กรดไหลย้อน ป้องกันได้ก่อนกลายเป็นโรคเรื้อรัง!!
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง ภาวะที่เกิดจากสิ่งที่ย้อนจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หรืออาจเกิดจากด่าง หรือเป็นแก๊สก็เป็นได้ โดยอาจมีหรือไม่มีอาการของหลอดอาหารอักเสบ โรคหรือภาวะนี้ไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานแล้ว และมีอัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวบ่อยกว่าคนที่ไม่มีภาวะกรดไหลย้อน
- ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
- เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
- เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกของหลอดอาหารไวกว่าปกติ
ไม่ใช่คนวัยทำงานเท่านั้นที่เสี่ยงกับโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนนี้ยังพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ที่สูบบุหรี่ สตรีที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน อาทิ ยารักษาโรคกระดูกพรุนสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า สำหรับในเด็กนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่วัยทารกจนถึงเด็กโตซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้
อาการหลักของโรคกรดไหลย้อน
- อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ จากนั้นจึงลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ ซึ่งอาการจะชัดเจนมากขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก
- อาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว เพราะมีกรดซึ่งเป็นน้ำที่มีรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมายังปาก
เมื่อรักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกไหม?
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ทานยาลดการหลั่งของกรดเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีโอกาสกลับมามีอาการได้อีก ดังนั้นการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาในกลุ่มเดิมเป็นระยะ ๆ 4-8 สัปดาห์หรือให้ยาตามอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องการตรวจความเป็นกรด ด่างในหลอดอาหาร หรือตรวจการทำงานของหลอดอาหาร
จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน?
สิ่งสำคัญและง่ายที่สุด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้
- กรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แนะนำให้ลดน้ำหนัก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสจัด หรือกระตุ้นให้เกิดอาการ
- ระวังน้ำหนักร่างกายไม่ให้เกินมาตรฐาน โดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรเดินหรือขยับร่างกายหลังอาหาร และควรเข้านอนหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงเพื่อให้อาหารย่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนเวลากลางคืน
โรคกรดไหลย้อนแม้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลร้ายทางร่างกายและคุณภาพชีวิตรวมถึงการทำงาน งานอดิเรกและการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าว หากปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วยังมีอาการอยู่ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรังต่อไป
ข้อมูลจาก : ร.ศ.พญ. มณฑิรา มณีรัตนะพร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง ภาวะที่เกิดจากสิ่งที่ย้อนจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร หรืออาจเกิดจากด่าง หรือเป็นแก๊สก็เป็นได้ โดยอาจมีหรือไม่มีอาการของหลอดอาหารอักเสบ โรคหรือภาวะนี้ไม่ใช่โรคแปลกใหม่สำหรับคนไทย เป็นโรคที่พบมานานแล้ว และมีอัตราการพบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- หลอดอาหารส่วนปลายคลายตัวบ่อยกว่าคนที่ไม่มีภาวะกรดไหลย้อน
- ความดันจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
- เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร
- เกิดจากการรับรู้ความรู้สึกของหลอดอาหารไวกว่าปกติ
ไม่ใช่คนวัยทำงานเท่านั้นที่เสี่ยงกับโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อนนี้ยังพบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่ดื่มสุรา ผู้ที่สูบบุหรี่ สตรีที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคผิวหนังแข็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้การใช้ยาบางชนิดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน อาทิ ยารักษาโรคกระดูกพรุนสูงบางชนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า สำหรับในเด็กนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่วัยทารกจนถึงเด็กโตซึ่งอาการที่พบบ่อย เช่น อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้
อาการหลักของโรคกรดไหลย้อน
- อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ จากนั้นจึงลามขึ้นมาบริเวณหน้าอกหรือลำคอ ซึ่งอาการจะชัดเจนมากขึ้นหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก
- อาการเรอมีกลิ่นเปรี้ยว เพราะมีกรดซึ่งเป็นน้ำที่มีรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมายังปาก
เมื่อรักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกไหม?
โดยทั่วไป แพทย์จะให้ทานยาลดการหลั่งของกรดเป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีโอกาสกลับมามีอาการได้อีก ดังนั้นการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะให้ยาในกลุ่มเดิมเป็นระยะ ๆ 4-8 สัปดาห์หรือให้ยาตามอาการ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังอาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องการตรวจความเป็นกรด ด่างในหลอดอาหาร หรือตรวจการทำงานของหลอดอาหาร
จะปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน?
สิ่งสำคัญและง่ายที่สุด คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตดังต่อไปนี้
- กรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แนะนำให้ลดน้ำหนัก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสจัด หรือกระตุ้นให้เกิดอาการ
- ระวังน้ำหนักร่างกายไม่ให้เกินมาตรฐาน โดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรเดินหรือขยับร่างกายหลังอาหาร และควรเข้านอนหลังรับประทานอาหารแล้วอย่างน้อย 3 ชั่วโมงเพื่อให้อาหารย่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการกรดไหลย้อนเวลากลางคืน
โรคกรดไหลย้อนแม้จะไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลร้ายทางร่างกายและคุณภาพชีวิตรวมถึงการทำงาน งานอดิเรกและการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าว หากปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วยังมีอาการอยู่ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและเรื้อรังต่อไป
ข้อมูลจาก : ร.ศ.พญ. มณฑิรา มณีรัตนะพร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A