ความเชื่อเรื่องไตกับสมุนไพร
สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคไต คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในทางตรงกันข้ามการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ ซึ่งในบางชนิดก็ให้โทษและเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้รับประทานไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดยาออกจากร่างกาย
สมุนไพรที่ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไต
1. กัญชา และสารประกอบกัญชา
มีกลไกการออกฤทธิ์หลัก คือ ต่อระบบประสาท และสารประกอบกัญชาบางส่วนจะถูกขับออกทางไต ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน จากการใช้กัญชาโดยเฉพาะการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่มากเกินไป โดยปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าการใช้กัญชาสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง แต่มีการศึกษาผลของสารเคมีจากกัญชาต่อการทำงานของไต พบว่าทำให้เกิดการอักเสบ และพังผืดในไตโดยยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด ไม่แนะนำให้ใช้กัญชาเพื่อหวังผลในการชะลอความเสื่อมของไต
2. กระท่อม
การดื่มน้ำกระท่อมในปริมาณมากเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โดยอาการที่สังเกตได้เมื่อตับทำงานผิดปกติ คือ ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ผิวสีเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวม ซึ่งเมื่อตับเริ่มทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดสารพิษที่ทำให้ระบบการทำงานของไตผิดปกติไปด้วย และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด
3. ลูกยอ
ผลไม้ที่มีวิตามินซี โพแทสเซียม (Potassium) วิตามินเอสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงเป็นที่นิยมในการรับประทานเสริม เพื่อหวังผลในการชะลอการวัย แต่ปริมาณโพแทสเซียมในน้ำลูกยอนั้นสูงมาก ดังนั้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งจะมีความสามารถในการขับโพแทสเซียมทางไตได้ลดลง จึงไม่ควรรับประทานน้ำลูกยอ เพราะจะทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น และส่งผลต่อระบบหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
4. ชะเอมเทศ
มีสารให้ความหวาน ชื่อไกเซอร์ริซิน (Glycyrrhizin) เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วสารตัวนี้จะทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมน Mineralocorticoid ในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บเกลือและสารน้ำกลับที่ท่อไต เพื่อเข้าสู่ร่างกาย และขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะความดันโลหิตสูง บวม และเกลือแร่โพแทสเซียมในเลือดต่ำผิดปกติ และเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นเดียวกับภาวะโพแทสเซียมสูง
5. มะเฟือง
มีสารออกซาเลต (Oxalate) อยู่เป็นจำนวนมาก จะถูกขับออกจากร่างกายทางไต หากได้รับสารนี้ในปริมาณมาก จะเกิดการจับตัวของสารกับแคลเซียม เกิดเป็นผลึกและอุดตันในท่อไต และนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากมะเฟืองแล้วยังมีอาหารอื่น ๆ ที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ตะลิงปลิง บีทรูท มันสำปะหลัง เผือก โกโก้ อัลมอนด์ เป็นต้น
วิตามิน และอาหารเสริม
วิตามินซี หรือกรดแอสคอบิก (Ascorbic acid)
เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ผู้ที่ขาดวิตามินซีจะทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) ผิวหนังแห้ง มีจุดเลือดออก เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย ปลายประสาทอักเสบ แผลหายช้า และมีผมร่วงได้ โดยปกติร่างกายต้องการวิตามินซี 30-100 mg ต่อวัน หากได้รับวิตามินซีเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการปริมาณสารที่เกินมานี้จะถูกกำจัดออกทางไต และขับออกทางปัสสาวะ โดยสารที่ได้จากการกำจัดที่ไต ได้แก่ ascorbate-2-sulfate และ oxalic acid ซึ่ง oxalic acid จะไปจับตัวกับแคลเซียม เกิดเป็นผลึก calcium oxalate ตกตะกอนที่ต่อไต ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต และไตวายฉับพลันได้
คอลลาเจน
คอลลาเจน
เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างขึ้น และเป็นส่วนประกอบหลักของ ผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผนังหลอดเลือด มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่อวัยวะต่าง ๆ คอลลาเจนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) พบในเส้นเอ็น หลอดเลือด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ป้องกันเนื้อเยื้อไม่ให้ฉีกขาด และช่วยสมานแผลบนผิวหนังได้ดี จึงเป็นคอลลาเจนสำหรับบำรุงผิว
- คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ช่วยกระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกอ่อนให้มีจำนวนมากขึ้น จึงเป็นคอลลาเจนสำหรับบำรุงกระดูก
- คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen Type III) พบในผิวหนังที่มีการสร้างใหม่ พบมากในผิวของเด็ก จึงคล้ายกับคอลลาเจนชนิดที่ 1
ปัจจุบันมีการนำคอลลาเจนปกติมาผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาดเล็กลง เป็น คอลลาเจนไฮโดรไลซ์ (Hydrolyzed collagen) ซึ่งเพิ่มการละลายน้ำและทำให้ถูกดูดซึมได้ดีขึ้น
โดยการใช้คอลลาเจน มีข้อควรระวังในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ที่มีประวัติแพ้โปรตีนมาก่อน
- ผู้ที่แพ้อาหารทะเล/ปลา เพราะส่วนมากคอลลาเจนในปัจจุบันถูกสกัดมาจากปลา
- ผู้ป่วยที่มีโรคไตวายเรื้อรัง ไม่ควรรับประทานโปรตีนในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดภาวะไตวายฉับพลัน และโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการสะสมของ คอลลาเจนชนิดที่ 3 ในหน่วยการทำงานของไตอีกด้วย
- ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ
กลไกที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันของยากลุ่ม NSAIDs
ยากลุ่ม NSAIDs มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ทำให้ arachidonic acid ถูกเปลี่ยนเป็น prostagladins I2 และ E2 ลดลง ซึ่ง prostaglandins ที่ลดลงส่งผลให้หลอดเลือดแดงที่นำพาเลือดไปกรองของเสียที่ไตหดตัว ไตจึงกรองของเสียได้ลดลง
นอกจากนี้เมื่อหลอดเลือดหดตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไตและท่อไตลดลง หากภาวะขาดเลือดมีความรุนแรงหรือมีภาวะขาดเลือดเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการตายของเซลล์ท่อไตแบบเฉียบพลัน ประสิทธิภาพในการขับของเสียบางชนิด การดูดกลับสารที่มีประโยชน์ และการแลกเปลี่ยนสารต่างของไตจึงลดลง จนอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ภายในระยะเวลา 2-7 วัน หลังเริ่มรับประทานยากลุ่ม NSAIDs ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจากยา NSAIDs มักมีปัสสาวะลดลงเหลือน้อยกว่า 400-500 มล.ต่อวัน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมน้ำซึ่งเมื่อใช้นิ้วกดบริเวณหน้าแข้งด้วยความแรงปานกลางนาน 5-10 วินาทีจะเกิดรอยบุ๋มและจะเป็นรอยบุ๋มอยู่นานกว่า 15 วินาที
อย่างไรก็ตามต้องอาศัยการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดเพื่อวัดความเข้มข้นของครีเอทินีน (serum creatinine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การตรวจความเข้มข้นของเสีย และเกลือแร่ในเลือด การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
นอกจากนี้ยากลุ่ม NSAIDs ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายในผู้ใช้ยาบางราย ให้มาทำลายเนื้อเยื่อไตเกิดภาวะเนื้อเยื่อไตอักเสบเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีค่าการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมักพบว่ามีโปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ ซึ่งการวินิจฉัยเพื่อยืนยันต้องอาศัยการเจาะตรวจชิ้นเนื้อไต
สเตียรอยด์ในยาชุด
“ยาชุด” หมายถึงยาที่มีการใส่ยาหลายตัวให้ครอบคลุมอาการอย่างครบถ้วน ซึ่งมักมีการผสมสเตียรอยด์หรือ ยากลุ่ม NSAIDs เพื่อหวังผลในการบรรเทาอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย หรืออาการแพ้รุนแรง
สเตียรอยด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมได้ทั่วร่างกาย และอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จนส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและไตวายได้ รวมถึงสเตียรอยด์มีฤทฺธิ์กดภูมิคุ้มกันจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ในรายที่มีการติดเชื้อรุนแรงจนเข้าสู่กระแสเลือดอาจจะทำให้เกิดภาวะไตวายได้ จะเห็นได้ว่าการใช้สเตียรอยด์ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง ไตวายจนอาจต้องทำการฟอกไต และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C
สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคไต คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ มีความปลอดภัยและมีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในทางตรงกันข้ามการบริโภคสมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไตได้ ซึ่งในบางชนิดก็ให้โทษและเป็นอันตรายได้หากผู้ใช้รับประทานไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้ในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดยาออกจากร่างกาย
สมุนไพรที่ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคไต
1. กัญชา และสารประกอบกัญชา
มีกลไกการออกฤทธิ์หลัก คือ ต่อระบบประสาท และสารประกอบกัญชาบางส่วนจะถูกขับออกทางไต ดังนั้นกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน จากการใช้กัญชาโดยเฉพาะการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่มากเกินไป โดยปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าการใช้กัญชาสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตวายเรื้อรัง แต่มีการศึกษาผลของสารเคมีจากกัญชาต่อการทำงานของไต พบว่าทำให้เกิดการอักเสบ และพังผืดในไตโดยยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด ไม่แนะนำให้ใช้กัญชาเพื่อหวังผลในการชะลอความเสื่อมของไต
2. กระท่อม
การดื่มน้ำกระท่อมในปริมาณมากเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อตับและไต โดยอาการที่สังเกตได้เมื่อตับทำงานผิดปกติ คือ ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ผิวสีเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวม ซึ่งเมื่อตับเริ่มทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดสารพิษที่ทำให้ระบบการทำงานของไตผิดปกติไปด้วย และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด
3. ลูกยอ
ผลไม้ที่มีวิตามินซี โพแทสเซียม (Potassium) วิตามินเอสูง และมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงเป็นที่นิยมในการรับประทานเสริม เพื่อหวังผลในการชะลอการวัย แต่ปริมาณโพแทสเซียมในน้ำลูกยอนั้นสูงมาก ดังนั้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งจะมีความสามารถในการขับโพแทสเซียมทางไตได้ลดลง จึงไม่ควรรับประทานน้ำลูกยอ เพราะจะทำให้มีโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น และส่งผลต่อระบบหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
4. ชะเอมเทศ
มีสารให้ความหวาน ชื่อไกเซอร์ริซิน (Glycyrrhizin) เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วสารตัวนี้จะทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมน Mineralocorticoid ในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บเกลือและสารน้ำกลับที่ท่อไต เพื่อเข้าสู่ร่างกาย และขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะความดันโลหิตสูง บวม และเกลือแร่โพแทสเซียมในเลือดต่ำผิดปกติ และเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้เช่นเดียวกับภาวะโพแทสเซียมสูง
5. มะเฟือง
มีสารออกซาเลต (Oxalate) อยู่เป็นจำนวนมาก จะถูกขับออกจากร่างกายทางไต หากได้รับสารนี้ในปริมาณมาก จะเกิดการจับตัวของสารกับแคลเซียม เกิดเป็นผลึกและอุดตันในท่อไต และนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากมะเฟืองแล้วยังมีอาหารอื่น ๆ ที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ตะลิงปลิง บีทรูท มันสำปะหลัง เผือก โกโก้ อัลมอนด์ เป็นต้น
วิตามิน และอาหารเสริม
วิตามินซี หรือกรดแอสคอบิก (Ascorbic acid)
เป็นวิตามินที่มีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ผู้ที่ขาดวิตามินซีจะทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด (Scurvy) ผิวหนังแห้ง มีจุดเลือดออก เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย ปลายประสาทอักเสบ แผลหายช้า และมีผมร่วงได้ โดยปกติร่างกายต้องการวิตามินซี 30-100 mg ต่อวัน หากได้รับวิตามินซีเกินกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการปริมาณสารที่เกินมานี้จะถูกกำจัดออกทางไต และขับออกทางปัสสาวะ โดยสารที่ได้จากการกำจัดที่ไต ได้แก่ ascorbate-2-sulfate และ oxalic acid ซึ่ง oxalic acid จะไปจับตัวกับแคลเซียม เกิดเป็นผลึก calcium oxalate ตกตะกอนที่ต่อไต ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไต และไตวายฉับพลันได้
คอลลาเจน
คอลลาเจน
เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างขึ้น และเป็นส่วนประกอบหลักของ ผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผนังหลอดเลือด มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่อวัยวะต่าง ๆ คอลลาเจนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
- คอลลาเจนชนิดที่ 1 (Collagen Type I) พบในเส้นเอ็น หลอดเลือด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ป้องกันเนื้อเยื้อไม่ให้ฉีกขาด และช่วยสมานแผลบนผิวหนังได้ดี จึงเป็นคอลลาเจนสำหรับบำรุงผิว
- คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II) พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ช่วยกระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกอ่อนให้มีจำนวนมากขึ้น จึงเป็นคอลลาเจนสำหรับบำรุงกระดูก
- คอลลาเจนชนิดที่ 3 (Collagen Type III) พบในผิวหนังที่มีการสร้างใหม่ พบมากในผิวของเด็ก จึงคล้ายกับคอลลาเจนชนิดที่ 1
ปัจจุบันมีการนำคอลลาเจนปกติมาผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาดเล็กลง เป็น คอลลาเจนไฮโดรไลซ์ (Hydrolyzed collagen) ซึ่งเพิ่มการละลายน้ำและทำให้ถูกดูดซึมได้ดีขึ้น
โดยการใช้คอลลาเจน มีข้อควรระวังในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ที่มีประวัติแพ้โปรตีนมาก่อน
- ผู้ที่แพ้อาหารทะเล/ปลา เพราะส่วนมากคอลลาเจนในปัจจุบันถูกสกัดมาจากปลา
- ผู้ป่วยที่มีโรคไตวายเรื้อรัง ไม่ควรรับประทานโปรตีนในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีรายงานการเกิดภาวะไตวายฉับพลัน และโปรตีนรั่วทางปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการสะสมของ คอลลาเจนชนิดที่ 3 ในหน่วยการทำงานของไตอีกด้วย
- ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กและหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ
กลไกที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันของยากลุ่ม NSAIDs
ยากลุ่ม NSAIDs มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ทำให้ arachidonic acid ถูกเปลี่ยนเป็น prostagladins I2 และ E2 ลดลง ซึ่ง prostaglandins ที่ลดลงส่งผลให้หลอดเลือดแดงที่นำพาเลือดไปกรองของเสียที่ไตหดตัว ไตจึงกรองของเสียได้ลดลง
นอกจากนี้เมื่อหลอดเลือดหดตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไตและท่อไตลดลง หากภาวะขาดเลือดมีความรุนแรงหรือมีภาวะขาดเลือดเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการตายของเซลล์ท่อไตแบบเฉียบพลัน ประสิทธิภาพในการขับของเสียบางชนิด การดูดกลับสารที่มีประโยชน์ และการแลกเปลี่ยนสารต่างของไตจึงลดลง จนอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ภายในระยะเวลา 2-7 วัน หลังเริ่มรับประทานยากลุ่ม NSAIDs ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันจากยา NSAIDs มักมีปัสสาวะลดลงเหลือน้อยกว่า 400-500 มล.ต่อวัน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการบวมน้ำซึ่งเมื่อใช้นิ้วกดบริเวณหน้าแข้งด้วยความแรงปานกลางนาน 5-10 วินาทีจะเกิดรอยบุ๋มและจะเป็นรอยบุ๋มอยู่นานกว่า 15 วินาที
อย่างไรก็ตามต้องอาศัยการวินิจฉัยด้วยการเจาะเลือดเพื่อวัดความเข้มข้นของครีเอทินีน (serum creatinine) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การตรวจความเข้มข้นของเสีย และเกลือแร่ในเลือด การตรวจปัสสาวะ เป็นต้น
นอกจากนี้ยากลุ่ม NSAIDs ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายในผู้ใช้ยาบางราย ให้มาทำลายเนื้อเยื่อไตเกิดภาวะเนื้อเยื่อไตอักเสบเฉียบพลัน โดยผู้ป่วยจะมีค่าการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมักพบว่ามีโปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ ซึ่งการวินิจฉัยเพื่อยืนยันต้องอาศัยการเจาะตรวจชิ้นเนื้อไต
สเตียรอยด์ในยาชุด
“ยาชุด” หมายถึงยาที่มีการใส่ยาหลายตัวให้ครอบคลุมอาการอย่างครบถ้วน ซึ่งมักมีการผสมสเตียรอยด์หรือ ยากลุ่ม NSAIDs เพื่อหวังผลในการบรรเทาอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อย หรืออาการแพ้รุนแรง
สเตียรอยด์มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมได้ทั่วร่างกาย และอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น จนส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจและไตวายได้ รวมถึงสเตียรอยด์มีฤทฺธิ์กดภูมิคุ้มกันจึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ ในรายที่มีการติดเชื้อรุนแรงจนเข้าสู่กระแสเลือดอาจจะทำให้เกิดภาวะไตวายได้ จะเห็นได้ว่าการใช้สเตียรอยด์ส่งผลให้การทำงานของไตเสื่อมลง ไตวายจนอาจต้องทำการฟอกไต และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C