เครื่องช่วยฟังคืออะไร ?

     เครื่องช่วยฟัง คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงต่างๆทั้งเสียงคำพูดและเสียงในสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้ผู้ที่ความบกพร่องทางการได้ยินสามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ โดยสามารถปรับกำลังขยายให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วยแต่ละรายได้

 

ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง

  • ช่วยในการสื่อสารกับผู้อื่น โดยผู้พูดไม่ต้องตะโกนหรือพูดเสียงดัง
  • ช่วยกระตุ้นประสาทหูและสมอง ทำให้ประสาทหูและสมองเสื่อมช้าลง
  • ช่วยให้การจับใจความดีขึ้น ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟังและฝึกฟังสม่ำเสมอ

 

ระบบของเครื่องช่วยฟัง

  1. ระบบอนาล็อค (Analog) เป็นการขยายเสียงแบบ linear คือขยายเสียงด้วยสัดส่วนที่เท่ากันทุกเสียง ทำให้มีข้อจำกัดในการฟังในที่มีเสียงรบกวนและเสียงที่มีความดังมาก
  2. ระบบดิจิทัล (Digital) เป็นการขยายเสียงแบบ non-linear โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปรับ สามารถปรับลดเสียงรบกวนลงได้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากกว่าแบบอนาล็อค

 

รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง

1. เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง (Body aid) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงถึงหนวก เนื่องจากเป็นเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายสูง ปุ่มปรับมีขนาดใหญ่ หยิบจับง่าย

ข้อจำกัด

  • เครื่องมีขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก
  • มีเสียงรบกวนจากการที่เครื่องช่วยฟังเสียดสีกับเสื้อผ้า
  • เสียงไม่เป็นธรรมชาติ

 

 

2. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind the ear/ BTE) มีกำลังขยายหลากหลาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการได้ยินทุกระดับ เครื่องมีขนาดกะทัดรัด หยิบจับง่าย เสียงเป็นธรรมชาติมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบกล่อง

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้

 

 

 

3. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูขนาดเล็ก (Receiver in the canal/ RIC, Receiver in the ear/ RITE) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง ขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้
  • บางรุ่นอายุถ่านน้อย ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย
  • รุ่นที่ชาร์จไฟได้มีราคาค่อนข้างสูง

 

 

 

4. เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In the ear/ ITE, In the canal/ ITC, Completely in canal/ CIC) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงระดับมาก มี 3 ขนาดขึ้นอยู่กับระดับที่สูญเสียการได้ยิน ถ้าสูญเสียการได้ยินระดับมาก จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบ ITE ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ถ้าสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถเลือกใส่แบบ ITC หรือ CIC ก็ได้

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้
  • กำลังขยายจำกัดตามขนาดของตัวเครื่อง
  • เครื่องมีขนาดเล็ก หยิบจับยาก หายง่าย
  • ยิ่งขนาดเล็กอายุถ่านยิ่งน้อย ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย

 

 

ข้อบ่งชี้ในการเครื่องช่วยฟัง

  • ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด มีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัด
  • สิ้นสุดการรักษาของแพทย์แล้ว
  • เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและการดำรงชีวิตประจำวัน คุณภาพชีวิตลดลง
  • เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D

บทความโดย นักโสตสัมผัสวิทยา

     เครื่องช่วยฟัง คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายเสียงต่างๆทั้งเสียงคำพูดและเสียงในสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้ผู้ที่ความบกพร่องทางการได้ยินสามารถได้ยินเสียงต่างๆได้ โดยสามารถปรับกำลังขยายให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินของผู้ป่วยแต่ละรายได้

 

ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง

  • ช่วยในการสื่อสารกับผู้อื่น โดยผู้พูดไม่ต้องตะโกนหรือพูดเสียงดัง
  • ช่วยกระตุ้นประสาทหูและสมอง ทำให้ประสาทหูและสมองเสื่อมช้าลง
  • ช่วยให้การจับใจความดีขึ้น ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยฟังและฝึกฟังสม่ำเสมอ

 

ระบบของเครื่องช่วยฟัง

  1. ระบบอนาล็อค (Analog) เป็นการขยายเสียงแบบ linear คือขยายเสียงด้วยสัดส่วนที่เท่ากันทุกเสียง ทำให้มีข้อจำกัดในการฟังในที่มีเสียงรบกวนและเสียงที่มีความดังมาก
  2. ระบบดิจิทัล (Digital) เป็นการขยายเสียงแบบ non-linear โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปรับ สามารถปรับลดเสียงรบกวนลงได้ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากกว่าแบบอนาล็อค

 

รูปแบบของเครื่องช่วยฟัง

1. เครื่องช่วยฟังแบบกล่อง (Body aid) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงถึงหนวก เนื่องจากเป็นเครื่องช่วยฟังที่มีกำลังขยายสูง ปุ่มปรับมีขนาดใหญ่ หยิบจับง่าย

ข้อจำกัด

  • เครื่องมีขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก
  • มีเสียงรบกวนจากการที่เครื่องช่วยฟังเสียดสีกับเสื้อผ้า
  • เสียงไม่เป็นธรรมชาติ

 

 

2. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู (Behind the ear/ BTE) มีกำลังขยายหลากหลาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีการสูญเสียการได้ยินทุกระดับ เครื่องมีขนาดกะทัดรัด หยิบจับง่าย เสียงเป็นธรรมชาติมากกว่าเครื่องช่วยฟังแบบกล่อง

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้

 

 

 

3. เครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหูขนาดเล็ก (Receiver in the canal/ RIC, Receiver in the ear/ RITE) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง ขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้
  • บางรุ่นอายุถ่านน้อย ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย
  • รุ่นที่ชาร์จไฟได้มีราคาค่อนข้างสูง

 

 

 

4. เครื่องช่วยฟังแบบในช่องหู (In the ear/ ITE, In the canal/ ITC, Completely in canal/ CIC) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงระดับมาก มี 3 ขนาดขึ้นอยู่กับระดับที่สูญเสียการได้ยิน ถ้าสูญเสียการได้ยินระดับมาก จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบ ITE ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด ถ้าสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถเลือกใส่แบบ ITC หรือ CIC ก็ได้

ข้อจำกัด

  • ถ่านที่ใช้เป็นถ่านเฉพาะของเครื่องช่วยฟัง มีขายเฉพาะที่ ไม่สามารถซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และไม่สามารถใช้ถ่านนาฬิกาแทนได้
  • กำลังขยายจำกัดตามขนาดของตัวเครื่อง
  • เครื่องมีขนาดเล็ก หยิบจับยาก หายง่าย
  • ยิ่งขนาดเล็กอายุถ่านยิ่งน้อย ต้องเปลี่ยนถ่านบ่อย

 

 

ข้อบ่งชี้ในการเครื่องช่วยฟัง

  • ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด มีข้อห้ามในการผ่าตัดหรือปฏิเสธการผ่าตัด
  • สิ้นสุดการรักษาของแพทย์แล้ว
  • เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและการดำรงชีวิตประจำวัน คุณภาพชีวิตลดลง
  • เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาษาและการพูด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หู คอ จมูก ชั้น 3 โซน D

บทความโดย นักโสตสัมผัสวิทยา


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง