พร้อมรับมือการระบาด โรคฝีดาษลิง

     โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคสัตว์สู่คน (Zoonosis Diseases) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า มักมีรายงานผู้ป่วยในประเทศแถบแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก

สายพันธุ์ของโรคฝีดาษลิง มี 2 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. สายพันธุ์ West African มีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1
  2. สายพันธุ์ Central African มีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 10

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง

  1. จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการรับประทานสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  2. จากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

     นอกจากนี้ยังมีการตั้งสมมติฐานว่าโรคฝีดาษลิงอาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ

อาการของโรคฝีดาษลิง

     ระยะฟักตัว 5 – 21 วัน โดยปกติโรคนี้จะแสดงอาการไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง

  1. ช่วงเริ่มมีอาการ วันที่ 0 - 5 มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
  2. ช่วงออกผื่น ภายใน 1 - 3 วันหลังมีไข้ มีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern) ส่วนใหญ่ (95%) ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้าและ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก (70%) อวัยวะเพศ (30%) ลักษณะของผื่นจะพัฒนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง (Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles) ตุ่มหนอง (Pustules) และสะเก็ด (Crust) โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้

     โรคฝีดาษลิงมักสามารถหายได้เอง แต่อาจพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ อาทิ

  • เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง

     เทคนิค Real-time PCR จากของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง, Nasopharyngeal, Tonsillar หรือจากเลือดส่งไปที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การรักษาโรคฝีดาษลิง

     ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%

วิธีการป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
  2. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  4. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565)

ข้อมูลจาก: หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A

 

     โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคสัตว์สู่คน (Zoonosis Diseases) ที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า มักมีรายงานผู้ป่วยในประเทศแถบแอฟริกาตอนกลางและตะวันตก

สายพันธุ์ของโรคฝีดาษลิง มี 2 สายพันธุ์ ดังนี้

  1. สายพันธุ์ West African มีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 1
  2. สายพันธุ์ Central African มีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ร้อยละ 10

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง

  1. จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการรับประทานสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
  2. จากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ (Droplet respiratory particle) ของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า

     นอกจากนี้ยังมีการตั้งสมมติฐานว่าโรคฝีดาษลิงอาจสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอ

อาการของโรคฝีดาษลิง

     ระยะฟักตัว 5 – 21 วัน โดยปกติโรคนี้จะแสดงอาการไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง

  1. ช่วงเริ่มมีอาการ วันที่ 0 - 5 มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
  2. ช่วงออกผื่น ภายใน 1 - 3 วันหลังมีไข้ มีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern) ส่วนใหญ่ (95%) ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้าและ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก (70%) อวัยวะเพศ (30%) ลักษณะของผื่นจะพัฒนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง (Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles) ตุ่มหนอง (Pustules) และสะเก็ด (Crust) โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้

     โรคฝีดาษลิงมักสามารถหายได้เอง แต่อาจพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ อาทิ

  • เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีดาษลิง

     เทคนิค Real-time PCR จากของเหลวจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง, Nasopharyngeal, Tonsillar หรือจากเลือดส่งไปที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การรักษาโรคฝีดาษลิง

     ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงที่เฉพาะเจาะจง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วย การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%

วิธีการป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
  2. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  4. ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติดเชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2565)

ข้อมูลจาก: หน่วยงานควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้ป่วยฉุกเฉิน ชั้น 1 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง