โรคหืด รู้ทันป้องกันได้

   โรคหืด (Asthma) เป็นโรคที่หลอดลมมีการตีบแคบ เนื่องจากหลอดลมมีการอักเสบเรื้อรัง จึงทำให้หลอดลมมีความไวต่อสารกระตุ้นต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และมลพิษ

อาการบ่งชี้ของโรคหืด

  1. อาการไอ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกายหรือไอเวลากลางคืน
  2. หายใจเสียงวี๊ด
  3. แน่นหน้าอก หายใจติดขัดหรือมีอาการเหนื่อยหอบที่เป็นซ้ำๆ
  4. อาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืน จึงอาจทำให้ต้องตื่น
  5. อาการจะกำเริบในบางฤดูหรือสัมพันธ์กับสารกระตุ้นบางชนิด
  6. เมื่อใช้ยารักษาโรคหืด เช่น ยาขยายหลอดลม แล้วอาการต่างๆ จะดีขึ้น
  7. มีอาการหวัดลงปอดหรือการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่างซ้ำๆ
  8. มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภูมิแพ้ผิวหนัง และภูมิแพ้อาหาร

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหืด
1. กรรมพันธุ์ คนในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้
2. สารก่อภูมิแพ้ อาจสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข และเกสรดอกหญ้า 
3. ปัจจัยอื่นๆ
  • การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
  • สิ่งระคายเคืองและมลภาวะ (Air pollution)
  • การออกกำลังกาย
  • ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และจิตใจ

การตรวจวินิจฉัย 
1. การวัดสมรรถภาพการทำงานของปอด (pulmonary function test)
2. การตรวจหาสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้  โดยการเจาะเลือดหรือการทดสอบภูมิแพ้ด้วยวิธีสะกิดผิวหนัง (skin prick test)
3. การตรวจภาพรังสีและการตรวจเสมหะ 
4. การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การวัดความไวของหลอดลม (bronchial provocation test) หรือการทดสอบโดยการออกกำลังกาย (exercise challenge test) 

แนวทางในการรักษา
1. การใช้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค และแนะนำให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดโรคกำเริบ
    1.1 ยาพ่นควบคุมอาการ (controller) ที่ต้องใช้เป็นประจำทุกวันจนกว่าแพทย์จะแนะนำให้หยุดการใช้ยา
        • ยาต้านการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์แบบพ่น เป็นยาหลักในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
        • ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene
    1.2 ยาบรรเทาอาการ (reliever)
        • ยาขยายหลอดลม สามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการหลอดลมตีบได้อย่างรวดเร็ว
2. การเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ 
3. การรักษาโรคร่วมที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
4. การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ข้อปฏิบัติตัว เมื่อมีอาการหอบกำเริบ
1. ตั้งสติ และให้หยุดทำกิจกรรมนั้นๆ 
2. ใช้ยาขยายหลอดลมตามเทคนิคที่แพทย์ได้สอนไว้
3. หากอาการหอบไม่ดีขึ้นภายใน 15-20 นาที ให้ใช้ยาซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง
4. หากยังมีอาการหายใจลำบาก หลังจากพ่นยาขยายหลอดลมไปแล้ว 3 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์


สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D

   โรคหืด (Asthma) เป็นโรคที่หลอดลมมีการตีบแคบ เนื่องจากหลอดลมมีการอักเสบเรื้อรัง จึงทำให้หลอดลมมีความไวต่อสารกระตุ้นต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และมลพิษ

อาการบ่งชี้ของโรคหืด

  1. อาการไอ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกายหรือไอเวลากลางคืน
  2. หายใจเสียงวี๊ด
  3. แน่นหน้าอก หายใจติดขัดหรือมีอาการเหนื่อยหอบที่เป็นซ้ำๆ
  4. อาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืน จึงอาจทำให้ต้องตื่น
  5. อาการจะกำเริบในบางฤดูหรือสัมพันธ์กับสารกระตุ้นบางชนิด
  6. เมื่อใช้ยารักษาโรคหืด เช่น ยาขยายหลอดลม แล้วอาการต่างๆ จะดีขึ้น
  7. มีอาการหวัดลงปอดหรือการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่างซ้ำๆ
  8. มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นๆ เช่น โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภูมิแพ้ผิวหนัง และภูมิแพ้อาหาร

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหืด
1. กรรมพันธุ์ คนในครอบครัวมีประวัติภูมิแพ้
2. สารก่อภูมิแพ้ อาจสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข และเกสรดอกหญ้า 
3. ปัจจัยอื่นๆ
  • การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด
  • การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
  • สิ่งระคายเคืองและมลภาวะ (Air pollution)
  • การออกกำลังกาย
  • ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และจิตใจ

การตรวจวินิจฉัย 
1. การวัดสมรรถภาพการทำงานของปอด (pulmonary function test)
2. การตรวจหาสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้  โดยการเจาะเลือดหรือการทดสอบภูมิแพ้ด้วยวิธีสะกิดผิวหนัง (skin prick test)
3. การตรวจภาพรังสีและการตรวจเสมหะ 
4. การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การวัดความไวของหลอดลม (bronchial provocation test) หรือการทดสอบโดยการออกกำลังกาย (exercise challenge test) 

แนวทางในการรักษา
1. การใช้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค และแนะนำให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดโรคกำเริบ
    1.1 ยาพ่นควบคุมอาการ (controller) ที่ต้องใช้เป็นประจำทุกวันจนกว่าแพทย์จะแนะนำให้หยุดการใช้ยา
        • ยาต้านการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์แบบพ่น เป็นยาหลักในการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
        • ยาต้านฤทธิ์ Leukotriene
    1.2 ยาบรรเทาอาการ (reliever)
        • ยาขยายหลอดลม สามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการหลอดลมตีบได้อย่างรวดเร็ว
2. การเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ 
3. การรักษาโรคร่วมที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
4. การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ข้อปฏิบัติตัว เมื่อมีอาการหอบกำเริบ
1. ตั้งสติ และให้หยุดทำกิจกรรมนั้นๆ 
2. ใช้ยาขยายหลอดลมตามเทคนิคที่แพทย์ได้สอนไว้
3. หากอาการหอบไม่ดีขึ้นภายใน 15-20 นาที ให้ใช้ยาซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง
4. หากยังมีอาการหายใจลำบาก หลังจากพ่นยาขยายหลอดลมไปแล้ว 3 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์


สอบถามช้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง