ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร

ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะรูปถุง ทำหน้าที่เก็บน้ำดี โดยทั่วไปมีปริมาตรประมาณ 50 มิลลิลิตร เมื่ออาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีจะทำการบีบตัวเพื่อให้น้ำดีลงมาผสมคลุกเคล้า เพื่อทำให้ไขมันละลายและย่อยได้ นิ่วเกิดจากการเสียสมดุลของสารในน้ำดี ทำให้ตกตะกอนเป็นนิ่วเกิดขึ้น

อาการ

นิ่วในถุงน้ำดีอาจตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่มาตรวจสุขภาพโดยไม่มีอาการไปจนกระทั่งมีอาการจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หลังมื้ออาหารสองถึงสามชั่วโมงและเป็นสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเวลาทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารมื้อหนัก บางรายอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ผู้ป่วยหลายคนไปพบแพทย์รักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ทานยาหลายชนิดเป็นเวลานานอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องนึกถึงภาวะนี้เช่นกัน

 

 

การวินิจฉัย

สามารถวินิจฉัยได้โดยการใช้การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง โดยมีความไวถึง 86% และความจำเพาะ 97% หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องที่มีความไว 39-75%

ภาวะแทรกซ้อน

โดยทั่วไปอาการจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย อย่างสม่ำเสมอมักเป็นสัญญาณเตือนสำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดี เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ทางเดินน้ำดีอักเสบจากการอุดตันของนิ่วในท่อน้ำดีหรือตับอ่อนอักเสบ ภาวะเหล่านี้จะมีอาการปวดท้องรุนแรงจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและทำการผ่าตัดถุงน้ำดี ทำให้ต้องหยุดงานและพักฟื้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง

วิธีการรักษา

   ปัจจุบันการรักษาด้วยยาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการให้แก่ผู้ป่วย การรักษาจำเพาะ ได้แก่ การผ่าตัดส่องกล้องโดยเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 3-4 รู เพื่อทำการผ่าตัดถุงน้ำดีออกมา สามารถทำได้ง่าย นอนโรงพยาบาล 1-3 วัน ฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็ว ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีอักเสบก็สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้เช่นกัน แต่ความสำเร็จจะลดลงจาก 90% เหลือ 70% ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแทน ซึ่งทำให้จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นสูงขึ้น การรักษาด้วยยาหรือการสลายนิ่วนิยมใช้กับการรักษานิ่วที่ไต สำหรับนิ่วในถุงน้ำดีให้ผลการรักษาไม่ดี จึงไม่เป็นที่นิยมรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตามการผ่าตัดถุงน้ำดีอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ท่อน้ำดีร่วมบาดเจ็บ 0.1% น้ำดีรั่วในช่องท้อง 0.5% มีเลือดออกหลังผ่าตัด 0.1% เป็นต้น

   ในกรณีที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการใด ๆ สามารถติดตามอาการได้เป็นระยะ ๆ หรือจะทำการผ่าตัดถุงน้ำดีก็ได้ แต่ในกรณีที่มีอาการปวดจุกแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืดบ่อย ๆ แนะนำให้รับการผ่าตัดก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาสั้น ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดีแนะนำให้ผ่าตัดถุงน้ำดีในเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อมูลจาก ผศ.นพ.ชัยณรงค์ พลานุสิตเทพา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A

นิ่วในถุงน้ำดีคืออะไร

ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะรูปถุง ทำหน้าที่เก็บน้ำดี โดยทั่วไปมีปริมาตรประมาณ 50 มิลลิลิตร เมื่ออาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีจะทำการบีบตัวเพื่อให้น้ำดีลงมาผสมคลุกเคล้า เพื่อทำให้ไขมันละลายและย่อยได้ นิ่วเกิดจากการเสียสมดุลของสารในน้ำดี ทำให้ตกตะกอนเป็นนิ่วเกิดขึ้น

อาการ

นิ่วในถุงน้ำดีอาจตรวจพบได้ในผู้ป่วยที่มาตรวจสุขภาพโดยไม่มีอาการไปจนกระทั่งมีอาการจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หลังมื้ออาหารสองถึงสามชั่วโมงและเป็นสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเวลาทานอาหารไขมันสูงหรืออาหารมื้อหนัก บางรายอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน ผู้ป่วยหลายคนไปพบแพทย์รักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ ทานยาหลายชนิดเป็นเวลานานอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องนึกถึงภาวะนี้เช่นกัน

การวินิจฉัย

สามารถวินิจฉัยได้โดยการใช้การตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง โดยมีความไวถึง 86% และความจำเพาะ 97% หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องที่มีความไว 39-75%

ภาวะแทรกซ้อน

โดยทั่วไปอาการจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ อาหารไม่ย่อย อย่างสม่ำเสมอมักเป็นสัญญาณเตือนสำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดี เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ ทางเดินน้ำดีอักเสบจากการอุดตันของนิ่วในท่อน้ำดีหรือตับอ่อนอักเสบ ภาวะเหล่านี้จะมีอาการปวดท้องรุนแรงจำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและทำการผ่าตัดถุงน้ำดี ทำให้ต้องหยุดงานและพักฟื้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง

วิธีการรักษา

   ปัจจุบันการรักษาด้วยยาเป็นเพียงการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการให้แก่ผู้ป่วย การรักษาจำเพาะ ได้แก่ การผ่าตัดส่องกล้องโดยเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง 3-4 รู เพื่อทำการผ่าตัดถุงน้ำดีออกมา สามารถทำได้ง่าย นอนโรงพยาบาล 1-3 วัน ฟื้นตัวและกลับไปทำงานได้เร็ว ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำดีอักเสบก็สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้เช่นกัน แต่ความสำเร็จจะลดลงจาก 90% เหลือ 70% ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดส่องกล้องได้แพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแทน ซึ่งทำให้จำนวนวันนอนโรงพยาบาลและการพักฟื้นสูงขึ้น การรักษาด้วยยาหรือการสลายนิ่วนิยมใช้กับการรักษานิ่วที่ไต สำหรับนิ่วในถุงน้ำดีให้ผลการรักษาไม่ดี จึงไม่เป็นที่นิยมรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตามการผ่าตัดถุงน้ำดีอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ท่อน้ำดีร่วมบาดเจ็บ 0.1% น้ำดีรั่วในช่องท้อง 0.5% มีเลือดออกหลังผ่าตัด 0.1% เป็นต้น

   ในกรณีที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการใด ๆ สามารถติดตามอาการได้เป็นระยะ ๆ หรือจะทำการผ่าตัดถุงน้ำดีก็ได้ แต่ในกรณีที่มีอาการปวดจุกแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืดบ่อย ๆ แนะนำให้รับการผ่าตัดก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในเวลาสั้น ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนจากนิ่วในถุงน้ำดีแนะนำให้ผ่าตัดถุงน้ำดีในเวลาที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

ข้อมูลจาก ผศ.นพ.ชัยณรงค์ พลานุสิตเทพา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง