การแพ้อาหารในผู้ใหญ่ (Adult Food Allergy)
การแพ้อาหารคืออะไร
การแพ้อาหารคือภาวะภูมิคุ้มกันไวเกินต่ออาหาร ซึ่งเกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันมองว่าอาหารที่เคยกินได้มาก่อนกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและสร้างปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไวเกิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงหลังกินอาหารที่แพ้ การแพ้อาหารอาจเกิดตั้งแต่เด็กหรือเริ่มเกิดครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่ทั้งที่ก่อนหน้าเคยกินอาหารชนิดนั้นๆ ได้มาก่อนในอดีตก็ตาม
การแพ้อาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมองเห็นโปรตีนในอาหารเป็นสิ่งแปลกปลอม จะเกิดการตอบสนองด้วยการผลิตแอนติบอดีชนิดอิมมูโนโกลบูลิน E (IgE) เมื่อต้องพบกับโปรตีนนี้ในครั้งต่อไป IgE จะกระตุ้นสารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก เช่น ฮิสตามีน และสารเคมีอื่นๆ ทำให้เกิดอาการแพ้ตามระบบต่างๆ นอกจากนี้ การแพ้อาหารมีหลายประเภท อาจเป็นจากกลไกอื่น เช่น ชนิดที่ไม่ผ่าน IgE หรือชนิดผสม ซึ่งพบได้น้อยกว่า
อาหารที่เป็นสาเหตุการแพ้ในผู้ใหญ่
อาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ในผู้ใหญ่ไทย ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชพบว่าอาหารที่เป็นสาเหตุ ได้แก่: อาหารทะเล (เช่น กุ้ง ปู หอย), ข้าวสาลี, ผลไม้และผักบางชนิด, ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง, ปลาทะเล, นมวัว, และเนื้อหมู
อาการแพ้อาหาร
ในกรณีของการแพ้ชนิด IgE มักสามารถแบ่งได้เป็นอาการระบบต่างๆ ได้แก่:
- อาการระบบผิวหนังและเยื่อบุ: เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ หน้าบวมแดง ปากบวม คันคอ จุกแน่นในลำคอ
- อาการทางเดินหายใจ: เช่น ไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจลำบาก ทางเดินหายใจอุดกั้น
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร: เช่น อาเจียน ท้องเสีย
- อาการระบบไหลเวียนโลหิต: เช่น เวียนศีรษะ วูบ หมดสติ (จากความดันต่ำ) ชักเกร็ง
ในบางรายอาจมีการแพ้อาหารที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย (Food-Dependent Exercise-Induced Anaphylaxis - FDEIA) ซึ่งเป็นภาวะเฉพาะที่อาการแพ้เกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกายหลังจากบริโภคอาหารบางชนิด ซึ่งการวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติผู้ป่วยและการทดสอบยืนยันภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น สาเหตุของ FDEIA ที่พบบ่อยได้แก่ ข้าวสาลี กุ้ง ปลา ถั่ว ฯลฯ ร่วมกับปัจจัยเสริม (cofactor) คือการออกกำลังกาย ซึ่งบางครั้งปัจจัยเสริมอาจเป็นอย่างอื่น เช่น กินอาหารที่แพ้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs หรือแอลกอฮอล์
วิธีการทดสอบการแพ้อาหาร มีหลายวิธี ได้แก่
- การทดสอบผิวหนัง (Skin Prick Test): ใช้สารสกัดจากอาหารที่สงสัยว่าจะแพ้หยดบนผิวหนังและทดสอบการตอบสนองของร่างกาย
- การเจาะเลือด (Blood Test for Food-Specific IgE): วัดระดับแอนติบอดี IgE ต่ออาหารที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการแพ้
- การทดสอบการกินอาหาร (Oral Food Challenge): เป็นการให้ผู้ป่วยกินอาหารที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการแพ้ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของร่างกาย
การทดสอบที่ไม่ได้ประโยชน์และไม่แนะนำในปัจจุบัน ได้แก่ การตรวจภูมิชนิด IgG การตรวจภูมิแพ้แฝง และการตรวจเส้นผม
ใครบ้างเหมาะกับการทดสอบการแพ้อาหาร
การทดสอบการแพ้อาหารเหมาะกับผู้ที่มีอาการดังที่กล่าวมาและสัมพันธ์กับการกินอาหารชนิดหนึ่งซ้ำๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพ้รุนแรงซ้ำ
คำแนะนำสำหรับผู้ที่แพ้อาหาร
- ควรปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- เลี่ยงการกินอาหารที่แพ้ รวมถึงอาหารที่แพ้ข้าม ไม่ควรลองกินเองที่บ้านเพราะเสี่ยงปฏิกิริยาแพ้รุนแรง
- พกยาฉีดเอพิเนฟรินสำหรับกรณีมีอาการแพ้รุนแรง
- มาติดตามอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินการดำเนินโรคและประเมินโอกาสหายแพ้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D
ข้อมูลโดย ผศ. นพ. มงคล สมพรรัตนพันธ์
การแพ้อาหารคืออะไร
