ดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้ปลอดภัย (Part 1)
ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยในหลาย ๆ ด้านอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าและประสิทธิภาพลดลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความสามารถของร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันหรือการดำเนินชีวิต และเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้มหรือภาวะอื่น ๆ ขึ้นได้ หากแต่การกลับมาทบทวนหรือการป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านั้น ย่อมต้องอาศัยองค์ความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง หนึ่งในนั้น คือการทำกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้อง และการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุนั้น ๆ ซึ่งได้รวบรวมเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อไปนี้คือ
การขึ้นเตียง (Getting into Bed)
- เดินหรือก้าวเท้าอย่างช้า ๆ และมั่นคง อาจจะเดินเอง มีผู้ดูแลคอยประคอง หรือใช้ Walker โดยยืนหันหลังให้เตียง
- ค่อยๆ ย่อตัวลงนั่ง ลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ข้าง อย่างมั่นคง
- เมื่อนั่งเสร็จแล้ว ดันตัวหรือเลื่อนก้นเข้าไปบริเวณเตียงให้มากขึ้น เอนตัวลงไปด้านหลัง ใช้มือและศอกประคองตัวไว้
- ค่อยๆ ยกขาขึ้นเตียงทีละข้าง หรือพร้อมกัน 2 ข้างอย่างช้า ๆ และจัดท่าบนเตียงให้เรียบร้อย
การพลิกตะแคงตัว (Patient Positioning / Bed Mobility)
- นำหมอนรองศีรษะ หรือหมอนทรงต่างๆ ขนาดพอดี เพื่อลดแรงกดทับจำนวน 3-4 ใบ
- จัดตามท่าทางที่อยู่บนเตียง เช่น นอน หงาย และวางหมอนเล็กบริเวณใต้หลัง และใต้เข่า หรือนอนตะแคงนำหมอนข้างวางขนานกับลำตัว และ นำแขนหรือขาพาด เพื่อให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
- เน้นกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน หมั่นขยับแขนหรือขาช่วยเคลื่อนไหว เป็นการบริหาร กล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันแผลกดทับ
การลงเตียง (Getting out of Bed)
- เลื่อนตัว หรือขยับตัวเล็กน้อย ตะแคงตัวและหันหน้าทางด้านที่จะลงเตียง
- ยกขาทั้ง 2 ข้างลงจากเตียง จากนั้นใช้แขนทั้ง 2 ข้างดันตัวขึ้น และลุกขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง อาจมีผู้ดูแลประคองในช่วงแรก เพื่อความปลอดภัย
- ขยับตัวอยู่ในท่านั่ง ขาทั้ง 2 ข้างแตะพื้น จัดท่าให้เท้าวางราบกับพื้น
- ดันตัวลุกขึ้นยืน ใช้ Walker หรือมีผู้ดูแลประคองตัวให้ยืนขึ้นอย่างมั่นคง
การย้ายตัวลงนั่ง (Transfer Stand to Sit)
- เดินด้วย Walker หรือไม้ค้ำยัน เข้ามาที่เก้าอี้นั่ง
- ค่อย ๆ หมุนตัว โดยหันหลังให้ชิดกับเก้าอี้
ในกรณีใช้ไม้ค้ำยัน ให้ใช้แขนด้านที่ถนัดพยุงไม้ค้ำยันไว้ ขณะเดียวกันมืออีกด้านนึง จับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครกไว้
ในกรณีใช้ Walker ใช้มือด้านใดด้านหนี่ง เอื้อมไปด้านหลังและจับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครก ส่วนอีกข้างหนึ่งจับ Walker ไว้
3. ย่อตัวลงนั่ง จัดท่านั่งให้มั่นคงและปลอดภัย
การสวมกางเกง
พิจารณาให้ใช้อุปกรณ์เสริมความยาวด้าม (Long-handle) หรือที่เอื้อมจับ (Reacher) ตามความเหมาะสม
- ใช้ขอจับหรือเกี่ยวบริเวณขอบกางเกงแล้วนำมาสวมเข้ากับขาด้านที่มีแรงน้อยกว่าก่อน ดึงขึ้นมาให้สูงระดับเหนือเข่า
- ค่อย ๆ ยกขาข้างที่มีแรงมากกว่าใส่ตามมา แล้วค่อยๆ ดึงขอบกางเกงให้ขึ้นมาเสมอระดับเหนือเข่า
- ใช้มือข้างเดียวกับขาข้างที่อ่อนแรงกว่ายกตัวขึ้นโดยลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่มีแรงมากกว่า แล้วจึงใช้มือดึงขอบกางเกงขึ้นระดับเอว
- กางเกงสวมให้พอดีและจัดกางเกงให้เรียบร้อย
การนั่งอาบน้ำ
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงเก้าอี้นั่งอาบน้ำ ให้หันหลังเข้าชิดเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
- เอื้อมมือด้านหนึ่งไปจับเก้าอี้ ในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อยๆ ปล่อยมือจาก Walker
- ย่อตัวลงนั่งบนเก้าอี้นั่งอาบน้ำ โดยให้ขาข้างที่อ่อนแรงกว่าไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง
- ค่อยๆ เลื่อนตัวเข้าไปนั่งให้มั่นคง และทำการอาบน้ำ
การนั่งชักโครก
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงชักโครก ให้หันหลังเข้าชิดโถชักโครก
- กรณีมีราวจับให้เอื้อมมือข้างที่ถนัดหรือด้านที่ใกล้ราวจับ จับให้มั่นคงในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่งบนโถชักโครก โดยให้ขาข้างที่อ่อนแรงกว่าเหยียดไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง ขยับให้ก้นนั่งพอดีบนชักโครก และผ่อนคลาย
การขึ้นรถยนต์
- เปิดประตูรถให้กว้างที่สุด แล้วปรับเบาะนั่งให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย
- กรณี ใช้ Walker หรือไม้ค้ำยัน แล้วหันหลังให้เบาะนั่ง
- ใช้มือด้านที่ใกล้คอนโซลหน้ารถเอื้อมไปจับไว้ อีกด้านหนึ่งจับเบาะนั่งส่วนบนไว้
- ค่อยๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยลงน้ำหนักขาด้านที่มีแรงมากกว่า ส่วนขาด้านที่อ่อนแรงกว่าให้เหยียดตรงแล้วค่อยๆ เคลื่อนไปด้านหน้า แล้วนั่งให้พอดีเบาะนั่ง
- ค่อยๆ ยกขาขึ้นรถทีละข้าง และขยับท่านั่งให้พอดีและปลอดภัย
ข้อควรปฏิบัติ
หากรู้สึกเจ็บ ปวด บริเวณ ข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการเคลื่อนไหว ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกแรงร่างกายด้านที่มีแรง ช่วยในการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย และควรปฏิบัติให้มีความต่อเนื่องทุกวัน
เพราะความสุขของเรา คือ การเห็นคุณกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง
ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุ การเตรียมความพร้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ปัจจัยทางด้านร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยในหลาย ๆ ด้านอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าและประสิทธิภาพลดลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความสามารถของร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันหรือการดำเนินชีวิต และเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้มหรือภาวะอื่น ๆ ขึ้นได้ หากแต่การกลับมาทบทวนหรือการป้องกันไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านั้น ย่อมต้องอาศัยองค์ความรู้และการดูแลที่ถูกต้อง หนึ่งในนั้น คือการทำกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้อง และการปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุนั้น ๆ ซึ่งได้รวบรวมเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อไปนี้คือ
การขึ้นเตียง (Getting into Bed)
- เดินหรือก้าวเท้าอย่างช้า ๆ และมั่นคง อาจจะเดินเอง มีผู้ดูแลคอยประคอง หรือใช้ Walker โดยยืนหันหลังให้เตียง
- ค่อยๆ ย่อตัวลงนั่ง ลงน้ำหนักที่เท้าทั้ง 2 ข้าง อย่างมั่นคง
- เมื่อนั่งเสร็จแล้ว ดันตัวหรือเลื่อนก้นเข้าไปบริเวณเตียงให้มากขึ้น เอนตัวลงไปด้านหลัง ใช้มือและศอกประคองตัวไว้
- ค่อยๆ ยกขาขึ้นเตียงทีละข้าง หรือพร้อมกัน 2 ข้างอย่างช้า ๆ และจัดท่าบนเตียงให้เรียบร้อย
การพลิกตะแคงตัว (Patient Positioning / Bed Mobility)
- นำหมอนรองศีรษะ หรือหมอนทรงต่างๆ ขนาดพอดี เพื่อลดแรงกดทับจำนวน 3-4 ใบ
- จัดตามท่าทางที่อยู่บนเตียง เช่น นอน หงาย และวางหมอนเล็กบริเวณใต้หลัง และใต้เข่า หรือนอนตะแคงนำหมอนข้างวางขนานกับลำตัว และ นำแขนหรือขาพาด เพื่อให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
- เน้นกระตุ้นให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน หมั่นขยับแขนหรือขาช่วยเคลื่อนไหว เป็นการบริหาร กล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันแผลกดทับ
การลงเตียง (Getting out of Bed)
- เลื่อนตัว หรือขยับตัวเล็กน้อย ตะแคงตัวและหันหน้าทางด้านที่จะลงเตียง
- ยกขาทั้ง 2 ข้างลงจากเตียง จากนั้นใช้แขนทั้ง 2 ข้างดันตัวขึ้น และลุกขึ้นมาอยู่ในท่านั่ง อาจมีผู้ดูแลประคองในช่วงแรก เพื่อความปลอดภัย
- ขยับตัวอยู่ในท่านั่ง ขาทั้ง 2 ข้างแตะพื้น จัดท่าให้เท้าวางราบกับพื้น
- ดันตัวลุกขึ้นยืน ใช้ Walker หรือมีผู้ดูแลประคองตัวให้ยืนขึ้นอย่างมั่นคง
การย้ายตัวลงนั่ง (Transfer Stand to Sit)
- เดินด้วย Walker หรือไม้ค้ำยัน เข้ามาที่เก้าอี้นั่ง
- ค่อย ๆ หมุนตัว โดยหันหลังให้ชิดกับเก้าอี้
ในกรณีใช้ไม้ค้ำยัน ให้ใช้แขนด้านที่ถนัดพยุงไม้ค้ำยันไว้ ขณะเดียวกันมืออีกด้านนึง จับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครกไว้
ในกรณีใช้ Walker ใช้มือด้านใดด้านหนี่ง เอื้อมไปด้านหลังและจับพนักพิงแขนเก้าอี้ หรือ ราวจับข้างโถชักโครก ส่วนอีกข้างหนึ่งจับ Walker ไว้
3. ย่อตัวลงนั่ง จัดท่านั่งให้มั่นคงและปลอดภัย
การสวมกางเกง
พิจารณาให้ใช้อุปกรณ์เสริมความยาวด้าม (Long-handle) หรือที่เอื้อมจับ (Reacher) ตามความเหมาะสม
- ใช้ขอจับหรือเกี่ยวบริเวณขอบกางเกงแล้วนำมาสวมเข้ากับขาด้านที่มีแรงน้อยกว่าก่อน ดึงขึ้นมาให้สูงระดับเหนือเข่า
- ค่อย ๆ ยกขาข้างที่มีแรงมากกว่าใส่ตามมา แล้วค่อยๆ ดึงขอบกางเกงให้ขึ้นมาเสมอระดับเหนือเข่า
- ใช้มือข้างเดียวกับขาข้างที่อ่อนแรงกว่ายกตัวขึ้นโดยลงน้ำหนักที่เท้าข้างที่มีแรงมากกว่า แล้วจึงใช้มือดึงขอบกางเกงขึ้นระดับเอว
- กางเกงสวมให้พอดีและจัดกางเกงให้เรียบร้อย
การนั่งอาบน้ำ
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงเก้าอี้นั่งอาบน้ำ ให้หันหลังเข้าชิดเก้าอี้นั่งอาบน้ำ
- เอื้อมมือด้านหนึ่งไปจับเก้าอี้ ในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อยๆ ปล่อยมือจาก Walker
- ย่อตัวลงนั่งบนเก้าอี้นั่งอาบน้ำ โดยให้ขาข้างที่อ่อนแรงกว่าไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง
- ค่อยๆ เลื่อนตัวเข้าไปนั่งให้มั่นคง และทำการอาบน้ำ
การนั่งชักโครก
- เดินโดยใช้ Walker เมื่อถึงชักโครก ให้หันหลังเข้าชิดโถชักโครก
- กรณีมีราวจับให้เอื้อมมือข้างที่ถนัดหรือด้านที่ใกล้ราวจับ จับให้มั่นคงในขณะที่อีกข้างจับ Walker
- ค่อย ๆ ย่อตัวลงนั่งบนโถชักโครก โดยให้ขาข้างที่อ่อนแรงกว่าเหยียดไปด้านหน้าและให้อยู่ในท่าตรง ขยับให้ก้นนั่งพอดีบนชักโครก และผ่อนคลาย
การขึ้นรถยนต์
- เปิดประตูรถให้กว้างที่สุด แล้วปรับเบาะนั่งให้เอนไปด้านหลังเล็กน้อย
- กรณี ใช้ Walker หรือไม้ค้ำยัน แล้วหันหลังให้เบาะนั่ง
- ใช้มือด้านที่ใกล้คอนโซลหน้ารถเอื้อมไปจับไว้ อีกด้านหนึ่งจับเบาะนั่งส่วนบนไว้
- ค่อยๆ ย่อตัวลงนั่ง โดยลงน้ำหนักขาด้านที่มีแรงมากกว่า ส่วนขาด้านที่อ่อนแรงกว่าให้เหยียดตรงแล้วค่อยๆ เคลื่อนไปด้านหน้า แล้วนั่งให้พอดีเบาะนั่ง
- ค่อยๆ ยกขาขึ้นรถทีละข้าง และขยับท่านั่งให้พอดีและปลอดภัย
ข้อควรปฏิบัติ
หากรู้สึกเจ็บ ปวด บริเวณ ข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการเคลื่อนไหว ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกแรงร่างกายด้านที่มีแรง ช่วยในการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย และควรปฏิบัติให้มีความต่อเนื่องทุกวัน
เพราะความสุขของเรา คือ การเห็นคุณกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง