การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ

     หัวใจประกอบไปด้วยหลายส่วนสำคัญ เช่น หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และระบบไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการที่หัวใจจะบีบตัวได้ตามปกตินั้นจำเป็นต้องมีระบบการนำไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ในการที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดเต้น ล้วนแต่เกิดจากความผิดปกติในการนำไฟฟ้าหัวใจ

การทำงานของหัวใจ

     โดยปกติหัวใจของเราจะเต้นวันละ 100,000 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และเป็นการเต้นอย่างมีแบบแผนขึ้นอยู่กับกิจกรรม ณ เวลานั้นๆ การเต้นของหัวใจถูกควบคุมด้วยจุดกำเนิดไฟฟ้าที่สม่ำเสมอภายในร่งกาย หัวใจสามารถแบ่งได้เป็น 4 ห้อง 2 ห้องบนเรียกว่า Atriums และ 2 ห้องล่างเรียกว่า Ventricles แรงกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ประสานการหดตัวของหัวใจ โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกลุ่มของเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะซึ่งอยู่บนหัวใจห้องบนขวา ทำหน้าที่ส่งสัญญาณผ่านไปยังหัวใจห้องบนทั้งด้านซ้ายและขวา ทำให้หัวใจห้องบนหดตัวและส่งสัญญาณไปสู่หัวใจห้องล่างทั้งด้านซ้ายและขวา ทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวและส่งเลือดไปสู่หัวใจห้องล่างเพื่อส่งผ่านเลือดไปยังปอดและส่วนต่งๆ ของร่างกาย

 

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติิ (Arrhythmias)

     ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติโดยทั่วไปมีมากกว่า 10 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีกลไก สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น กระแสไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมันในหัวใจ ส่งผลให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

   1) หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที (Tachyarrhythmia)

   2) หัวใจเต้นช้าผิดปกติ คือ น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือเต้นสะดุด เต้นๆ หยุดๆ หรือหยุดนานเกิน 2.5 วินาที (Bradyarrhythmia)

อาการเบื้องต้นของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

  • ใจสั่น
  • อัตราการเต้นหัวใจเร็วกว่าปกติ
  • หายใจขัด
  • เจ็บหน้าอก
  • หน้ามืด ตาลาย
  • เวียนศีรษะ
  • เป็นลม

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)
  2. การใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Ambulatory ECG Monitor (Holter Monitoring) เพื่อบันทึกและตรวจจับ

สัญญาณที่ผิดปกติ

  1. การตรวจภาวะการเต้นของหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram)
  2. การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ โดยการเดินสายพาน (Exercise Stress Test : EST)
  3. การตรวจวิเคราะห์สรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เพื่อหาจุดกำเนิดของการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

     การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาจมีได้ตั้งแต่การไม่จำเป็นต้องรักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรง การรับประทานยา การจี้ไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่หัวใจเต้นเร็ว การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในกรณีหัวใจเต้นช้า หรือการใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอย่างรุนแรง

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Permanent Pacemaker: PPM

     เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานโดยอาศัยแบตเตอรี่ โดยทั่วไปจะผ่าตัดใส่ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หรือภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วคราวที่แก้สาเหตุไม่ได้ อาการดังกล่าว ได้แก่ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หรือเหนื่อยง่าย การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะใส่สาย (Lead) ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าเล็กๆ ที่ปลายสายเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยจะใส่บริเวณผิวหนังใต้กระดูกไหปลาร้าด้านใดด้านนึงแต่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านซ้าย แพทย์จะวางตำแหน่งปลายสายไว้ในหัวใจห้องด้านขวาบนหรือขวาล่าง หรือทั้ง 2 ห้องแล้วแต่ความจำเป็นของผู้ป่วย จากนั้นจะต่อปลายสายอีกด้านเข้ากับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งถูกฝังไว้ที่ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า เครื่องจะรับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสายตลอดเวลา เมื่ออัตรการเต้นหัวใจของผู้ป่วยช้าลงกว่าที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะส่งพลังงานไฟฟ้าในปริมาณน้อยๆ (แต่เพียงพอ) เพื่อกระตุ้นให้จังหวะหัวใจเต้นปกติตามอัตราที่ตั้งไว้

เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย Automatic Implantable Cardioverter Defbrillator: AICD

     ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ส่งผลให้หัวใจหยุดสูบฉีดเลือด และทำให้เสียชีวิตในเวลาเพียงไม่กี่นาที การรักษาที่ให้ผลดีที่สุด คือ การส่งไฟฟ้าพลังงานสูง (ช็อค) ผ่านหัวใจ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดจังหวะกลับมาปกติในทันที ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแย่ มีโอกาสสูงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หากผู้ป่วยมีอาการนอกโรงพยาบาลโอกาสที่จะได้รับการรักษาด้วยเครื่องช็อคไฟฟ้า (Defbillator) ในทันทีมีได้น้อยมาก ดังนั้น ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย หรือ AICD

     เครื่อง AICD เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เช่นดียวกับครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) แต่มีขนาดใหญ่กว่า 3-4 เท่า แพทย์จะใส่สายเข้าไในห้องหัวไผ่านหลอดเลือดดำที่บริเวณใต้กระตูกไหปลาร้าโดยสายจะรับสัญญาณไฟฟ้หัวใจแล้วสงไปที่เครื่อง AICD เมื่อมีสัญญาณที่บ่งถึงภาวะหัวใต้นผิดจังหวะรุนแรงเครื่องจะส่งไฟฟ้าพลังนสูมาที่หัวไผ่านสายดังกล่าว ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวจกลับมาเป็นปกติได้ในวลาไม่กี่วินาทีก่อนที่ผู้ปวยจะหมดสติ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและช่วยการบีบตัวหัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy / Defibrillator: CRT / CRTD)

เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่อง CRT / CRTD มีระบบการทำงานโดยเครื่องจะเป็นตัวสั่งการว่าให้หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที เพื่อควบคุมให้มีการทำงานที่ประสานกันของหัวใจห้องบนและห้องล่าง ร่วมกับมีการบีบตัวที่สอดคล้องกันของหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งจะส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกรณีที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจที่สามารถช็อคไฟฟ้าได้ด้วย เครื่องจะสามารถทำงานในลักษณะเดียวกันกับเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ (AICD) เครื่องมือชนิดนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่มีการบีบตัวหัวใจน้อย  มีประวัติหัวใจล้มเหลว และกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดตัวกว้าง

การเตรียมตัวก่อนทำการรักษา

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด  ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์
  2. ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Orfarin, Caumadin, Warfarin) อย่างน้อย 5-7 วัน แต่ไม่มีความจำเป็นต้องงดยาป้องกันการก่อตัวของเกร็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel ทั้งนี้ ให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วย
  3. ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำการรักษา
  4. ผู้ป่วยควรมีญาติมาด้วยเพื่อร่วมในการตัดสินใจในการรักษาของแพทย์
  5. ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณไหปลาร้า ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะทำการผ่าตัด
  6. ผู้ป่วยจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโอกาสในการเกิดมีประมาณร้อยละ 1-5 ซึ่งอาการดังกล่าว ได้แก่

  • มีลมหรือเลือดในช่องปอด
  • มีเลือดออกมากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือเกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนัง
  • การติดเชื้อจากแผลผ่าตัด
  • สายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเลื่อนผิดตำแหน่ง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แพ้ยา หรือได้รับผลข้างเคียงของยา

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยขณะพักฟื้นที่โรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
  2. หากไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้ทันที
  3. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ รู้สึกอุ่นๆ ชื้นๆ พบว่ามีเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณไหปลาร้าที่ทำการผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
  4. แพทย์จะมาตรวจเยี่ยมอาการและทำแผลบริเวณไหปลาร้าในวันรุ่งขึ้นเพื่อสังเกตอาการผิดปกติ หากผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน

  1. ไม่ควรให้แผลถูกน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สังเกตอาการผิดปกติบริเวณแผลผ่าตัด เช่น แผลบวมแดง ร้อน กดเจ็บ มีหนอง หรือมีน้ำเหลืองออกจากแผล ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
  2. ระวังการใช้แขนในข้างที่ได้รับการฝังเครื่อง ไม่แกว่งแขนวงกว้างเกินไป (ไม่ควรให้ระดับข้อศอกเกินไหล่) หรือสูงเกินไป เพราะสาย (Lead) ที่ใส่ไว้อาจหลุดจากตำแหน่งที่เหมาะสม หลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ร่างกายจะสร้างพังพืดมาห่อหุ้มเพื่อยึดเครื่องและสายให้แน่น ดังนั้น โอกาสที่สายจะเลื่อนหลุดจึงมีได้น้อย
  3. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะในระยะสั้นๆ หลังการผ่าตัด
  4. หากมีอาการผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือการทำงานของเครื่อง เช่น ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม เหนื่อยหอบผิดปกติ สะอึกตลอดเวลา โดยเฉพาะเป็นตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ควรรีบพบแพทย์
  5. มาพบแพทย์ตามวันและเวลาที่นัดหมายเพื่อรับการตรวจความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด และทดสอบการทำงานของเครื่อง โดยแพทย์จะนัดตรวจครั้งแรกภายใน 2 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ภายใน 3 เดือน และหลังจากนั้นควรตรวจทุก 4-6 เดือน
  6. หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมาพบและปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจต้องทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องก่อนการเดินทาง ควรพกบัตรประจำตัวของผู้ได้รับการฝังเครื่องไว้เสมอ และแสดงบัตรเมื่อต้องผ่านบริเวณที่มีประตูหรืออุปกรณ์สำหรับการตรวจหาอาวุธและโลหะ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจบริเวณที่มีเครื่องฝังอยู่ โดยทั่วไปการเดินผ่านประตูที่มีเครื่องตรวจอาวุธและโลหะไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     หัวใจประกอบไปด้วยหลายส่วนสำคัญ เช่น หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และระบบไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการที่หัวใจจะบีบตัวได้ตามปกตินั้นจำเป็นต้องมีระบบการนำไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ในการที่หัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ ใจสั่น เต้นผิดจังหวะไม่สม่ำเสมอ หรือหยุดเต้น ล้วนแต่เกิดจากความผิดปกติในการนำไฟฟ้าหัวใจ

การทำงานของหัวใจ

     โดยปกติหัวใจของเราจะเต้นวันละ 100,000 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที และเป็นการเต้นอย่างมีแบบแผนขึ้นอยู่กับกิจกรรม ณ เวลานั้นๆ การเต้นของหัวใจถูกควบคุมด้วยจุดกำเนิดไฟฟ้าที่สม่ำเสมอภายในร่งกาย หัวใจสามารถแบ่งได้เป็น 4 ห้อง 2 ห้องบนเรียกว่า Atriums และ 2 ห้องล่างเรียกว่า Ventricles แรงกระตุ้นที่ทำให้หัวใจเต้นเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ประสานการหดตัวของหัวใจ โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากกลุ่มของเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะซึ่งอยู่บนหัวใจห้องบนขวา ทำหน้าที่ส่งสัญญาณผ่านไปยังหัวใจห้องบนทั้งด้านซ้ายและขวา ทำให้หัวใจห้องบนหดตัวและส่งสัญญาณไปสู่หัวใจห้องล่างทั้งด้านซ้ายและขวา ทำให้หัวใจห้องบนบีบตัวและส่งเลือดไปสู่หัวใจห้องล่างเพื่อส่งผ่านเลือดไปยังปอดและส่วนต่งๆ ของร่างกาย

 

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติิ (Arrhythmias)

     ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติโดยทั่วไปมีมากกว่า 10 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีกลไก สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา รวมถึงการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป โดยเกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น กระแสไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมันในหัวใจ ส่งผลให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

   1) หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที (Tachyarrhythmia)

   2) หัวใจเต้นช้าผิดปกติ คือ น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที หรือเต้นสะดุด เต้นๆ หยุดๆ หรือหยุดนานเกิน 2.5 วินาที (Bradyarrhythmia)

อาการเบื้องต้นของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

  • ใจสั่น
  • อัตราการเต้นหัวใจเร็วกว่าปกติ
  • หายใจขัด
  • เจ็บหน้าอก
  • หน้ามืด ตาลาย
  • เวียนศีรษะ
  • เป็นลม

การตรวจวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)
  2. การใส่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Ambulatory ECG Monitor (Holter Monitoring) เพื่อบันทึกและตรวจจับ

สัญญาณที่ผิดปกติ

  1. การตรวจภาวะการเต้นของหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (Echocardiogram)
  2. การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ โดยการเดินสายพาน (Exercise Stress Test : EST)
  3. การตรวจวิเคราะห์สรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study) เพื่อหาจุดกำเนิดของการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

     การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาจมีได้ตั้งแต่การไม่จำเป็นต้องรักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรง การรับประทานยา การจี้ไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่หัวใจเต้นเร็ว การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในกรณีหัวใจเต้นช้า หรือการใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอย่างรุนแรง

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Permanent Pacemaker: PPM

     เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานโดยอาศัยแบตเตอรี่ โดยทั่วไปจะผ่าตัดใส่ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หรือภาวะหัวใจหยุดเต้นชั่วคราวที่แก้สาเหตุไม่ได้ อาการดังกล่าว ได้แก่ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ หรือเหนื่อยง่าย การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะใส่สาย (Lead) ซึ่งมีขั้วไฟฟ้าเล็กๆ ที่ปลายสายเข้าทางหลอดเลือดดำ โดยจะใส่บริเวณผิวหนังใต้กระดูกไหปลาร้าด้านใดด้านนึงแต่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านซ้าย แพทย์จะวางตำแหน่งปลายสายไว้ในหัวใจห้องด้านขวาบนหรือขวาล่าง หรือทั้ง 2 ห้องแล้วแต่ความจำเป็นของผู้ป่วย จากนั้นจะต่อปลายสายอีกด้านเข้ากับเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งถูกฝังไว้ที่ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า เครื่องจะรับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจผ่านทางสายตลอดเวลา เมื่ออัตรการเต้นหัวใจของผู้ป่วยช้าลงกว่าที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้ เครื่องจะส่งพลังงานไฟฟ้าในปริมาณน้อยๆ (แต่เพียงพอ) เพื่อกระตุ้นให้จังหวะหัวใจเต้นปกติตามอัตราที่ตั้งไว้

เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย Automatic Implantable Cardioverter Defbrillator: AICD

     ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ส่งผลให้หัวใจหยุดสูบฉีดเลือด และทำให้เสียชีวิตในเวลาเพียงไม่กี่นาที การรักษาที่ให้ผลดีที่สุด คือ การส่งไฟฟ้าพลังงานสูง (ช็อค) ผ่านหัวใจ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดจังหวะกลับมาปกติในทันที ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแย่ มีโอกาสสูงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง หากผู้ป่วยมีอาการนอกโรงพยาบาลโอกาสที่จะได้รับการรักษาด้วยเครื่องช็อคไฟฟ้า (Defbillator) ในทันทีมีได้น้อยมาก ดังนั้น ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดใส่เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย หรือ AICD

     เครื่อง AICD เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เช่นดียวกับครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) แต่มีขนาดใหญ่กว่า 3-4 เท่า แพทย์จะใส่สายเข้าไในห้องหัวไผ่านหลอดเลือดดำที่บริเวณใต้กระตูกไหปลาร้าโดยสายจะรับสัญญาณไฟฟ้หัวใจแล้วสงไปที่เครื่อง AICD เมื่อมีสัญญาณที่บ่งถึงภาวะหัวใต้นผิดจังหวะรุนแรงเครื่องจะส่งไฟฟ้าพลังนสูมาที่หัวไผ่านสายดังกล่าว ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวจกลับมาเป็นปกติได้ในวลาไม่กี่วินาทีก่อนที่ผู้ปวยจะหมดสติ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและช่วยการบีบตัวหัวใจ (Cardiac Resynchronization Therapy / Defibrillator: CRT / CRTD)

เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่อง CRT / CRTD มีระบบการทำงานโดยเครื่องจะเป็นตัวสั่งการว่าให้หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที เพื่อควบคุมให้มีการทำงานที่ประสานกันของหัวใจห้องบนและห้องล่าง ร่วมกับมีการบีบตัวที่สอดคล้องกันของหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งจะส่งผลให้การบีบตัวของหัวใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกรณีที่ได้รับการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจที่สามารถช็อคไฟฟ้าได้ด้วย เครื่องจะสามารถทำงานในลักษณะเดียวกันกับเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ (AICD) เครื่องมือชนิดนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่มีการบีบตัวหัวใจน้อย  มีประวัติหัวใจล้มเหลว และกราฟไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดตัวกว้าง

การเตรียมตัวก่อนทำการรักษา

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด  ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่นๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์
  2. ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Orfarin, Caumadin, Warfarin) อย่างน้อย 5-7 วัน แต่ไม่มีความจำเป็นต้องงดยาป้องกันการก่อตัวของเกร็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel ทั้งนี้ ให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วย
  3. ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำการรักษา
  4. ผู้ป่วยควรมีญาติมาด้วยเพื่อร่วมในการตัดสินใจในการรักษาของแพทย์
  5. ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณไหปลาร้า ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะทำการผ่าตัด
  6. ผู้ป่วยจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโอกาสในการเกิดมีประมาณร้อยละ 1-5 ซึ่งอาการดังกล่าว ได้แก่

  • มีลมหรือเลือดในช่องปอด
  • มีเลือดออกมากโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือเกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนัง
  • การติดเชื้อจากแผลผ่าตัด
  • สายเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเลื่อนผิดตำแหน่ง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • แพ้ยา หรือได้รับผลข้างเคียงของยา

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยขณะพักฟื้นที่โรงพยาบาล

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
  2. หากไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้ทันที
  3. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ รู้สึกอุ่นๆ ชื้นๆ พบว่ามีเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณไหปลาร้าที่ทำการผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
  4. แพทย์จะมาตรวจเยี่ยมอาการและทำแผลบริเวณไหปลาร้าในวันรุ่งขึ้นเพื่อสังเกตอาการผิดปกติ หากผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้

การปฎิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน

  1. ไม่ควรให้แผลถูกน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สังเกตอาการผิดปกติบริเวณแผลผ่าตัด เช่น แผลบวมแดง ร้อน กดเจ็บ มีหนอง หรือมีน้ำเหลืองออกจากแผล ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
  2. ระวังการใช้แขนในข้างที่ได้รับการฝังเครื่อง ไม่แกว่งแขนวงกว้างเกินไป (ไม่ควรให้ระดับข้อศอกเกินไหล่) หรือสูงเกินไป เพราะสาย (Lead) ที่ใส่ไว้อาจหลุดจากตำแหน่งที่เหมาะสม หลังการผ่าตัด 2 สัปดาห์ร่างกายจะสร้างพังพืดมาห่อหุ้มเพื่อยึดเครื่องและสายให้แน่น ดังนั้น โอกาสที่สายจะเลื่อนหลุดจึงมีได้น้อย
  3. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะในระยะสั้นๆ หลังการผ่าตัด
  4. หากมีอาการผิดปกติที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือการทำงานของเครื่อง เช่น ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม เหนื่อยหอบผิดปกติ สะอึกตลอดเวลา โดยเฉพาะเป็นตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ควรรีบพบแพทย์
  5. มาพบแพทย์ตามวันและเวลาที่นัดหมายเพื่อรับการตรวจความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด และทดสอบการทำงานของเครื่อง โดยแพทย์จะนัดตรวจครั้งแรกภายใน 2 สัปดาห์ ครั้งที่ 2 ภายใน 3 เดือน และหลังจากนั้นควรตรวจทุก 4-6 เดือน
  6. หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไกลควรมาพบและปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจต้องทำการตรวจสอบการทำงานของเครื่องก่อนการเดินทาง ควรพกบัตรประจำตัวของผู้ได้รับการฝังเครื่องไว้เสมอ และแสดงบัตรเมื่อต้องผ่านบริเวณที่มีประตูหรืออุปกรณ์สำหรับการตรวจหาอาวุธและโลหะ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจบริเวณที่มีเครื่องฝังอยู่ โดยทั่วไปการเดินผ่านประตูที่มีเครื่องตรวจอาวุธและโลหะไม่มีผลต่อการทำงานของเครื่อง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง