
ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในสุภาพสตรี แม้ในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ผลการรักษามะเร็งเต้านมกลับได้ผลดีขึ้น ข้อมูลทางวิชาการ พบว่า อัตราการเสียชีวิตหรืออัตราการเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมีอัตราที่ต่ำลง สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมที่พัฒนาขึ้น
อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมที่ลดลงมาจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งความรู้ของแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัยด้านมะเร็งที่สามารถทำงานวิจัยที่ก้าวหน้า ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรู้ระดับโมเลกุล ยีน หรือสารพันธุกรรมที่เป็นตัวก่อมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาการรักษามะเร็งเต้านมให้ตรงจุดและได้ประสิทธิภาพ
ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านม แบ่งออกได้เป็น 4 หมวดใหญ่
1. ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
ในอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่คลำพบก้อนที่เต้านมแล้ว ทำให้วินิจฉัยพบมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2-3-4 เป็นส่วนใหญ่ ผลการรักษาจึงได้ผลในระดับหนึ่ง จนกระทั่งโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์เต้านมแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ขนาดเล็ก ยังคลำไม่พบก้อนและเป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 0-1 ทำให้โอกาสในการรักษาให้หายสูง นอกจากนี้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Tomosynthesis mammography ทำให้สามารถพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่วินิจฉัยยากหรือเครื่อง MRI เต้านมทำให้เห็นรายละเอียดของก้อนในเต้านมได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการเริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยประกอบการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ทั้งนี้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ทำได้ตั้งแต่มะเร็งระยะที่ 0-1 นำมาสู่การรักษาที่ยุ่งยากและใช้ทรัพยากรต่างๆ น้อยลงกว่าการรักษามะเร็งเต้านมในระยะท้ายๆ ความก้าวหน้าทางด้านพันธุศาสตร์และชีวโมเลกุลของมะเร็งเต้านม เป็นความก้าวหน้าอีกด้านหนึ่งที่ทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น สามารถจำแนกมะเร็งเต้านมออกเป็นชนิดย่อยๆ และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทางพันธุกรรม สู่การเลือกวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปในมะเร็งเต้านมต่างชนิดกัน พร้อมทั้งให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น
2. ความก้าวหน้าในการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมในอดีตพึ่งพาการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่า การผ่าตัดใหญ่หรือตัดเต้านมออกทั้งหมดไม่ได้สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิต ดังนั้นการเลือกวิธีหรือแนวทางการผ่าตัดที่เหมาะสมในมะเร็งเต้านมแต่ละชนิดต่างหากที่ช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ความก้าวหน้าในการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ประกอบด้วย การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ การผ่าตัดเต้านม การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ในปัจจุบันมีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเพื่อทดแทนการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด ในกรณีที่มะเร็งยังไม่ลามไปต่อมน้ำเหลืองหรือมีมะเร็งในระยะต้น การผ่าตัดเต้านมก็จะมุ่งเน้นไปสู่การผ่าตัดแบบสงวนเต้ามากขึ้น เพื่อให้สุภาพสตรีมีคุณภาพชีวิตดีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเต้านมเทียมหรือเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง เป็นทางเลือกที่ทำได้ด้วยความปลอดภัยภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
3. ความก้าวหน้าในการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งเต้านม
เนื่องจากแพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในกลไกการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตยาในการรักษามะเร็งเต้านมได้หลากหลายมากขึ้น ในอดีตยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมมีเพียงยาต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนและยาเคมีบำบัดเท่านั้น แต่ปัจจุบันยาที่สามารถใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม มีทั้งยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาภูมิคุ้มกันบำบัด และยามุ่งเป้า (ซึ่งมีหลายเป้า เช่น HER2, PARP, PI3K, CDK4/6 เป็นต้น) นอกจากนี้ ยาต่างๆ ช่วยในการลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดมีการพัฒนาไปมาก เช่น ยาต้านอาการคลื่นไส้ อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว ทำให้อายุรแพทย์เคมีบำบัด มีทางเลือกมากขึ้นในการใช้ยาในการรักษามะเร็งเต้านม นอกจากนั้น ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัด คือ การเลือกใช้ยาใด ๆ ในการรักษามะเร็งเต้านมต้องขึ้นกับชนิดของมะเร็งเต้านมที่ผู้ป่วยเป็นด้วย ยาที่มีประสิทธิภาพดี อาจจะไม่สามารถใช้กับมะเร็งเต้านมบางชนิดได้เสมอไป
4. ความก้าวหน้าในการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งเต้านม
เทคโนโลยีในปัจจุบัน การฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งเต้านมมีเทคนิคหลากหลาย แต่ละเทคนิคให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมที่ดีแตกต่างกันไป โดยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง เนื่องจากการกำหนดการฉายรังสีให้ตรงตามตำแหน่งที่แพทย์ต้องการทำได้ดีขึ้น เป็นผลทำให้ปริมาณการฉายรังสีและจำนวนครั้งในการฉายรังสีมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีการฉายรังสีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องซีทีสแกนแบบ 3 มิติในการวางแผนการฉายแสง การใช้เทคนิคการหายใจเข้าลึกแล้วกลั้นใจ (Deep Inspiration Breath Hold:DIBH) มาใช้ในการจัดการการหายใจของผู้ป่วยในระหว่างการฉายรังสี ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจกระทบบริเวณปอดและหัวใจ ทำให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการฉายรังสีดีขึ้น
สรุปได้ว่า การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกๆ ด้าน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ตั้งใจนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้ความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับโลก เพิ่มโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งเต้านมและ คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
บทความที่เกี่ยวข้อง
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในสุภาพสตรี แม้ในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีแต่ผลการรักษามะเร็งเต้านมกลับได้ผลดีขึ้น ข้อมูลทางวิชาการ พบว่า อัตราการเสียชีวิตหรืออัตราการเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยมีอัตราที่ต่ำลง สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมที่พัฒนาขึ้น
อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมที่ลดลงมาจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งความรู้ของแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัยด้านมะเร็งที่สามารถทำงานวิจัยที่ก้าวหน้า ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรู้ระดับโมเลกุล ยีน หรือสารพันธุกรรมที่เป็นตัวก่อมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น นำไปสู่การพัฒนาการรักษามะเร็งเต้านมให้ตรงจุดและได้ประสิทธิภาพ
ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านม แบ่งออกได้เป็น 4 หมวดใหญ่
1. ความก้าวหน้าในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม
ในอดีตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่คลำพบก้อนที่เต้านมแล้ว ทำให้วินิจฉัยพบมะเร็งเต้านมในระยะที่ 2-3-4 เป็นส่วนใหญ่ ผลการรักษาจึงได้ผลในระดับหนึ่ง จนกระทั่งโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์เต้านมแพร่หลายมากขึ้นในประเทศไทย ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ขนาดเล็ก ยังคลำไม่พบก้อนและเป็นมะเร็งเต้านมในระยะที่ 0-1 ทำให้โอกาสในการรักษาให้หายสูง นอกจากนี้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Tomosynthesis mammography ทำให้สามารถพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่วินิจฉัยยากหรือเครื่อง MRI เต้านมทำให้เห็นรายละเอียดของก้อนในเต้านมได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการเริ่มนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาช่วยประกอบการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ทั้งนี้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ทำได้ตั้งแต่มะเร็งระยะที่ 0-1 นำมาสู่การรักษาที่ยุ่งยากและใช้ทรัพยากรต่างๆ น้อยลงกว่าการรักษามะเร็งเต้านมในระยะท้ายๆ ความก้าวหน้าทางด้านพันธุศาสตร์และชีวโมเลกุลของมะเร็งเต้านม เป็นความก้าวหน้าอีกด้านหนึ่งที่ทำให้แพทย์และนักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ดีขึ้น สามารถจำแนกมะเร็งเต้านมออกเป็นชนิดย่อยๆ และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทางพันธุกรรม สู่การเลือกวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปในมะเร็งเต้านมต่างชนิดกัน พร้อมทั้งให้ผลการรักษาที่ดีขึ้น
