เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบ การบาดเจ็บของนักวิ่ง

     โรคเอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบหรือ IT band syndrome คือสาเหตุที่พบบ่อยของการปวดเข่าด้านนอก (Lateral knee pain) ในนักวิ่ง มีอุบัติการณ์อยู่ในช่วง 1.6% ถึง 12%  โรคนี้ได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Renne ในปี 1975 โดยเป็นโรคที่พบในนาวิกโยธินของกองทัพเรือสหรัฐฯที่ได้รับการฝึกอย่างเข้มงวด

     สาเหตุของโรค IT band syndrome ยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างเป็นวงกว้างโดยมีสามทฤษฎีที่สำคัญ คือ

  1. การเสียดสีของเอ็นต้นขาด้านข้าง(Iliotibial band) กับกระดูกต้นขาส่วนปลายด้านข้าง(lateral femoral epicondyle) ในระหว่างการเหยียดงอของข้อเข่าอย่างซ้ำๆ
  2. การกดเบียดของไขมันและเนื้อเยื้ออ่อนใต้ต่อเอ็นต้นขาด้านข้าง
  3. การอักเสบอย่างเรื้อรังของถุงน้ำใต้เอ็นต้นขาด้านข้าง(Iliotibial band bursa)

     อาการแสดงของโรค IT band syndrome คือการปวดที่บริเวณด้านนอกของเข่าในขณะทำการวิ่งหรือออกกำลังกายโดยอาการปวดมักจะมีลักษณะจำเพาะดังต่อไปนี้

  1. มีอาการปวดเวลาที่ออกกำลังกายมากกว่าปกติเช่นฝึกวิ่งมาราธอน
  2. มักเกิดขึ้นในขณะที่วิ่งในระยะทางเท่าๆเดิม

            หากมีอาการควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยในการตรวจวินิจฉัยโรคจะเน้นไปในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการใช้ภาพถ่ายทางรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้มีความแม่นยำมากขึ้นต่อไป

     การรักษาโรค IT band syndrome จะเน้นไปในทางการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด10 โดยจะแบ่งเป็นสามขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้

  1. Modify activities หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยเฉพาะการงดออกกำลังกายเป็นระยะเวลาประมาณอย่างน้อย 6 สัปดาห์เพื่อลดการอักเสบลง และการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้อาการปวดมากขึ้นก็สามารถทำได้ เช่น การว่ายน้ำ โยคะ หรือการเดิน เป็นต้น
  2. Stretching หรือการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ IT band เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 4 ครั้งต่อเซ็ตทำวันละ 3 เซ็ต ทำครั้งละ 30 วินาทีด้วยท่าทางที่ถูกต้อง
  3. Gradually restart activities หรือการเริ่มการออกกำลังกายอย่างช้าๆหลังจากที่อาการปวดลดลงแล้วโดยการลดความถี่และลดระยะทางในการวิ่งลง หลีกเลี่ยงการวิ่งต่างระดับ การวิ่งลงเขาร่วมกับการใช้รองเท้าที่เหมาะสม

 

ภาพการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ IT Band

 

     กล่าวโดยสรุปคือโรค IT band syndrome เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้มากในนักวิ่ง โดยมีหลักการรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดและสุดท้ายคือการผ่าตัดซึ่งจะทำในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

รศ.นพ.จตุรงค์ พรรัตนมณีวงศ์ , นพ.ปพน หิรัญญโชค

     โรคเอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบหรือ IT band syndrome คือสาเหตุที่พบบ่อยของการปวดเข่าด้านนอก (Lateral knee pain) ในนักวิ่ง มีอุบัติการณ์อยู่ในช่วง 1.6% ถึง 12%  โรคนี้ได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย Renne ในปี 1975 โดยเป็นโรคที่พบในนาวิกโยธินของกองทัพเรือสหรัฐฯที่ได้รับการฝึกอย่างเข้มงวด

     สาเหตุของโรค IT band syndrome ยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างเป็นวงกว้างโดยมีสามทฤษฎีที่สำคัญ คือ

  1. การเสียดสีของเอ็นต้นขาด้านข้าง(Iliotibial band) กับกระดูกต้นขาส่วนปลายด้านข้าง(lateral femoral epicondyle) ในระหว่างการเหยียดงอของข้อเข่าอย่างซ้ำๆ
  2. การกดเบียดของไขมันและเนื้อเยื้ออ่อนใต้ต่อเอ็นต้นขาด้านข้าง
  3. การอักเสบอย่างเรื้อรังของถุงน้ำใต้เอ็นต้นขาด้านข้าง(Iliotibial band bursa)

     อาการแสดงของโรค IT band syndrome คือการปวดที่บริเวณด้านนอกของเข่าในขณะทำการวิ่งหรือออกกำลังกายโดยอาการปวดมักจะมีลักษณะจำเพาะดังต่อไปนี้

  1. มีอาการปวดเวลาที่ออกกำลังกายมากกว่าปกติเช่นฝึกวิ่งมาราธอน
  2. มักเกิดขึ้นในขณะที่วิ่งในระยะทางเท่าๆเดิม

     หากมีอาการควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยในการตรวจวินิจฉัยโรคจะเน้นไปในการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการใช้ภาพถ่ายทางรังสีเพื่อช่วยในการวินิจฉัยให้มีความแม่นยำมากขึ้นต่อไป

     การรักษาโรค IT band syndrome จะเน้นไปในทางการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด10 โดยจะแบ่งเป็นสามขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้

  1. Modify activities หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายโดยเฉพาะการงดออกกำลังกายเป็นระยะเวลาประมาณอย่างน้อย 6 สัปดาห์เพื่อลดการอักเสบลง และการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้อาการปวดมากขึ้นก็สามารถทำได้ เช่น การว่ายน้ำ โยคะ หรือการเดิน เป็นต้น
  2. Stretching หรือการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ IT band เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 4 ครั้งต่อเซ็ตทำวันละ 3 เซ็ต ทำครั้งละ 30 วินาทีด้วยท่าทางที่ถูกต้อง
  3. Gradually restart activities หรือการเริ่มการออกกำลังกายอย่างช้าๆหลังจากที่อาการปวดลดลงแล้วโดยการลดความถี่และลดระยะทางในการวิ่งลง หลีกเลี่ยงการวิ่งต่างระดับ การวิ่งลงเขาร่วมกับการใช้รองเท้าที่เหมาะสม

 

ภาพการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ IT Band

 

     กล่าวโดยสรุปคือโรค IT band syndrome เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้มากในนักวิ่ง โดยมีหลักการรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายและการยืดเอ็นกล้ามเนื้อ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดและสุดท้ายคือการผ่าตัดซึ่งจะทำในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาข้างต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!!  ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

รศ.นพ.จตุรงค์ พรรัตนมณีวงศ์ , นพ.ปพน หิรัญญโชค


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง