โบทูลินั่ม ท็อกซิน ไม่ใช่แค่ความงาม แต่เพื่อรักษา
โบทูลินั่ม ท็อกซิน คืออะไร?
“โบทูลินั่ม ท็อกซิน” (Botulinum Toxin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากแบคทีเรียชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ ซึ่งในภาวะปกติของกล้ามเนื้อต้องอาศัยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทในการทำงาน เคลื่อนไหว หรือหดตัว
ดังนั้นเมื่อเซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรืออีกนัยหนึ่ง คือ เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 - 3 วัน เห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7 - 14 วัน และมีฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขนาดยาที่ฉีด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะค่อยๆกลับมาหดตัวได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันวงการแพทย์ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดบริเวณกล้ามเนื้อบนใบหน้าเพื่อลบเลือนริ้วรอยซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณหน้าผาก หว่างคิ้ว หรือหางตา เป็นต้น
โบทูลินั่ม ท็อกซิน รักษาอะไรได้บ้าง?
นอกจากโบทูลินั่ม ท็อกซินจะถูกนำมาใช้ในการรักษาริ้วรอยที่เกิดจากการขยับกล้ามเนื้อที่บริเวณใบหน้าและลำคอ โบทูลินั่ม ท็อกซินยังช่วยในการรักษา
- ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานมากเกินของกล้ามเนื้อ เช่น ตาเข (Strabismus) หนังตากระตุก (Blepharospasm) กล้ามเนื้อคอเกร็งตัว (Cervical dystonia)
- การปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migrain) หรือ การปวดศีรษะจากความเครียด (Tension)
- ภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain)
- ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ที่บริเวณใต้วงแขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อในผู้ที่มีปัญหาเหงื่อออกมากได้
กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรค Myasthenia gravis หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
- ผู้ที่มีประวัติแพ้โบทูลินั่ม ท็อกซิน
- สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างหักโหม
การเตรียมตัวก่อนการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
- งดรับประทานยาแอสไพริน ยาขยายหลอดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินอี ชาเขียว สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฉีด 7 วัน
ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ห้ามนอนราบภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังฉีดยา เพราะอาจทำให้ตัวยากระจายออกนอกตำแหน่งที่ต้องการรักษาไปยังกล้ามเนื้อบริเวณอื่น
- ห้ามนวด ขัด ถู คลึง บริเวณที่ทำการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ยากระจายไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการรักษาได้
- สามารถประคบเย็นบริเวณที่ทำการรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม หรือรอยช้ำ
- การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดบ่อยๆ มีความสำคัญมาก และเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้มากที่สุด ควรทำทุกๆ 15 นาทีในชั่วโมงแรกหลังการฉีด เช่น
- การฉีดบริเวณหน้าผาก ให้หมั่นเลิกคิ้ว
- การฉีดบริเวณหว่างคิ้ว ให้หมั่นขมวดคิ้ว
- การฉีดบริเวณหางตา ให้หมั่นยิ้มยิงฟัน
- การฉีดบริเวณกราม ให้หมั่นเคี้ยวหมากฝรั่ง
- หลีกเลี่ยงการอบไอน้ำ อบซาวน่า ยิงเลเซอร์ การนวดหน้าแรงๆ หรือการทำไอออนโตที่หน้า ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
- สามารถล้างหน้า ทาครีม แต่งหน้าได้ตามปกติ
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความเจ็บจากการฉีดยา
- อาการปวดศีรษะ
- รอยช้ำ
- อาการคิ้วหรือหนังตาตก
- เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยบางราย
โดยอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยและสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A
โบทูลินั่ม ท็อกซิน คืออะไร?
“โบทูลินั่ม ท็อกซิน” (Botulinum Toxin) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากแบคทีเรียชื่อ คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม (Clostridium botulinum) ออกฤทธิ์โดยการไปจับกับส่วนปลายของเซลล์ประสาท ทำให้เซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ ซึ่งในภาวะปกติของกล้ามเนื้อต้องอาศัยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทในการทำงาน เคลื่อนไหว หรือหดตัว
ดังนั้นเมื่อเซลล์ประสาทไม่สามารถหลั่งสารสื่อประสาทได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวหรืออีกนัยหนึ่ง คือ เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อ โดยจะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2 - 3 วัน เห็นผลสูงสุดในเวลาประมาณ 7 - 14 วัน และมีฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขนาดยาที่ฉีด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อจะค่อยๆกลับมาหดตัวได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันวงการแพทย์ใช้โบทูลินั่ม ท็อกซิน มาฉีดบริเวณกล้ามเนื้อบนใบหน้าเพื่อลบเลือนริ้วรอยซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น บริเวณหน้าผาก หว่างคิ้ว หรือหางตา เป็นต้น
โบทูลินั่ม ท็อกซิน รักษาอะไรได้บ้าง?
นอกจากโบทูลินั่ม ท็อกซินจะถูกนำมาใช้ในการรักษาริ้วรอยที่เกิดจากการขยับกล้ามเนื้อที่บริเวณใบหน้าและลำคอ โบทูลินั่ม ท็อกซินยังช่วยในการรักษา
- ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานมากเกินของกล้ามเนื้อ เช่น ตาเข (Strabismus) หนังตากระตุก (Blepharospasm) กล้ามเนื้อคอเกร็งตัว (Cervical dystonia)
- การปวดศีรษะแบบไมเกรน (Migrain) หรือ การปวดศีรษะจากความเครียด (Tension)
- ภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain)
- ภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis) การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน เอ (Botulinum toxin A) ที่บริเวณใต้วงแขน ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อในผู้ที่มีปัญหาเหงื่อออกมากได้
กลุ่มบุคคลที่ไม่ควรรักษาด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ผู้ป่วยโรคระบบกล้ามเนื้อและระบบประสาท เช่น โรค Myasthenia gravis หรือ โรค Amyotrophic lateral sclerosis เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
- ผู้ที่มีประวัติแพ้โบทูลินั่ม ท็อกซิน
- สตรีมีครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่อย่างหักโหม
การเตรียมตัวก่อนการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ควรสอบถามข้อมูลจากแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
- งดรับประทานยาแอสไพริน ยาขยายหลอดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรืออาหารเสริม เช่น วิตามินอี ชาเขียว สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นต้น ก่อนเข้ารับการฉีด 7 วัน
ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ห้ามนอนราบภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงหลังฉีดยา เพราะอาจทำให้ตัวยากระจายออกนอกตำแหน่งที่ต้องการรักษาไปยังกล้ามเนื้อบริเวณอื่น
- ห้ามนวด ขัด ถู คลึง บริเวณที่ทำการรักษา เนื่องจากอาจทำให้ยากระจายไปยังบริเวณที่ไม่ต้องการรักษาได้
- สามารถประคบเย็นบริเวณที่ทำการรักษาเพื่อลดอาการปวด บวม หรือรอยช้ำ
- การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดบ่อยๆ มีความสำคัญมาก และเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้มากที่สุด ควรทำทุกๆ 15 นาทีในชั่วโมงแรกหลังการฉีด เช่น
- การฉีดบริเวณหน้าผาก ให้หมั่นเลิกคิ้ว
- การฉีดบริเวณหว่างคิ้ว ให้หมั่นขมวดคิ้ว
- การฉีดบริเวณหางตา ให้หมั่นยิ้มยิงฟัน
- การฉีดบริเวณกราม ให้หมั่นเคี้ยวหมากฝรั่ง
- หลีกเลี่ยงการอบไอน้ำ อบซาวน่า ยิงเลเซอร์ การนวดหน้าแรงๆ หรือการทำไอออนโตที่หน้า ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
- สามารถล้างหน้า ทาครีม แต่งหน้าได้ตามปกติ
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อประเมินผลการรักษา
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ความเจ็บจากการฉีดยา
- อาการปวดศีรษะ
- รอยช้ำ
- อาการคิ้วหรือหนังตาตก
- เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยบางราย
โดยอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยและสามารถหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีความผิดปกติใดเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. ศุภานัน ประเสริฐโยธิน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมตกแต่ง ชั้น 3 โซน A