ไอเรื้อรัง ปอดพังไม่รู้ตัว
ไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด ไซนัสอักเสบ ไปจนถึงโรคมะเร็งปอด อาการไอเรื้อรังจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสนใจไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาตามสาเหตุนั้นๆ
ชนิดของอาการไอ แบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ คือ
1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส มลพิษทางอากาศ
2. ไอกึ่งเฉียบพลัน ระยะเวลาของอาการไอประมาณ 3 -8 สัปดาห์
3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม วัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ
สาเหตุของการไอเรื้อรัง แยกตามอวัยวะ
1. โรคจมูก
- โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการคัดจมูก คันจมูก จามบ่อยๆ ร่วมกับอาการไอแห้งๆ ระคายคอ เป็นมากเวลาโดนฝุ่นหรือควันบุหรี่ การรักษา คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และกินยาแก้แพ้ หรือใช้ยาพ่นจมูกตามแพทย์สั่ง
- ไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ หรือมีน้ำมูกขุ่นขาวหรือเหลือง มีกลิ่นเหม็นในโพรงจมูก หรือมีกลิ่นปากเนื่องจากมีเสมหะลงคอ อาการไอจะเป็นการไอแบบมีเสมหะร่วมกับน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่ต้องรับการรักษาและกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อไม่ให้โรคลุกลามหรือเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนในภายหลัง
2. โรคในช่องคอที่ทำให้เกิดอาการไอ
- คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับอาการไข้ เจ็บคอ กลืนเจ็บ มักเป็นเฉียบพลัน เกิดในระยะสั้นๆ รักษาโดยยาปฏิชีวนะหรือยารักษาตามอาการ
3. โรคของกล่องเสียงและหลอดลมที่ทำให้เกิดอาการไอ
- กล่องเสียงอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหรือใช้เสียงมาก พบร่วมกับอาการเสียงแหบ บางครั้งพบร่วมกับภาวะที่มีกรดจากกระเพราะไหลย้อนขึ้นมา เกิดเป็นอาการไอเรื้อรังร่วมกับอาการเสียงแหบได้
- มะเร็งกล่องเสียง พบในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มาก ผู้ป่วยมักมีอาการไอร่วมกับเสียงแหบ ถ้าเป็นมากอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีอาการกลืนลำบาก หายใจลำบากร่วมด้วย ควรตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
4. โรคของทางเดินหายใจส่วนล่าง
- วัณโรคปอด เป็นโรคที่ยังคงพบบ่อยในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาให้ครบตามแผนการรักษา
- โรคหอบหืด อาจพบรวมกับโรคภูมิแพ้ รักษาด้วยการใช้ยากินและพ่นยา
- ถุงลมโป่งพอง มักพบในผู้ป่วยสูบบุหรี่มาก หรือเคยเป็นโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ มาก่อน
- มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่สามารถตรวจพบแต่เนิ่นๆ ได้ด้วยการถ่ายภาพรังสีปอดเป็นประจำทุกปีร่วมกับการตรวจสุขภาพ หรือตรวจ Low Dose CT Chest ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
การรักษาอาการไอเรื้อรัง
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุ การไอเรื้อรังในบางครั้งอาจหายเองได้ บางครั้งเป็นโรคร้ายแรง หรือโรคที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยและรีบทำการรักษา จึงควรมาพบแพทย์และไม่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ระบบทางเดินหายใจ ชั้น 3 โซน C
ไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบบ่อยและเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหืด ไซนัสอักเสบ ไปจนถึงโรคมะเร็งปอด อาการไอเรื้อรังจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสนใจไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาตามสาเหตุนั้นๆ
ชนิดของอาการไอ แบ่งตามระยะเวลาของอาการไอ คือ
1. ไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด โพรงไซนัสอักเสบเฉียบพลัน คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลม หรือสัมผัสกับสารระคายเคืองในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ กลิ่นสเปรย์ แก๊ส มลพิษทางอากาศ
2. ไอกึ่งเฉียบพลัน ระยะเวลาของอาการไอประมาณ 3 -8 สัปดาห์
3. ไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่า 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง รับประทานยารักษาความดันโลหิตสูงชนิด angiotensin-converting enzyme inhibitor (ACE-I) เป็นระยะเวลานาน โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบริเวณคอ กล่องเสียง หรือหลอดลม วัณโรคปอด ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจมีสาเหตุมากกว่าหนึ่งชนิด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ
สาเหตุของการไอเรื้อรัง แยกตามอวัยวะ
1. โรคจมูก
- โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการคัดจมูก คันจมูก จามบ่อยๆ ร่วมกับอาการไอแห้งๆ ระคายคอ เป็นมากเวลาโดนฝุ่นหรือควันบุหรี่ การรักษา คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ และกินยาแก้แพ้ หรือใช้ยาพ่นจมูกตามแพทย์สั่ง
- ไซนัสอักเสบ ผู้ป่วยอาจมีไข้ต่ำๆ หรือมีน้ำมูกขุ่นขาวหรือเหลือง มีกลิ่นเหม็นในโพรงจมูก หรือมีกลิ่นปากเนื่องจากมีเสมหะลงคอ อาการไอจะเป็นการไอแบบมีเสมหะร่วมกับน้ำมูกไหลหรือคัดจมูก ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่ต้องรับการรักษาและกินยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อไม่ให้โรคลุกลามหรือเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนในภายหลัง
2. โรคในช่องคอที่ทำให้เกิดอาการไอ
- คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ซึ่งมักพบร่วมกับอาการไข้ เจ็บคอ กลืนเจ็บ มักเป็นเฉียบพลัน เกิดในระยะสั้นๆ รักษาโดยยาปฏิชีวนะหรือยารักษาตามอาการ
3. โรคของกล่องเสียงและหลอดลมที่ทำให้เกิดอาการไอ
- กล่องเสียงอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหรือใช้เสียงมาก พบร่วมกับอาการเสียงแหบ บางครั้งพบร่วมกับภาวะที่มีกรดจากกระเพราะไหลย้อนขึ้นมา เกิดเป็นอาการไอเรื้อรังร่วมกับอาการเสียงแหบได้
- มะเร็งกล่องเสียง พบในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มาก ผู้ป่วยมักมีอาการไอร่วมกับเสียงแหบ ถ้าเป็นมากอาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มีอาการกลืนลำบาก หายใจลำบากร่วมด้วย ควรตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
4. โรคของทางเดินหายใจส่วนล่าง
- วัณโรคปอด เป็นโรคที่ยังคงพบบ่อยในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาให้ครบตามแผนการรักษา
- โรคหอบหืด อาจพบรวมกับโรคภูมิแพ้ รักษาด้วยการใช้ยากินและพ่นยา
- ถุงลมโป่งพอง มักพบในผู้ป่วยสูบบุหรี่มาก หรือเคยเป็นโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ มาก่อน
- มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งที่สามารถตรวจพบแต่เนิ่นๆ ได้ด้วยการถ่ายภาพรังสีปอดเป็นประจำทุกปีร่วมกับการตรวจสุขภาพ หรือตรวจ Low Dose CT Chest ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
การรักษาอาการไอเรื้อรัง
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การหาสาเหตุของอาการไอและรักษาตามสาเหตุ การไอเรื้อรังในบางครั้งอาจหายเองได้ บางครั้งเป็นโรคร้ายแรง หรือโรคที่ต้องรับการตรวจวินิจฉัยและรีบทำการรักษา จึงควรมาพบแพทย์และไม่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ระบบทางเดินหายใจ ชั้น 3 โซน C