2. ความก้าวหน้าในการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมในอดีตพึ่งพาการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจนว่า การผ่าตัดใหญ่หรือตัดเต้านมออกทั้งหมดไม่ได้สัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิต ดังนั้นการเลือกวิธีหรือแนวทางการผ่าตัดที่เหมาะสมในมะเร็งเต้านมแต่ละชนิดต่างหากที่ช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ความก้าวหน้าในการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ประกอบด้วย การผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ การผ่าตัดเต้านม การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ในปัจจุบันมีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนทิเนลเพื่อทดแทนการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด ในกรณีที่มะเร็งยังไม่ลามไปต่อมน้ำเหลืองหรือมีมะเร็งในระยะต้น การผ่าตัดเต้านมก็จะมุ่งเน้นไปสู่การผ่าตัดแบบสงวนเต้ามากขึ้น เพื่อให้สุภาพสตรีมีคุณภาพชีวิตดีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเต้านมเทียมหรือเนื้อเยื่อในร่างกายตัวเอง เป็นทางเลือกที่ทำได้ด้วยความปลอดภัยภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
3. ความก้าวหน้าในการใช้ยาเพื่อรักษามะเร็งเต้านม
เนื่องจากแพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความรู้ ความเข้าใจ ในกลไกการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตยาในการรักษามะเร็งเต้านมได้หลากหลายมากขึ้น ในอดีตยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมมีเพียงยาต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนและยาเคมีบำบัดเท่านั้น แต่ปัจจุบันยาที่สามารถใช้ในการรักษามะเร็งเต้านม มีทั้งยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาภูมิคุ้มกันบำบัด และยามุ่งเป้า (ซึ่งมีหลายเป้า เช่น HER2, PARP, PI3K, CDK4/6 เป็นต้น) นอกจากนี้ ยาต่างๆ ช่วยในการลดผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดมีการพัฒนาไปมาก เช่น ยาต้านอาการคลื่นไส้ อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว ทำให้อายุรแพทย์เคมีบำบัด มีทางเลือกมากขึ้นในการใช้ยาในการรักษามะเร็งเต้านม นอกจากนั้น ยาที่ใช้ในการรักษามะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัด คือ การเลือกใช้ยาใด ๆ ในการรักษามะเร็งเต้านมต้องขึ้นกับชนิดของมะเร็งเต้านมที่ผู้ป่วยเป็นด้วย ยาที่มีประสิทธิภาพดี อาจจะไม่สามารถใช้กับมะเร็งเต้านมบางชนิดได้เสมอไป
4. ความก้าวหน้าในการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งเต้านม
เทคโนโลยีในปัจจุบัน การฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งเต้านมมีเทคนิคหลากหลาย แต่ละเทคนิคให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมที่ดีแตกต่างกันไป โดยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลง เนื่องจากการกำหนดการฉายรังสีให้ตรงตามตำแหน่งที่แพทย์ต้องการทำได้ดีขึ้น เป็นผลทำให้ปริมาณการฉายรังสีและจำนวนครั้งในการฉายรังสีมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีการฉายรังสีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องซีทีสแกนแบบ 3 มิติในการวางแผนการฉายแสง การใช้เทคนิคการหายใจเข้าลึกแล้วกลั้นใจ (Deep Inspiration Breath Hold:DIBH) มาใช้ในการจัดการการหายใจของผู้ป่วยในระหว่างการฉายรังสี ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจกระทบบริเวณปอดและหัวใจ ทำให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมด้วยการฉายรังสีดีขึ้น
สรุปได้ว่า การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกๆ ด้าน โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ตั้งใจนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้ความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับโลก เพิ่มโอกาสในการหายจากโรคมะเร็งเต้านมและ คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ข้อมูลจาก : รศ. ดร. นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E
บทความที่เกี่ยวข้อง