟ น้ำหวาน เครื่องดื่มต่าง ๆ และลูกอม แต่สามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่า
- การตรวจเลือดอื่น ๆ เช่น น้ำตาลสะสม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับหรือไต ไม่ต้องงดอาหาร
เตรียมตัวก่อนตรวจปัสสาวะ (urinalysis)
- ควรเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพราะอาจส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาลปนในปัสสาวะค่อนข้างสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสภาพโดยรวมของทุกๆ วัน
- การเก็บปัสสาวะควรเก็บในวันที่นัดตรวจเท่านั้น
- สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรตรวจในช่วงมีประจำเดือนเพราะอาจมีผลต่อการแปลผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะที่ถูกต้องคือ ต้องทำความสะอาดส่วนปลายของทางเดินปัสสาวะด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อน ปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อยแล้วเก็บปัสสาวะตรงส่วนกลางให้ได้ปริมาณที่กำหนด
การตรวจด้วยการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย
1. การตรวจเอกซเรย์ ให้ถอดเครื่องประดับต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ สุภาพสตรีควรงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็กหรือถอดก่อนเอกเรย์ปอด ไม่ควรเอกซเรย์ปอดกรณีสงสัยหรือไม่แน่ใจเรื่องการตั้งครรภ์
2. การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บนและล่าง
- การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน: งดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ เพื่อให้ถุงน้ำดีเก็บกักน้ำดี และลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ จะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ ได้ชัดเจน
- การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนล่าง: ดื่มน้ำเปล่าขณะรอตรวจ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม จนรู้สึกปวดปัสสาวะ น้ำในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นได้ดีขึ้น
3. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
- ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร สามารถรับประทานได้ตามปกติ
- ห้ามทาโลชั่น แป้งฝุ่น บริเวณเต้านมและรักแร้ รวมถึงยาและสเปรย์ระงับกลิ่นกาย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
- ไม่ควรนัดตรวจในช่วงให้นมบุตร คัดตึงเต้านม หรือช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ช่วงที่เหมาะสมที่สุด คือหลังหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่บวมมาก ทำให้ไม่เจ็บและเป็นช่วงที่สามารถพบความผิดปกติได้ง่าย
- กรณีสงสัยตั้งครรภ์ไม่ควรตรวจแมมโมแกรม หรือหากไม่แน่ใจให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ
การตรวจสายตา และสมรรถภาพการมองเห็น (ตรวจได้ที่ศูนย์ตา ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยของดวงตาขณะตรวจ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ตาบวม เป็นต้น
- หากสวมแว่นสายตาควรนำแว่นที่ใช้อยู่มาตรวจเช็คด้วย
- ไม่ควรตรวจสายตาหลังจากที่ทำงานใช้สายตาจนรู้สึกล้าหรือตาพร่ามัวแล้ว
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (ตรวจได้ที่ศูนย์หู คอ จมูก ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน คือตรวจหลังจากที่หลีกเลี่ยงเสียงดังมาแล้วอย่างน้อย 16 ชั่วโมง นั่นก็คือควรตรวจก่อนเวลาเข้าทำงาน การตรวจในขณะทำงานหรือหลังจากออกกะมาแล้วอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้
- ผู้รับการตรวจต้องไม่เป็นหวัดคัดจมูก เพราะอาจมีภาวะหูอื้อได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคือหูฟังครอบหู ดังนั้นการสวมต่างหูใหญ่ แว่นตา ที่คาดผม หมวก อาจเป็นอุปสรรคต่อการตรวจ
การตรวจสมรรถภาพปอด (ตรวจได้ที่ศูนย์อายุรกรรม โรคปอด ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ไม่ควรตรวจหลังจากรับประทานอาหารมาใน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้อาเจียน
- หากสูบบุหรี่ ให้งดสูบบุหรี่มาก่อนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ควรสวมชุดที่ไม่รัดทรวงอกและท้อง ควรเป็นชุดที่ค่อนข้างหลวมสบาย
- ไม่อยู่ในภาวะหลังผ่าตัด โดยเฉพาะผ่าตัดช่องท้อง ทรวงอก หรือสมอง
- หากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ควรรักษาหายแล้ว
- ควรพักให้หายเหนื่อยก่อนตรวจ ไม่ควรตรวจหลังออกกำลังกาย
- หากมีฟันปลอมต้องถอดฟันปลอมออกก่อนตรวจ
- ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะตรวจ
- หากเป็นโรคที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น ต้องงดใช้ยาขยายหลอดลมก่อนตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
คำแนะนำ
หากต้องการเข้ารับบริการ แนะนำให้นัดหมายล่วงหน้าที่ โทร.1474 หรือ Line: @siphcallcenter ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำและดำเนินการนัดหมายให้ค่ะ
หากสนใจตรวจสุขภาพ สามารถดูเลือกเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! โปรแกรมตรวจ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E
การเตรียมตัวตรวจสุขภาพสำคัญอย่างไร?
ผู้รับการตรวจสุขภาพ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนรับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย และจะทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่ นอกจากนี้ควรงดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ
การตรวจความดันโลหิต
- ก่อนวัดความดันประมาณ 30 นาที ไม่ควรดื่มกาแฟ เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่มีคาเฟอีน หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่ออกกำลังกาย ไม่เครียด ไม่โกรธ
- ควรนั่งพักก่อนวัดความดันประมาณ 5 – 15 นาที
- หากปวดปัสสาวะควรปัสสาวะก่อนวัดความดัน
- ไม่ควรพูดคุยขณะวัดความดันโลหิต
** หากต้องรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิด สามารถรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำก่อนมาตรวจสุขภาพได้***
การเจาะเลือดจำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารหรือไม่?
- การตรวจน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) ควรงดอาหารอย่างน้อย 8 ชม. ก่อนเจาะเลือด
- การตรวจไขมันในเลือด ควรงดอาหาร 10 - 12 ชม. ก่อนเจาะเลือด รวมถึง งดดื่ม ชา กาแฟ น้ำหวาน เครื่องดื่มต่าง ๆ และลูกอม แต่สามารถดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่า
- การตรวจเลือดอื่น ๆ เช่น น้ำตาลสะสม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การทำงานของตับหรือไต ไม่ต้องงดอาหาร
เตรียมตัวก่อนตรวจปัสสาวะ (urinalysis)
- ควรเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพราะอาจส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาลปนในปัสสาวะค่อนข้างสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสภาพโดยรวมของทุกๆ วัน
- การเก็บปัสสาวะควรเก็บในวันที่นัดตรวจเท่านั้น
- สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรตรวจในช่วงมีประจำเดือนเพราะอาจมีผลต่อการแปลผล
- วิธีการเก็บปัสสาวะที่ถูกต้องคือ ต้องทำความสะอาดส่วนปลายของทางเดินปัสสาวะด้วยน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อน ปัสสาวะทิ้งไปเล็กน้อยแล้วเก็บปัสสาวะตรงส่วนกลางให้ได้ปริมาณที่กำหนด
การตรวจด้วยการถ่ายภาพรังสีวินิจฉัย
1. การตรวจเอกซเรย์ ให้ถอดเครื่องประดับต่าง ๆ ที่เป็นโลหะ สุภาพสตรีควรงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็กหรือถอดก่อนเอกเรย์ปอด ไม่ควรเอกซเรย์ปอดกรณีสงสัยหรือไม่แน่ใจเรื่องการตั้งครรภ์
2. การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องทั้งหมด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บนและล่าง
- การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน: งดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ เพื่อให้ถุงน้ำดีเก็บกักน้ำดี และลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ จะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ ได้ชัดเจน
- การตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนล่าง: ดื่มน้ำเปล่าขณะรอตรวจ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม จนรู้สึกปวดปัสสาวะ น้ำในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นได้ดีขึ้น
3. การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
- ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร สามารถรับประทานได้ตามปกติ
- ห้ามทาโลชั่น แป้งฝุ่น บริเวณเต้านมและรักแร้ รวมถึงยาและสเปรย์ระงับกลิ่นกาย เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
- ไม่ควรนัดตรวจในช่วงให้นมบุตร คัดตึงเต้านม หรือช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ช่วงที่เหมาะสมที่สุด คือหลังหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่บวมมาก ทำให้ไม่เจ็บและเป็นช่วงที่สามารถพบความผิดปกติได้ง่าย
- กรณีสงสัยตั้งครรภ์ไม่ควรตรวจแมมโมแกรม หรือหากไม่แน่ใจให้แจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ
การตรวจสายตา และสมรรถภาพการมองเห็น (ตรวจได้ที่ศูนย์ตา ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ไม่ควรมีภาวะเจ็บป่วยของดวงตาขณะตรวจ เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ตาบวม เป็นต้น
- หากสวมแว่นสายตาควรนำแว่นที่ใช้อยู่มาตรวจเช็คด้วย
- ไม่ควรตรวจสายตาหลังจากที่ทำงานใช้สายตาจนรู้สึกล้าหรือตาพร่ามัวแล้ว
การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (ตรวจได้ที่ศูนย์หู คอ จมูก ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน คือตรวจหลังจากที่หลีกเลี่ยงเสียงดังมาแล้วอย่างน้อย 16 ชั่วโมง นั่นก็คือควรตรวจก่อนเวลาเข้าทำงาน การตรวจในขณะทำงานหรือหลังจากออกกะมาแล้วอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้
- ผู้รับการตรวจต้องไม่เป็นหวัดคัดจมูก เพราะอาจมีภาวะหูอื้อได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคือหูฟังครอบหู ดังนั้นการสวมต่างหูใหญ่ แว่นตา ที่คาดผม หมวก อาจเป็นอุปสรรคต่อการตรวจ
การตรวจสมรรถภาพปอด (ตรวจได้ที่ศูนย์อายุรกรรม โรคปอด ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์)
- ไม่ควรตรวจหลังจากรับประทานอาหารมาใน 1 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้อาเจียน
- หากสูบบุหรี่ ให้งดสูบบุหรี่มาก่อนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ควรสวมชุดที่ไม่รัดทรวงอกและท้อง ควรเป็นชุดที่ค่อนข้างหลวมสบาย
- ไม่อยู่ในภาวะหลังผ่าตัด โดยเฉพาะผ่าตัดช่องท้อง ทรวงอก หรือสมอง
- หากเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ควรรักษาหายแล้ว
- ควรพักให้หายเหนื่อยก่อนตรวจ ไม่ควรตรวจหลังออกกำลังกาย
- หากมีฟันปลอมต้องถอดฟันปลอมออกก่อนตรวจ
- ห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะตรวจ
- หากเป็นโรคที่ต้องใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น ต้องงดใช้ยาขยายหลอดลมก่อนตรวจอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
คำแนะนำ
หากต้องการเข้ารับบริการ แนะนำให้นัดหมายล่วงหน้าที่ โทร.1474 หรือ Line: @siphcallcenter ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำและดำเนินการนัดหมายให้ค่ะ
หากสนใจตรวจสุขภาพ สามารถดูเลือกเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! โปรแกรมตรวจ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โซน E