โรคตาแดง ไม่ร้ายแรงแต่รำคาญใจ
โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อในกลุ่มอดีโนไวรัส (Adenovirus) บางส่วนเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคตาแดงพบได้ตลอดทั้งปี แต่มักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝนเนื่องจากเชื้อมีการกระจายตัวได้ง่ายขึ้น หากรู้ตัวว่ามีอาการตาแดงควรรีบพบจักษุแพทย์
อาการของโรคตาแดง
- เยื่อบุตาขาวแดง บวม อาจมีเลือดออกเป็นปื้นๆ
- คัน เคืองตา น้ำตาไหล
- หากติดเชื้อแบคทีเรียอาจมีขี้ตาสีเหลือง
- เปลือกตาบวมแดง
- อาจมีอาการข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้
- บางรายมีอาการเหมือนเป็นหวัดร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูโต บวม และอาจมีอาการเจ็บ
- บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่นกระจกตาอักเสบ (Keratitis) ร่วมด้วยได้
การติดต่อของโรคตาแดง
โรคตาแดงติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว โดยเฉพาะในสถานที่หรือบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น ระยะที่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้คือภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้รับเชื้อจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2 – 14 วัน สามารถติดต่อกันโดย
- การสัมผัสโดนขี้ตา หรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง
- การใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน เครื่องสำอางค์
- การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
การรักษาโรคตาแดง
- ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง
- ใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
- ใช้น้ำเกลือทำความสะอาดเปลือกตา
- ใส่แว่นกันแดด กันลม
- พักผ่อนมากๆ ใช้สายตาให้น้อยลง
- ล้างมือบ่อยๆ และใช้กระดาษทิชชูแทนการใช้ผ้าเช็ดมือ
- ไม่ควรขยี้ตา
- ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์
- งดแต่งหน้า
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และคลุกคลีกับผู้อื่น สถานที่คนพลุกพล่าน ควรหยุดงาน หยุดเรียนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เคืองตามาก หรือตามัวลง ควรพบจักษุแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจดูว่ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระจกตาอักเสบร่วมด้วยหรือไม่เพื่อการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โรคตาแดงสามารถหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี หรือรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะทำให้ผู้ป่วยหายและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา ส่วนใหญ่เป็นเชื้อในกลุ่มอดีโนไวรัส (Adenovirus) บางส่วนเกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคตาแดงพบได้ตลอดทั้งปี แต่มักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝนเนื่องจากเชื้อมีการกระจายตัวได้ง่ายขึ้น หากรู้ตัวว่ามีอาการตาแดงควรรีบพบจักษุแพทย์
อาการของโรคตาแดง
- เยื่อบุตาขาวแดง บวม อาจมีเลือดออกเป็นปื้นๆ
- คัน เคืองตา น้ำตาไหล
- หากติดเชื้อแบคทีเรียอาจมีขี้ตาสีเหลือง
- เปลือกตาบวมแดง
- อาจมีอาการข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้
- บางรายมีอาการเหมือนเป็นหวัดร่วมด้วย ต่อมน้ำเหลืองที่หน้าหูโต บวม และอาจมีอาการเจ็บ
- บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่นกระจกตาอักเสบ (Keratitis) ร่วมด้วยได้
การติดต่อของโรคตาแดง
โรคตาแดงติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว โดยเฉพาะในสถานที่หรือบริเวณที่มีคนอยู่รวมกันมากๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน เป็นต้น ระยะที่สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้คือภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งผู้รับเชื้อจะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 2 – 14 วัน สามารถติดต่อกันโดย
- การสัมผัสโดนขี้ตา หรือน้ำตาของผู้ป่วยโดยตรง
- การใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว หมอน เครื่องสำอางค์
- การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
การรักษาโรคตาแดง
- ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง
- ใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตาเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
- ใช้น้ำเกลือทำความสะอาดเปลือกตา
- ใส่แว่นกันแดด กันลม
- พักผ่อนมากๆ ใช้สายตาให้น้อยลง
- ล้างมือบ่อยๆ และใช้กระดาษทิชชูแทนการใช้ผ้าเช็ดมือ
- ไม่ควรขยี้ตา
- ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์
- งดแต่งหน้า
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด และคลุกคลีกับผู้อื่น สถานที่คนพลุกพล่าน ควรหยุดงาน หยุดเรียนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เคืองตามาก หรือตามัวลง ควรพบจักษุแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจดูว่ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระจกตาอักเสบร่วมด้วยหรือไม่เพื่อการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
โรคตาแดงสามารถหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี หรือรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ จะทำให้ผู้ป่วยหายและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้เร็วยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A