โรคที่มากับหน้าหนาว รับมืออย่างไร?

     ฤดูหนาวเป็นฤดูที่คนไทยหลายคนชื่นชอบ เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อนไม่ค่อยได้พบเจอกับอากาศหนาวมากนัก ถึงแม้จะไม่ได้มีหน้าหนาวยาวนานเท่าหลายๆ ประเทศ แต่ในบางครั้งก็ทำให้เกิดโรคที่มากับหน้าหนาว ซึ่งนำพาความเจ็บป่วยมาให้หากไม่ดูแลสุขภาพให้ดี

โรคที่พบบ่อยในหน้าหนาว

     ในหน้าหนาวเราอาจเสี่ยงโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง ก็อาจทำให้หอบมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าติดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้สิ่งต่างๆ ภายในบ้าน เช่น ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น ก็อาจทำให้มีอาการแพ้มากขึ้นได้ในฤดูนี้ ทำให้มีอาการจาม น้ำมูกไหล เป็นต้น

1. โรคไข้หวัด

     ในโลกของเรามีเชื้อไวรัสหวัดหลายร้อยชนิด ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางอากาศ ทำให้มีอาการไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ โดยทั่วไปจะหายได้เองตามธรรมชาติภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการดูแลสามารถทำได้ เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ

2. โรคไข้หวัดใหญ่

     เป็นโรคที่พบว่ามีการระบาดในช่วงหน้าหนาว เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ชนิดเอพบได้ในคนและสัตว์นานาชนิด ทำให้เกิดโรครุนแรงและมีการแพร่กระจายได้ง่าย ชนิดบีพบได้ในคน ไม่ค่อยทำให้เกิดอาการรุนแรง และชนิดซีพบน้อยในวงแคบและไม่รุนแรง

     การติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มาจากน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จาม เชื้อโรคจะกระจายไปในอากาศ เมื่อสูดหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดโรคภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้อาจติดต่อโดยการสัมผัสสิ่งของที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยด้วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แก้วน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อสัมผัสแล้วไม่ล้างมือ นำมาจับใบหน้าหรือร่างกายก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

     โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป่วยซ้ำได้ และส่วนใหญ่ไม่อันตรายร้ายแรงกับคนทั่วไป แต่จะรุนแรงในคนบางกลุ่ม เช่น เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคเบาหวาน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

     อาการของไข้หวัดใหญ่ มีตั้งแต่ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มักมีอาการมากช่วง 3-4 วันแรก หลังจากนั้นอาจมีเจ็บคอ ไอแห้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยทั่วไปอาการจะอยู่ประมาณ 7-10 วัน ผู้สูงอายุอาจมีอาการไม่ชัดเจนได้บ่อย บางครั้งอาจอ่อนเพลีย ซึม สับสน หรือช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง

     โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาจให้การรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล หากมีอาการไอให้รับประทานยาแก้ไอ หากน้ำมูกไหลให้รับประทานยาลดน้ำมูก เช็ดตัวบ่อยๆ พักผ่อนมากๆ งดกิจกรรมหนักๆ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ งดดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากอาจตับวายหรือสมองอักเสบได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างใกล้ชิด

 

 

3. โรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรัง

     ผู้ป่วยโรคหอบหืด และโรคปอดเรื้อรัง อาจมีอาการกำเริบในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะหากติดเชื้อไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย ดังนั้นในช่วงหน้าหนาวจึงควรดูแลสุขภาพให้ดี ป้องกันไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ พกยาแก้หอบติดตัว ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง และควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

4. โรคภูมิแพ้

     ช่วงหน้าหนาวผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิมอาจมีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนใหม่ๆ ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นจากที่นอน ควันบุหรี่ ขนสัตว์ มีโอกาสได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้มากขึ้น ทำให้มีอาการคันจมูก คันตา จาม น้ำมูกใส คัดจมูกตลอดเวลา บางรายอาจมีผื่นคัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอากาศหนาวจัด สวมเสื้อผ้าป้องกันเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย รับประทานยาแก้แพ้อากาศเพื่อบรรเทาอาการ

ดูแลสุขภาพอย่างไรในช่วงหน้าหนาว

1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักตรากตรำจนเกินไป

2. อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่เข้าไปในที่แออัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคระบาด

3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และยาเสพติด เนื่องจากจะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

4. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และไม่ควรใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม

5.ล้างมือบ่อยๆ เนื่องจากอาจสัมผัสกับเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสิ่งของ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แก้วน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ 15-20 วินาที

6. ดูแลร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะหน้าหนาว สวมเสื้อกันหนาว หมวก ผ้าพันคอ ถุงมือ หากอยู่ในพื้นที่ที่หนาวมาก

7. หากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรสวมหน้ากากอนามัย ปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและล้างมือบ่อยๆ

     การป้องกันดีกว่าการรักษา หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงหน้าหนาว เพราะไม่มีใครรู้ว่าอาการเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการรักษา การดูแลสุขภาพที่ดีจะช่วยป้องกันโรคในหน้าหนาวได้

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     ฤดูหนาวเป็นฤดูที่คนไทยหลายคนชื่นชอบ เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อนไม่ค่อยได้พบเจอกับอากาศหนาวมากนัก ถึงแม้จะไม่ได้มีหน้าหนาวยาวนานเท่าหลายๆ ประเทศ แต่ในบางครั้งก็ทำให้เกิดโรคที่มากับหน้าหนาว ซึ่งนำพาความเจ็บป่วยมาให้หากไม่ดูแลสุขภาพให้ดี

โรคที่พบบ่อยในหน้าหนาว

     ในหน้าหนาวเราอาจเสี่ยงโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย รวมถึงผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง ก็อาจทำให้หอบมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าติดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย หรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิม โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการแพ้สิ่งต่างๆ ภายในบ้าน เช่น ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่น ก็อาจทำให้มีอาการแพ้มากขึ้นได้ในฤดูนี้ ทำให้มีอาการจาม น้ำมูกไหล เป็นต้น

1. โรคไข้หวัด

     ในโลกของเรามีเชื้อไวรัสหวัดหลายร้อยชนิด ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทางอากาศ ทำให้มีอาการไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ระคายคอ โดยทั่วไปจะหายได้เองตามธรรมชาติภายใน 1 สัปดาห์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งการดูแลสามารถทำได้ เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ

2. โรคไข้หวัดใหญ่

     เป็นโรคที่พบว่ามีการระบาดในช่วงหน้าหนาว เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ชนิดเอพบได้ในคนและสัตว์นานาชนิด ทำให้เกิดโรครุนแรงและมีการแพร่กระจายได้ง่าย ชนิดบีพบได้ในคน ไม่ค่อยทำให้เกิดอาการรุนแรง และชนิดซีพบน้อยในวงแคบและไม่รุนแรง

     การติดต่อของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มาจากน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย เมื่อมีการไอ จาม เชื้อโรคจะกระจายไปในอากาศ เมื่อสูดหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดโรคภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้อาจติดต่อโดยการสัมผัสสิ่งของที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยด้วย เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แก้วน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อสัมผัสแล้วไม่ล้างมือ นำมาจับใบหน้าหรือร่างกายก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

     โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป่วยซ้ำได้ และส่วนใหญ่ไม่อันตรายร้ายแรงกับคนทั่วไป แต่จะรุนแรงในคนบางกลุ่ม เช่น เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย โรคไตวาย โรคเบาหวาน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

     อาการของไข้หวัดใหญ่ มีตั้งแต่ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มักมีอาการมากช่วง 3-4 วันแรก หลังจากนั้นอาจมีเจ็บคอ ไอแห้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยทั่วไปอาการจะอยู่ประมาณ 7-10 วัน ผู้สูงอายุอาจมีอาการไม่ชัดเจนได้บ่อย บางครั้งอาจอ่อนเพลีย ซึม สับสน หรือช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง

     โรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาจให้การรักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล หากมีอาการไอให้รับประทานยาแก้ไอ หากน้ำมูกไหลให้รับประทานยาลดน้ำมูก เช็ดตัวบ่อยๆ พักผ่อนมากๆ งดกิจกรรมหนักๆ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ งดดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากอาจตับวายหรือสมองอักเสบได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างใกล้ชิด

 

 

3. โรคหอบหืดและโรคปอดเรื้อรัง

     ผู้ป่วยโรคหอบหืด และโรคปอดเรื้อรัง อาจมีอาการกำเริบในช่วงหน้าหนาว โดยเฉพาะหากติดเชื้อไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วย ดังนั้นในช่วงหน้าหนาวจึงควรดูแลสุขภาพให้ดี ป้องกันไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ พกยาแก้หอบติดตัว ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง และควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

4. โรคภูมิแพ้

     ช่วงหน้าหนาวผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่เดิมอาจมีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงอากาศเปลี่ยนใหม่ๆ ผู้ที่แพ้ไรฝุ่นจากที่นอน ควันบุหรี่ ขนสัตว์ มีโอกาสได้รับการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้มากขึ้น ทำให้มีอาการคันจมูก คันตา จาม น้ำมูกใส คัดจมูกตลอดเวลา บางรายอาจมีผื่นคัน แนะนำให้หลีกเลี่ยงอากาศหนาวจัด สวมเสื้อผ้าป้องกันเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย รับประทานยาแก้แพ้อากาศเพื่อบรรเทาอาการ

ดูแลสุขภาพอย่างไรในช่วงหน้าหนาว

1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ทำงานหนักตรากตรำจนเกินไป

2. อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่เข้าไปในที่แออัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีโรคระบาด

3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และยาเสพติด เนื่องจากจะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย

4. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด และไม่ควรใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม

5.ล้างมือบ่อยๆ เนื่องจากอาจสัมผัสกับเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสิ่งของ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได แก้วน้ำ โทรศัพท์ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยล้างมือด้วยน้ำและสบู่ 15-20 วินาที

6. ดูแลร่างกายให้อบอุ่น ในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะหน้าหนาว สวมเสื้อกันหนาว หมวก ผ้าพันคอ ถุงมือ หากอยู่ในพื้นที่ที่หนาวมาก

7. หากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรสวมหน้ากากอนามัย ปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและล้างมือบ่อยๆ

     การป้องกันดีกว่าการรักษา หมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยในช่วงหน้าหนาว เพราะไม่มีใครรู้ว่าอาการเจ็บป่วยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการรักษา การดูแลสุขภาพที่ดีจะช่วยป้องกันโรคในหน้าหนาวได้

ข้อมูลจาก : ศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง