การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยไฟฟ้าคลื่นความถี่สูงผ่านสายสวน

     การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยไฟฟ้าคลื่นความถี่สูงผ่านสายสวน(Radiofrequency catheter ablation of cardiac arrhythmias) หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย ประมาณ 5 ลิตร/นาที หัวใจห้องบนมีจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า "SA-node" ซึ่งจะทำให้เกิดการหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าขึ้นในหัวใจห้องบน และส่งกระแสไฟฟ้าคลื่อนไปยัง "AV-node" โดยผ่านเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษ แล้วแผ่ขยายกระแสไฟฟ้าไปทั่วหัวใจห้องล่าง ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างสมบูรณ์ ในขณะพักคนปกติจะมีอัตรการเต้นของหัวใจ หรือที่เรียกว่า "ชีพจร" ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที

 

หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องบน Supraventricular Tachycardia (SVT) เกิดจากการมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ

  2. จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง Ventricular Tachycardia (VT) เกิดจากการมีจุดเนิดที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นในหัวใจห้องล่าง

อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติิ

  1. อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้นๆ อาการที่พบได้แก่ มึนงง ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง จุกที่คอ หวิวๆ เพียงไม่กี่นาทีแล้วหายไปได้เอง

  2. อาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะนานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง อาการที่พบได้แก่ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หัวใจวาย หรือเสียชีวิตทันที

แนวทางการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

  1. การรับบระทานยา ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งยาสามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้

  2. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี และสามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะบางประเภทให้หายขาดได้ แต่เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่โดยต้องเปิดหัวใจและใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์์

  3. การศึกษาสรีรวิทยไฟฟ้าของหัวใจ (EPS) และการรักษาด้วยไฟฟ้ความถี่สูงผ่านสายสวน

   การศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ (Electrophysiology Study: EPS) เป็นการศึกษาการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยหาสาหตุหรือจุดกำเนิดของหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

   การรักษาด้วยไฟฟ้าความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation: RFCA) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยแพทย์จะใช้สายสวนชนิดพิเศษใส่ไปในตำแหน่งที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูงเท่ากับคลื่นวิทยุจี้ยังตำแหน่งที่มีความผิดปกติ ขณะทำการรักษาผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาระงับประสาท เพื่อให้ผู้ป่วยนิ่งตลอดระยะเวลาในการรักษา ซึ่งจะช่วยลดอาการกลัวและเจ็บขณะทำหัตถการ โดยใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแพทย์จะทำต่อเนื่องจากการตรวจสรีรไฟฟ้าหัวใจ ภายหลังที่ทราบตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจรักษา

1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด เช่น ตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์

2. การทำหัตถการผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้งดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ

3. ก่อนทำการรักษาผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

4. ผู้ป่วยควรนำญาติมาด้วยเพื่อร่วมตัดสินใจในการรักษาของแพทย์

5. ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง หรือคอด้านขวา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะไส่สายสวน

6. ผู้ป่วยจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ บางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

1. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะขณะทำการรักษา

2. มีเลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งอาจเกิดจากการจี้ทะลุผนังหัวใจ

3. มีเลือดออก และมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณที่ไส่สายสวน

4. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึก หรือยาระงับประสาท

5. อาการปวดหลังจากกรนอนทำหัตถการเป็นเวลานาน

6. หัวใจเต้นช้าและอาจต้องได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

7. ลิ่มเลือดอุดตัน ในกรณีที่ทำการไฟฟ้าหัวใจบริเวณข้างซ้ายของหัวใจ

หมายเหตุ ในกรณีทั่วไปโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรง ไม่เกินร้อยละ 1

 

การปฏิบัติตัวขณะพักอยู่ในหอผู้ป่วย

1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

2. หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยต้องนอนราบ ห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดได้ผิวหนัง

3. หากไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร และน้ำไต้ทันทีที่มาถึงหอผู้ปวยพักฟื้น เฉพาะทางโรคหัวใจ ชี.ซี.ยู. (CCU) หรือหอผู้ป่วย ไอ.ชี.ยู. (ICU)

4. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ และรู้สึกอุ่นๆ ชื้นๆ หรือพบว่ามีเลือดออก หรือมีก้อนเลือตใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที

5. วันรุ่งขึ้นแพทย์จะมาเยี่ยมอาการ และทำแผลบริเวณขาหนีบข้างที่ทำเพื่อดูอาการผิดปกติ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการรักษาเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

1. สามารถอาบน้ำได้ โดยก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการทำแผลและปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ สังเกตอาการ ผิตปกติ เช่น แผลบวมแตง ร้อน กดเจ็บ มีหนอง หรือน้ำเหลืองออกจากแผล หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ทันที

2. สามารถทำกิจัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ในระยะ 2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงท่าทางที่จะทำให้เส้นเลือดที่ขาหนีบพับงอ และถูกกดมากๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การนั่งเก้าอี้เป็นเวลานานๆ ให้สลับด้วยการยืนหรือเดิน ไม่ควรขับรถ หรือออกกำลังกายหักโหม ห้ามยกของหนัก

3. ในรายที่ทำการรักษาสำเร็จ ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาต่อ แพทย์จะนัดมาดูอาการหลังการรักษาประมาณ 1 - 2 เดือน

4. ในระยะ 2 เดือนแรกผู้ป่วยอาจมีคามรู้สึกหมือนมีอะไรมากระตุ้นที่หัวใจ และรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาที อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายต่างๆ ได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยสึกว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเหมือนก่อนทำการรักษา ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงที่มีอาการทันที และนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาในภายหลัง

5. หลีกเสี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น

  • สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มประเภท Alcohol ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักขึ้น
  • การอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่น แออัด เพราะอากาศถ่ายเทไม่สะดวกทำให้หายใจลำบากได้

     ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะด้วยคลื่นความถี่สูงผ่านสายสวน โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำมีประมาณร้อยละ 2-10

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยไฟฟ้าคลื่นความถี่สูงผ่านสายสวน(Radiofrequency catheter ablation of cardiac arrhythmias) หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีหน้าที่สูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย ประมาณ 5 ลิตร/นาที หัวใจห้องบนมีจุดกำเนิดไฟฟ้าหัวใจที่เรียกว่า "SA-node" ซึ่งจะทำให้เกิดการหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าขึ้นในหัวใจห้องบน และส่งกระแสไฟฟ้าคลื่อนไปยัง "AV-node" โดยผ่านเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจชนิดพิเศษ แล้วแผ่ขยายกระแสไฟฟ้าไปทั่วหัวใจห้องล่าง ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างสมบูรณ์ ในขณะพักคนปกติจะมีอัตรการเต้นของหัวใจ หรือที่เรียกว่า "ชีพจร" ประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที

 

หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องบน Supraventricular Tachycardia (SVT) เกิดจากการมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ

  2. จุดกำเนิดหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง Ventricular Tachycardia (VT) เกิดจากการมีจุดเนิดที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นในหัวใจห้องล่าง

อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติิ

  1. อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้นๆ อาการที่พบได้แก่ มึนงง ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง จุกที่คอ หวิวๆ เพียงไม่กี่นาทีแล้วหายไปได้เอง

  2. อาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะนานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง อาการที่พบได้แก่ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หัวใจวาย หรือเสียชีวิตทันที

แนวทางการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

  1. การรับบระทานยา ใช้รักษาในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งยาสามารถควบคุมอาการของผู้ป่วยได้

  2. การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี และสามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะบางประเภทให้หายขาดได้ แต่เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่โดยต้องเปิดหัวใจและใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลและอยู่ในความดูแลของแพทย์์

  3. การศึกษาสรีรวิทยไฟฟ้าของหัวใจ (EPS) และการรักษาด้วยไฟฟ้ความถี่สูงผ่านสายสวน

   การศึกษาสรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ (Electrophysiology Study: EPS) เป็นการศึกษาการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยหาสาหตุหรือจุดกำเนิดของหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ

   การรักษาด้วยไฟฟ้าความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation: RFCA) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยแพทย์จะใช้สายสวนชนิดพิเศษใส่ไปในตำแหน่งที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูงเท่ากับคลื่นวิทยุจี้ยังตำแหน่งที่มีความผิดปกติ ขณะทำการรักษาผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาระงับประสาท เพื่อให้ผู้ป่วยนิ่งตลอดระยะเวลาในการรักษา ซึ่งจะช่วยลดอาการกลัวและเจ็บขณะทำหัตถการ โดยใช้เวลาประมาณ 1-4 ชั่วโมง การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวแพทย์จะทำต่อเนื่องจากการตรวจสรีรไฟฟ้าหัวใจ ภายหลังที่ทราบตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

การเตรียมตัวก่อนทำการตรวจรักษา

1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด เช่น ตรวจไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์

2. การทำหัตถการผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้งดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ

3. ก่อนทำการรักษาผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

4. ผู้ป่วยควรนำญาติมาด้วยเพื่อร่วมตัดสินใจในการรักษาของแพทย์

5. ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง หรือคอด้านขวา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะไส่สายสวน

6. ผู้ป่วยจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ บางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

1. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะหรือหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะขณะทำการรักษา

2. มีเลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งอาจเกิดจากการจี้ทะลุผนังหัวใจ

3. มีเลือดออก และมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณที่ไส่สายสวน

4. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนภายหลังได้รับยาระงับความรู้สึก หรือยาระงับประสาท

5. อาการปวดหลังจากกรนอนทำหัตถการเป็นเวลานาน

6. หัวใจเต้นช้าและอาจต้องได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

7. ลิ่มเลือดอุดตัน ในกรณีที่ทำการไฟฟ้าหัวใจบริเวณข้างซ้ายของหัวใจ

หมายเหตุ ในกรณีทั่วไปโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดรุนแรง ไม่เกินร้อยละ 1

 

การปฏิบัติตัวขณะพักอยู่ในหอผู้ป่วย

1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง

2. หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยต้องนอนราบ ห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4 - 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดได้ผิวหนัง

3. หากไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหาร และน้ำไต้ทันทีที่มาถึงหอผู้ปวยพักฟื้น เฉพาะทางโรคหัวใจ ชี.ซี.ยู. (CCU) หรือหอผู้ป่วย ไอ.ชี.ยู. (ICU)

4. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ และรู้สึกอุ่นๆ ชื้นๆ หรือพบว่ามีเลือดออก หรือมีก้อนเลือตใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที

5. วันรุ่งขึ้นแพทย์จะมาเยี่ยมอาการ และทำแผลบริเวณขาหนีบข้างที่ทำเพื่อดูอาการผิดปกติ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการรักษาเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

1. สามารถอาบน้ำได้ โดยก่อนกลับบ้านผู้ป่วยจะได้รับการทำแผลและปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ สังเกตอาการ ผิตปกติ เช่น แผลบวมแตง ร้อน กดเจ็บ มีหนอง หรือน้ำเหลืองออกจากแผล หากมีอาการดังกล่าวควรพบแพทย์ทันที

2. สามารถทำกิจัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ในระยะ 2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงท่าทางที่จะทำให้เส้นเลือดที่ขาหนีบพับงอ และถูกกดมากๆ เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การนั่งเก้าอี้เป็นเวลานานๆ ให้สลับด้วยการยืนหรือเดิน ไม่ควรขับรถ หรือออกกำลังกายหักโหม ห้ามยกของหนัก

3. ในรายที่ทำการรักษาสำเร็จ ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาต่อ แพทย์จะนัดมาดูอาการหลังการรักษาประมาณ 1 - 2 เดือน

4. ในระยะ 2 เดือนแรกผู้ป่วยอาจมีคามรู้สึกหมือนมีอะไรมากระตุ้นที่หัวใจ และรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่กี่วินาที อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายต่างๆ ได้ตามปกติ แต่หากผู้ป่วยสึกว่ามีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติเหมือนก่อนทำการรักษา ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในช่วงที่มีอาการทันที และนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาในภายหลัง

5. หลีกเสี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น

  • สูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มประเภท Alcohol ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด เพราะความเครียดจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักขึ้น
  • การอยู่ในที่ชุมชนหนาแน่น แออัด เพราะอากาศถ่ายเทไม่สะดวกทำให้หายใจลำบากได้

     ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ผู้ป่วยทำการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะด้วยคลื่นความถี่สูงผ่านสายสวน โอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำมีประมาณร้อยละ 2-10

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง