โรคหัด ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ติดต่อกันได้ง่าย มักพบในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบได้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด โรคนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ปัจจุบันนานาประเทศกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันในการกำจัดโรคหัดให้หมดไปจากโลก

การติดต่อของโรคหัด

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) เชื้อหัดจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายผ่านทางการไอ จาม พูดคุยระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสที่ออกมาสามารถอยู่ในอากาศได้นานถึง 2 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยหายใจเอาละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปก็ทำให้เกิดโรคได้ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งโดยตรง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อหัดจะมีระยะฟักตัวของโรคจนเกิดอาการประมาณ 8 - 12 วัน

โรคหัดแพร่เชื้อได้นานเท่าไหร่?

ผู้ป่วยโรคหัดสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนผื่นขึ้น ไปจนถึง 4 วันหลังจากเริ่มมีผื่นขึ้น  

อาการของโรคหัด

1. ระยะก่อนออกผื่น เริ่มด้วยมีไข้เฉียบพลันร่วมกับอาการ 3C ได้แก่ cough (ไอ) coryza (น้ำมูกไหล) และ conjunctivitis (ตาแดง) แสบตาเวลาโดนแสง อาจมีอาการถ่ายเหลวได้ ในระยะก่อนผื่นขึ้นอาจพบจุดขาวบนพื้นแดงที่บริเวณกระพุ้งแก้มบริเวณฟันกรามล่าง เรียกว่า koplik’s spot เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด ผู้ป่วยมีอาการในระยะนี้ประมาณ 2 - 4 วัน

2. ระยะผื่น หลังจากมีไข้ 2 - 4 วันจะเริ่มมีผื่นสีแดงขนาดเล็ก เริ่มที่บริเวณไรผม แล้วกระจายไป คอ ลำตัว แขน ขา และเท้าตามลำดับ ผื่นมักจะอยู่รวมกันเป็นปื้น ผื่นใช้เวลาลามจากใบหน้าถึงเท้าประมาณ 2 - 3 วัน ในเวลานี้ก็จะยังมีไข้สูง เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัวมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะเริ่มลดลง เมื่อใกล้หายผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำและค่อย ๆ ลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ ผื่นจะอยู่นาน 5 - 7วัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง มีส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จากเชื้อหัดเองหรือจากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งภาวะหายใจล้มเหลวจากปอดอักเสบรุนแรงเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ถ่ายเหลว และสมองอักเสบ

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร สำหรับในหญิงตั้งครรภ์อาจเพิ่มโอกาสการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

การดูแลรักษาโรคหัด

โรคนี้ส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัส การรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้แนะนำการรับประทานวิตามินเอในผู้ป่วยโรคหัดทุกรายเป็นเวลา 2 วัน พบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดควรแยกออกจากผู้อื่นอย่างน้อย 4 วันหลังมีผื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น

โรคหัดป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

1. เด็กเล็ก ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กทุกคนฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม 2 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 18 เดือน

2. ผู้ใหญ่ ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคหัด ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 1 ครั้ง

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด

เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น จึงห้ามในหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นเมื่อฉีดวัคซีนในหญิงวัยเจริญพันธุ์จะต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 28 วันหลังได้รับวัคซีน ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรงต่อวัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน (neomycin และ gelatin)

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E

โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ติดต่อกันได้ง่าย มักพบในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบได้ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัด โรคนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงเสียชีวิตได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงเด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ปัจจุบันนานาประเทศกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันในการกำจัดโรคหัดให้หมดไปจากโลก

การติดต่อของโรคหัด

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) เชื้อหัดจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายผ่านทางการไอ จาม พูดคุยระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสที่ออกมาสามารถอยู่ในอากาศได้นานถึง 2 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยหายใจเอาละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปก็ทำให้เกิดโรคได้ หรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งโดยตรง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อหัดจะมีระยะฟักตัวของโรคจนเกิดอาการประมาณ 8 - 12 วัน

โรคหัดแพร่เชื้อได้นานเท่าไหร่?

ผู้ป่วยโรคหัดสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนผื่นขึ้น ไปจนถึง 4 วันหลังจากเริ่มมีผื่นขึ้น  

อาการของโรคหัด

1. ระยะก่อนออกผื่น เริ่มด้วยมีไข้เฉียบพลันร่วมกับอาการ 3C ได้แก่ cough (ไอ) coryza (น้ำมูกไหล) และ conjunctivitis (ตาแดง) แสบตาเวลาโดนแสง อาจมีอาการถ่ายเหลวได้ ในระยะก่อนผื่นขึ้นอาจพบจุดขาวบนพื้นแดงที่บริเวณกระพุ้งแก้มบริเวณฟันกรามล่าง เรียกว่า koplik’s spot เป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัด ผู้ป่วยมีอาการในระยะนี้ประมาณ 2 - 4 วัน

2. ระยะผื่น หลังจากมีไข้ 2 - 4 วันจะเริ่มมีผื่นสีแดงขนาดเล็ก เริ่มที่บริเวณไรผม แล้วกระจายไป คอ ลำตัว แขน ขา และเท้าตามลำดับ ผื่นมักจะอยู่รวมกันเป็นปื้น ผื่นใช้เวลาลามจากใบหน้าถึงเท้าประมาณ 2 - 3 วัน ในเวลานี้ก็จะยังมีไข้สูง เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัวมาถึงบริเวณเท้าแล้วไข้ก็จะเริ่มลดลง เมื่อใกล้หายผื่นจะเปลี่ยนสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำและค่อย ๆ ลอกออกเป็นแผ่นบาง ๆ ผื่นจะอยู่นาน 5 - 7วัน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง มีส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ หูชั้นกลางอักเสบ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ จากเชื้อหัดเองหรือจากเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งภาวะหายใจล้มเหลวจากปอดอักเสบรุนแรงเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ถ่ายเหลว และสมองอักเสบ

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสพบภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ที่มีภาวะขาดสารอาหาร สำหรับในหญิงตั้งครรภ์อาจเพิ่มโอกาสการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้

การดูแลรักษาโรคหัด

โรคนี้ส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ในปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัส การรักษาจะเป็นแบบประคับประคองตามอาการ เช่น เช็ดตัวลดไข้ ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้แนะนำการรับประทานวิตามินเอในผู้ป่วยโรคหัดทุกรายเป็นเวลา 2 วัน พบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและลดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัดควรแยกออกจากผู้อื่นอย่างน้อย 4 วันหลังมีผื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่น

โรคหัดป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน

1. เด็กเล็ก ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เด็กทุกคนฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม 2 ครั้ง เมื่อเด็กอายุ 9 – 12 เดือน และกระตุ้นเข็มที่ 2 ในเด็กอายุ 18 เดือน

2. ผู้ใหญ่ ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคหัด ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่ทราบประวัติการฉีดวัคซีน แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด 1 ครั้ง

ข้อห้ามของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด

เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น จึงห้ามในหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นเมื่อฉีดวัคซีนในหญิงวัยเจริญพันธุ์จะต้องคุมกำเนิดอย่างน้อย 28 วันหลังได้รับวัคซีน ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีประวัติแพ้รุนแรงต่อวัคซีนหรือส่วนประกอบของวัคซีน (neomycin และ gelatin)

ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วรพร พุ่มเล็ก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เด็ก ชั้น 3 โซน E


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง