
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน อาการกวนใจที่ไม่ควรละเลย
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน อาการกวนใจส่งผลต่อการนอนหลับของใครหลายคน จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ตามมา
หากคุณต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน อาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีอาการของโรคปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) ซึ่งเป็นอาการกวนใจที่ทำให้หลายคนตื่นขึ้นมากลางดึก และมักส่งผลให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในเช้าวันถัดไป จนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้
โดยทั่วไป ร่างกายจะผลิตปัสสาวะออกมาน้อยลงในช่วงเวลากลางคืน จึงทำให้เรานอนหลับได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 - 8 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องตื่นมาปัสสาวะกลางดึก อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบมากในชายสูงอายุ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมก่อนนอนและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ บทความนี้ได้รวบรวมสาเหตุและวิธีรับมือกับการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนให้ได้ผลมาฝากกัน
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนเกิดจากอะไร?
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก, มดลูก เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ,เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ, โรคนิ่ว, การอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคต่อมลูกหมากโต
- ปัญหาระบบประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ
- โรคเบาหวาน และโรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)
- การดื่มน้ำมากเกินไป รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- การใช้ยาบางชนิด อย่างยาขับปัสสาวะ
- ปัญหาด้านการนอนหลับ
- โรคไต, โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคตับและโรคทางสมอง
การรับมือกับอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนให้ได้ผล
การปรับพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ อาจช่วยลดปัญหาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้ ดังนี้
- จำกัดการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนในช่วงเย็นหรือก่อนเข้านอนเป็นเวลา 2–4 ชั่วโมง
- จัดห้องนอนให้เอื้อต่อการนอนหลับ โดยห้องนอนไม่ควรมีเสียงรบกวน หรือมีแสงสว่างมากจนเกินไป ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม และเลือกเครื่องนอน อย่างหมอนและที่นอนที่ทำให้นอนหลับสบาย
- เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้า (Blue light) จากอุปกรณ์เหล่านี้อาจกระตุ้นให้สมองตื่นตัว และลดการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยในการนอนหลับ
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม อย่างการทำสมาธิ เล่นโยคะ ฟังเพลงเบาๆ หรือแช่น้ำอุ่น
- จดบันทึกการดื่มน้ำและการปัสสาวะในแต่ละวัน
- ผู้ที่มีอาการบวมน้ำ ควรยืดหรือเหยียดขาให้สูงกว่าระดับหัวใจในช่วงก่อนนอน หรือใช้หมอนหนุนบริเวณขาขณะนอนหลับ เพื่อลดการสะสมของของเหลวบริเวณขา
หากใช้วิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และรับการรักษาอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเข้ารับการรักษา รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามการนัดหมาย หากรับประทานยาขับปัสสาวะแล้วพบว่ามีปัญหาปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ปรับเวลารับประทานยาให้เร็วขึ้น
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนส่งผลกระทบต่อวงจรการนอนหลับโดยตรง และหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะอดนอน (Sleep Deprivation) อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน และกระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมและรับการรักษาจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการนอนหลับและอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม คลิก!!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A
หากคุณต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน อาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีอาการของโรคปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Nocturia) ซึ่งเป็นอาการกวนใจที่ทำให้หลายคนตื่นขึ้นมากลางดึก และมักส่งผลให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในเช้าวันถัดไป จนอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้
โดยทั่วไป ร่างกายจะผลิตปัสสาวะออกมาน้อยลงในช่วงเวลากลางคืน จึงทำให้เรานอนหลับได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 - 8 ชั่วโมงโดยที่ไม่ต้องตื่นมาปัสสาวะกลางดึก อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบมากในชายสูงอายุ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมก่อนนอนและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ บทความนี้ได้รวบรวมสาเหตุและวิธีรับมือกับการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนให้ได้ผลมาฝากกัน
ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนเกิดจากอะไร?
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก, มดลูก เช่น การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ,เนื้องอกของต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ, โรคนิ่ว, การอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ
- โรคต่อมลูกหมากโต
- ปัญหาระบบประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ
- โรคเบาหวาน และโรคเบาจืด (Diabetes Insipidus)
- การดื่มน้ำมากเกินไป รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- การใช้ยาบางชนิด อย่างยาขับปัสสาวะ
- ปัญหาด้านการนอนหลับ
- โรคไต, โรคหัวใจ, โรคปอด, โรคตับและโรคทางสมอง
การรับมือกับอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนให้ได้ผล
การปรับพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ อาจช่วยลดปัญหาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้ ดังนี้
- จำกัดการดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนในช่วงเย็นหรือก่อนเข้านอนเป็นเวลา 2–4 ชั่วโมง
- จัดห้องนอนให้เอื้อต่อการนอนหลับ โดยห้องนอนไม่ควรมีเสียงรบกวน หรือมีแสงสว่างมากจนเกินไป ปรับอุณหภูมิในห้องนอนให้เหมาะสม และเลือกเครื่องนอน อย่างหมอนและที่นอนที่ทำให้นอนหลับสบาย
- เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน เนื่องจากแสงสีฟ้า (Blue light) จากอุปกรณ์เหล่านี้อาจกระตุ้นให้สมองตื่นตัว และลดการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ช่วยในการนอนหลับ
- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม อย่างการทำสมาธิ เล่นโยคะ ฟังเพลงเบาๆ หรือแช่น้ำอุ่น
- จดบันทึกการดื่มน้ำและการปัสสาวะในแต่ละวัน
- ผู้ที่มีอาการบวมน้ำ ควรยืดหรือเหยียดขาให้สูงกว่าระดับหัวใจในช่วงก่อนนอน หรือใช้หมอนหนุนบริเวณขาขณะนอนหลับ เพื่อลดการสะสมของของเหลวบริเวณขา
หากใช้วิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และรับการรักษาอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรเข้ารับการรักษา รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และไปพบแพทย์ตามการนัดหมาย หากรับประทานยาขับปัสสาวะแล้วพบว่ามีปัญหาปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ปรับเวลารับประทานยาให้เร็วขึ้น
อาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนส่งผลกระทบต่อวงจรการนอนหลับโดยตรง และหากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะอดนอน (Sleep Deprivation) อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน และกระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการปรับพฤติกรรมและรับการรักษาจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านการนอนหลับและอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม คลิก!!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A