การแพ้อาหารคือภาวะภูมิคุ้มกันไวเกินต่ออาหาร ซึ่งเกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันมองว่าอาหารที่เคยกินได้มาก่อนกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและสร้างปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันไวเกิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่นาทีหรือหลายชั่วโมงหลังกินอาหารที่แพ้ การแพ้อาหารอาจเกิดตั้งแต่เด็กหรือเริ่มเกิดครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่ทั้งที่ก่อนหน้าเคยกินอาหารชนิดนั้นๆ ได้มาก่อนในอดีตก็ตาม
การแพ้อาหารเกิดขึ้นได้อย่างไร
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมองเห็นโปรตีนในอาหารเป็นสิ่งแปลกปลอม จะเกิดการตอบสนองด้วยการผลิตแอนติบอดีชนิดอิมมูโนโกลบูลิน E (IgE) เมื่อต้องพบกับโปรตีนนี้ในครั้งต่อไป IgE จะกระตุ้นสารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก เช่น ฮิสตามีน และสารเคมีอื่นๆ ทำให้เกิดอาการแพ้ตามระบบต่างๆ นอกจากนี้ การแพ้อาหารมีหลายประเภท อาจเป็นจากกลไกอื่น เช่น ชนิดที่ไม่ผ่าน IgE หรือชนิดผสม ซึ่งพบได้น้อยกว่า
อาหารที่เป็นสาเหตุการแพ้ในผู้ใหญ่
อาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ในผู้ใหญ่ไทย ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราชพบว่าอาหารที่เป็นสาเหตุ ได้แก่: อาหารทะเล (เช่น กุ้ง ปู หอย), ข้าวสาลี, ผลไม้และผักบางชนิด, ถั่วลิสง, ถั่วเหลือง, ปลาทะเล, นมวัว, และเนื้อหมู
อาการแพ้อาหาร
ในกรณีของการแพ้ชนิด IgE มักสามารถแบ่งได้เป็นอาการระบบต่างๆ ได้แก่:
- อาการระบบผิวหนังและเยื่อบุ: เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ หน้าบวมแดง ปากบวม คันคอ จุกแน่นในลำคอ
- อาการทางเดินหายใจ: เช่น ไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจลำบาก ทางเดินหายใจอุดกั้น
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร: เช่น อาเจียน ท้องเสีย
- อาการระบบไหลเวียนโลหิต: เช่น เวียนศีรษะ วูบ หมดสติ (จากความดันต่ำ) ชักเกร็ง
ในบางรายอาจมีการแพ้อาหารที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย (Food-Dependent Exercise-Induced Anaphylaxis - FDEIA) ซึ่งเป็นภาวะเฉพาะที่อาการแพ้เกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกายหลังจากบริโภคอาหารบางชนิด ซึ่งการวินิจฉัยภาวะนี้อาศัยประวัติผู้ป่วยและการทดสอบยืนยันภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น สาเหตุของ FDEIA ที่พบบ่อยได้แก่ ข้าวสาลี กุ้ง ปลา ถั่ว ฯลฯ ร่วมกับปัจจัยเสริม (cofactor) คือการออกกำลังกาย ซึ่งบางครั้งปัจจัยเสริมอาจเป็นอย่างอื่น เช่น กินอาหารที่แพ้ร่วมกับยากลุ่ม NSAIDs หรือแอลกอฮอล์
วิธีการทดสอบการแพ้อาหาร มีหลายวิธี ได้แก่
- การทดสอบผิวหนัง (Skin Prick Test): ใช้สารสกัดจากอาหารที่สงสัยว่าจะแพ้หยดบนผิวหนังและทดสอบการตอบสนองของร่างกาย
- การเจาะเลือด (Blood Test for Food-Specific IgE): วัดระดับแอนติบอดี IgE ต่ออาหารที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการแพ้
- การทดสอบการกินอาหาร (Oral Food Challenge): เป็นการให้ผู้ป่วยกินอาหารที่สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุของการแพ้ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของร่างกาย
การทดสอบที่ไม่ได้ประโยชน์และไม่แนะนำในปัจจุบัน ได้แก่ การตรวจภูมิชนิด IgG การตรวจภูมิแพ้แฝง และการตรวจเส้นผม
ใครบ้างเหมาะกับการทดสอบการแพ้อาหาร
การทดสอบการแพ้อาหารเหมาะกับผู้ที่มีอาการดังที่กล่าวมาและสัมพันธ์กับการกินอาหารชนิดหนึ่งซ้ำๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติการแพ้อย่างรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพ้รุนแรงซ้ำ
คำแนะนำสำหรับผู้ที่แพ้อาหาร
- ควรปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้เพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- เลี่ยงการกินอาหารที่แพ้ รวมถึงอาหารที่แพ้ข้าม ไม่ควรลองกินเองที่บ้านเพราะเสี่ยงปฏิกิริยาแพ้รุนแรง
- พกยาฉีดเอพิเนฟรินสำหรับกรณีมีอาการแพ้รุนแรง
- มาติดตามอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินการดำเนินโรคและประเมินโอกาสหายแพ้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มที่ ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D
ข้อมูลโดย ผศ. นพ. มงคล สมพรรัตนพันธ์