โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะเกิดการเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ดวงตา ดวงตามักเริ่มเสื่อมตามอายุตั้งแต่วัยผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบความเสื่อมและโรคตาได้ตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งเพื่อหาความผิดปกติ เนื่องจากถ้าตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็ว ผลการรักษามักจะดี โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่     

1. ต้อกระจก

เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขุ่นของ “เลนส์ตา” ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น สายตาจึงมัวลง โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาทำให้เกิดการมองเห็นภาพ เมื่อเกิดต้อกระจก จอประสาทตาจะรับแสงได้ไม่เต็มที่  ทำให้การมองเห็นผิดปกติไป อาจมีสายตาพร่ามัวเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลงตามลำดับ ภาวะต้อกระจกเป็นภาวะซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามวัย พบในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ แต่อาจพบได้ในกลุ่มอายุน้อย เช่นเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น

2. ต้อหิน

โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาที่พบบ่อย และมีอันตรายอย่างมากถึงขั้นตาบอดสนิท ถ้าไม่รักษา หรือรักษาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลานสายตาหรือความกว้างของการมองเห็นแคบเข้า จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็นภาวะต้อหินไม่ได้มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินในดวงตา เนื่องจากต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงถูกทำลายของขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นตัวนำการมองเห็นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา เมื่อเป็นมาก ๆ ก็สูญเสียการมองเห็นในที่สุด เป็นการสูญเสียถาวรรักษาให้กลับคืนมามองเห็นไม่ได้ โดยอาการที่พบสำคัญก็คือ มีความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายได้ง่าย แต่ยังมีโรคต้อหินชนิดที่ความดันในลูกตาไม่สูง ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรตรวจคัดกรอง และตรวจติดตามแพทย์นัดหมายสม่ำเสมอ

3. ต้อเนื้อ ต้อลม

ต้อลม (pinguecula) และต้อเนื้อ (pterygium) เป็นปัญหาทางตาที่พบบ่อย ไม่มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้โดยตรง แต่มักก่อให้เกิดความรำคาญ เนื่องจากการระคายเคือง หรืออักเสบบริเวณที่มีการเกิดต้อขึ้น และหากต้อเนื้อลามถึงบริเวณรูม่านตา จะทำให้บดบังการมองเห็น

  • ต้อลม  (pinguecula) เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดเป็นแผ่นหรือตุ่มนูนสีออกเหลืองเกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาขาวข้างกระจกตาดำ มักเกิดที่หัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกัน 
  • ต้อเนื้อ (pterygium) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นใยคอลลาเจนในเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดเนื้อเยื่อผิดปกติ มีลักษณะเป็นแผ่นพังผืดและหลอดเลือดรวมกันสีออกแดงรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม โดยจะลุกลามอย่างช้า ๆ จากหัวตาหรือหางตาเข้าไปในกระจกตา หากลุกลามเข้าไปมากอาจเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือสัมผัสแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) เป็นระยะเวลานาน 

4. จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration) เป็นกลุ่มโรคเกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดของจอประสาทตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะส่วนกลางของภาพ โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น

5. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy: DR) คือภาวะที่จอตาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งจอตาทำงานผิดไปแต่อาจไม่แสดงอาการ ซึ่งจักษุแพทย์สามารถตรวจพบได้ และจะนัดตรวจต่อเนื่องตามความรุนแรงของโรค เพราะอาจต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมความเสื่อมและป้องกันการสูญเสียการมองเห็น

6. สายตาสูงวัยหรือสายตายาวตามอายุ

สายตาสูงวัย หรือสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เป็นการเสื่อมสภาพตามอายุ พบได้ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ โดยภาวะสายตายาวตามอายุสามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัด

ในผู้ที่เดิมมีสายตาปกติ แต่มีสายตาสูงวัยเมื่ออายุมากขึ้น แก้โดยใส่แว่นสำหรับการมองใกล้ (มองไกลไม่ต้องใส่) หรือผู้ที่เดิมมีสายตาสั้น หรือเอียงอยู่แล้ว และมีสายตายาวตามวัยเพิ่มเติมขึ้นมาอาจจะใส่แว่น Progressive เพื่อให้มองได้ชัดทั้งระยะใกล้และไกล

7. วุ้นตาเสื่อม    

วุ้นตา (Vitreous) เป็นส่วนประกอบภายในดวงตา มีลักษณะเป็นวุ้นเหลวใสคล้ายไข่ขาวอยู่หลังเลนส์ตายึดติดกับผิวจอตา ภาวะวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น และอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติในผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา วุ้นตาที่เสื่อมจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมจะหักเหทำให้เห็นเป็นเงาดำลักษณะเป็นจุดและเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา พบมากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มสายตาสั้น แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นโรคนี้อายุน้อยลงเรื่อย ๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษาอาจร้ายแรงถึงขั้นจอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะเกิดการเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ดวงตา ดวงตามักเริ่มเสื่อมตามอายุตั้งแต่วัยผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป ยิ่งอายุมากขึ้นจะพบความเสื่อมและโรคตาได้ตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นจึงควรตรวจตาสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งเพื่อหาความผิดปกติ เนื่องจากถ้าตรวจวินิจฉัยได้รวดเร็ว ผลการรักษามักจะดี โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่     

1. ต้อกระจก

เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขุ่นของ “เลนส์ตา” ทำให้เลนส์แก้วตาแข็งและขุ่นขึ้น สายตาจึงมัวลง โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่รวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาทำให้เกิดการมองเห็นภาพ เมื่อเกิดต้อกระจก จอประสาทตาจะรับแสงได้ไม่เต็มที่  ทำให้การมองเห็นผิดปกติไป อาจมีสายตาพร่ามัวเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลงตามลำดับ ภาวะต้อกระจกเป็นภาวะซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามวัย พบในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ แต่อาจพบได้ในกลุ่มอายุน้อย เช่นเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น

2. ต้อหิน

โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาที่พบบ่อย และมีอันตรายอย่างมากถึงขั้นตาบอดสนิท ถ้าไม่รักษา หรือรักษาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลานสายตาหรือความกว้างของการมองเห็นแคบเข้า จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็นภาวะต้อหินไม่ได้มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินในดวงตา เนื่องจากต้อหินเป็นกลุ่มโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงถูกทำลายของขั้วประสาทตา ซึ่งเป็นตัวนำการมองเห็นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อขั้วประสาทตาถูกทำลายจะมีผลทำให้สูญเสียลานสายตา เมื่อเป็นมาก ๆ ก็สูญเสียการมองเห็นในที่สุด เป็นการสูญเสียถาวรรักษาให้กลับคืนมามองเห็นไม่ได้ โดยอาการที่พบสำคัญก็คือ มีความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายได้ง่าย แต่ยังมีโรคต้อหินชนิดที่ความดันในลูกตาไม่สูง ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรตรวจคัดกรอง และตรวจติดตามแพทย์นัดหมายสม่ำเสมอ

3. ต้อเนื้อ ต้อลม

ต้อลม (pinguecula) และต้อเนื้อ (pterygium) เป็นปัญหาทางตาที่พบบ่อย ไม่มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดได้โดยตรง แต่มักก่อให้เกิดความรำคาญ เนื่องจากการระคายเคือง หรืออักเสบบริเวณที่มีการเกิดต้อขึ้น และหากต้อเนื้อลามถึงบริเวณรูม่านตา จะทำให้บดบังการมองเห็น

  • ต้อลม  (pinguecula) เป็นความเสื่อมของเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดเป็นแผ่นหรือตุ่มนูนสีออกเหลืองเกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาขาวข้างกระจกตาดำ มักเกิดที่หัวตาด้านในใกล้จมูก แต่อาจเกิดได้ทั้งด้านหัวตาและหางตาพร้อมกัน 
  • ต้อเนื้อ (pterygium) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเส้นใยคอลลาเจนในเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดเนื้อเยื่อผิดปกติ มีลักษณะเป็นแผ่นพังผืดและหลอดเลือดรวมกันสีออกแดงรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม โดยจะลุกลามอย่างช้า ๆ จากหัวตาหรือหางตาเข้าไปในกระจกตา หากลุกลามเข้าไปมากอาจเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือสัมผัสแสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) เป็นระยะเวลานาน 

4. จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม

โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration) เป็นกลุ่มโรคเกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดของจอประสาทตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะส่วนกลางของภาพ โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุสูญเสียการมองเห็น

5. ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

เบาหวานขึ้นจอตา (Diabetic Retinopathy: DR) คือภาวะที่จอตาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโรคเบาหวาน เนื่องจากน้ำตาลในเลือดที่สูงจะทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งจอตาทำงานผิดไปแต่อาจไม่แสดงอาการ ซึ่งจักษุแพทย์สามารถตรวจพบได้ และจะนัดตรวจต่อเนื่องตามความรุนแรงของโรค เพราะอาจต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมความเสื่อมและป้องกันการสูญเสียการมองเห็น

6. สายตาสูงวัยหรือสายตายาวตามอายุ

สายตาสูงวัย หรือสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เป็นการเสื่อมสภาพตามอายุ พบได้ในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างและโฟกัสในระยะใกล้ได้ โดยภาวะสายตายาวตามอายุสามารถแก้ไขได้ด้วยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัด

ในผู้ที่เดิมมีสายตาปกติ แต่มีสายตาสูงวัยเมื่ออายุมากขึ้น แก้โดยใส่แว่นสำหรับการมองใกล้ (มองไกลไม่ต้องใส่) หรือผู้ที่เดิมมีสายตาสั้น หรือเอียงอยู่แล้ว และมีสายตายาวตามวัยเพิ่มเติมขึ้นมาอาจจะใส่แว่น Progressive เพื่อให้มองได้ชัดทั้งระยะใกล้และไกล

7. วุ้นตาเสื่อม    

วุ้นตา (Vitreous) เป็นส่วนประกอบภายในดวงตา มีลักษณะเป็นวุ้นเหลวใสคล้ายไข่ขาวอยู่หลังเลนส์ตายึดติดกับผิวจอตา ภาวะวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น และอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติในผู้ที่สายตาสั้นมาก หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา วุ้นตาที่เสื่อมจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมจะหักเหทำให้เห็นเป็นเงาดำลักษณะเป็นจุดและเส้นคล้ายหยากไย่ลอยไปมา พบมากในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มสายตาสั้น แต่ปัจจุบันผู้ที่เป็นโรคนี้อายุน้อยลงเรื่อย ๆ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่เข้ารับการรักษาอาจร้ายแรงถึงขั้นจอประสาทตาฉีกขาด หลุดลอก และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง