การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก เทคนิคสุดแม่นยำในการตรวจการปัสสาวะผิดปกติ

     การควบคุมการขับปัสสาวะผิดปกติ เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก (Urodynamic Analysis) เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจปัสสาวะที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้

     การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ (Urodynamics) เป็นวิธีการตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อช่วยอธิบายถึงความผิดปกติที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์สามารถตรวจได้หลายวิธี สำหรับการตรวจหลักๆ จะประกอบไปด้วย

     1. การตรวจความแรงปัสสาวะ (Uroflowmetry) เป็นการวัดปริมาณ เวลาที่ใช้ และอัตราความแรงของปัสสาวะที่ถ่ายออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะขณะกำลังปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องปัสสาวะผ่านเครื่องมือที่ติดไว้ในโถปัสสาวะ ซึ่งมาพร้อมกับเครื่องบันทึกข้อมูลและประมวลผลเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป

     2. การตรวจวัดปริมาณน้ำปัสสาวะเหลือค้างหลังปัสสาวะ (Post-void residual urine)

     3. การตรวจวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในขณะกักเก็บน้ำปัสสาวะ (Fitting cystometry)

     4. การตรวจวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในขณะขับถ่ายน้ำปัสสาวะร่วมกับการตรวจความแรงปัสสาวะ (Pressure flow studies)

     5. การตรวจวิดีโอปัสสาวะพลศาสตร์ (Videourodynamics) คือการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ร่วมกับการเอกซเรย์ดูกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานและลักษณะทางกายภาพของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น 

     ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธี

อาการผิดปกติที่ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

     1. ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ และไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนตรวจ

     2. ควรขับถ่ายอุจจาระก่อนทำการตรวจ เพื่อไม่ให้มีอุจจาระค้างในทวารหนัก ซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจได้

ข้อบ่งชี้

     1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษามาระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น และ/หรืออาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นกว่าการรักษาเดิม

     2. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ข้อจำกัด

     1. การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ เป็นการตรวจเพื่อจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงการทำงานของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากที่สุด แต่เนื่องจากเทคนิคการตรวจที่จำเป็นต้องใส่สายในท่อปัสสาวะและทวารหนักหรือช่องคลอด เพื่อวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในช่องท้อง และทำการตรวจในห้องตรวจที่มีสภาพแวดล้อมต่างจากห้องน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น ผลการตรวจที่ได้ในบางครั้งอาจไม่ถูกต้อง และไม่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาได้

     2. โรคหรือความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะบางชนิดไม่สามารถรับการตรวจได้ เนื่องจากการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์จะเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางกายภาพในระดับที่ไม่รุนแรง หรือไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ เพื่อให้ผลการตรวจมีความเที่ยงตรง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย

     3. ต้องอาศัยแพทย์ พยาบาลที่มีประสบการณ์ รวมถึงความเชี่ยวชาญในการทำการตรวจและแปลผลการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ เพื่อลดข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำการตรวจ ช่วยให้ผลการตรวจมีความถูกต้องแม่นยำ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
     การตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกเป็นโปรแกรมการรักษาที่มีความเสี่ยงและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยแต่อาจเกิดได้บ้าง เช่น

     1. มีการบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะจากการใส่สายสวน

     2. มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดหลังการตรวจ

     3. เกิดการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

     4. มีโอกาสแพ้สารทึบรังสี ในรายที่ได้รับการตรวจวิดีโอปัสสาวะพลศาสตร์ และมีประวัติการแพ้สารทึบรังสี

     ดังนั้น หากหลังการตรวจผู้ป่วยรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะมีกลิ่น ขุ่น หรือมีเลือดปน ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีปริมาณน้อย มีอาการปวดบริเวณข้างลำตัวและหลัง หรือมีไข้ ควรกลับมาพบแพทย์ทันที

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ
     ภายหลังการตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่อาจรู้สึกไม่สบายตัวขณะปัสสาวะ ควรดื่มน้ำให้มากเพื่อลดการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A

     การควบคุมการขับปัสสาวะผิดปกติ เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก (Urodynamic Analysis) เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจปัสสาวะที่ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้

     การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ (Urodynamics) เป็นวิธีการตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อช่วยอธิบายถึงความผิดปกติที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์สามารถตรวจได้หลายวิธี สำหรับการตรวจหลักๆ จะประกอบไปด้วย

     1. การตรวจความแรงปัสสาวะ (Uroflowmetry) เป็นการวัดปริมาณ เวลาที่ใช้ และอัตราความแรงของปัสสาวะที่ถ่ายออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะขณะกำลังปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องปัสสาวะผ่านเครื่องมือที่ติดไว้ในโถปัสสาวะ ซึ่งมาพร้อมกับเครื่องบันทึกข้อมูลและประมวลผลเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป

     2. การตรวจวัดปริมาณน้ำปัสสาวะเหลือค้างหลังปัสสาวะ (Post-void residual urine)

     3. การตรวจวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในขณะกักเก็บน้ำปัสสาวะ (Fitting cystometry)

     4. การตรวจวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในขณะขับถ่ายน้ำปัสสาวะร่วมกับการตรวจความแรงปัสสาวะ (Pressure flow studies)

     5. การตรวจวิดีโอปัสสาวะพลศาสตร์ (Videourodynamics) คือการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ ร่วมกับการเอกซเรย์ดูกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ เพื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานและลักษณะทางกายภาพของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการวินิจฉัยมากขึ้น 

     ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธี

อาการผิดปกติที่ควรเข้ารับการตรวจปัสสาวะ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ

     1. ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ และไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนตรวจ

     2. ควรขับถ่ายอุจจาระก่อนทำการตรวจ เพื่อไม่ให้มีอุจจาระค้างในทวารหนัก ซึ่งจะส่งผลต่อการตรวจได้

ข้อบ่งชี้

     1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษามาระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าอาการยังไม่ดีขึ้น และ/หรืออาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาที่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นกว่าการรักษาเดิม

     2. ผู้ป่วยที่มีโรคหรือความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ข้อจำกัด

     1. การตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ เป็นการตรวจเพื่อจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงการทำงานของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยมากที่สุด แต่เนื่องจากเทคนิคการตรวจที่จำเป็นต้องใส่สายในท่อปัสสาวะและทวารหนักหรือช่องคลอด เพื่อวัดความดันภายในกระเพาะปัสสาวะ ในช่องท้อง และทำการตรวจในห้องตรวจที่มีสภาพแวดล้อมต่างจากห้องน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ดังนั้น ผลการตรวจที่ได้ในบางครั้งอาจไม่ถูกต้อง และไม่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาได้

     2. โรคหรือความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะบางชนิดไม่สามารถรับการตรวจได้ เนื่องจากการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์จะเหมาะสมในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางกายภาพในระดับที่ไม่รุนแรง หรือไม่มีความผิดปกติทางกายภาพ เพื่อให้ผลการตรวจมีความเที่ยงตรง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย

     3. ต้องอาศัยแพทย์ พยาบาลที่มีประสบการณ์ รวมถึงความเชี่ยวชาญในการทำการตรวจและแปลผลการตรวจปัสสาวะพลศาสตร์ เพื่อลดข้อผิดพลาดและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะทำการตรวจ ช่วยให้ผลการตรวจมีความถูกต้องแม่นยำ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
     การตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกเป็นโปรแกรมการรักษาที่มีความเสี่ยงและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยแต่อาจเกิดได้บ้าง เช่น

     1. มีการบาดเจ็บที่ท่อปัสสาวะจากการใส่สายสวน

     2. มีอาการปัสสาวะเป็นเลือดหลังการตรวจ

     3. เกิดการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

     4. มีโอกาสแพ้สารทึบรังสี ในรายที่ได้รับการตรวจวิดีโอปัสสาวะพลศาสตร์ และมีประวัติการแพ้สารทึบรังสี

     ดังนั้น หากหลังการตรวจผู้ป่วยรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะมีกลิ่น ขุ่น หรือมีเลือดปน ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีปริมาณน้อย มีอาการปวดบริเวณข้างลำตัวและหลัง หรือมีไข้ ควรกลับมาพบแพทย์ทันที

การปฏิบัติตัวหลังการตรวจ
     ภายหลังการตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่อาจรู้สึกไม่สบายตัวขณะปัสสาวะ ควรดื่มน้ำให้มากเพื่อลดการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ทางเดินปัสสาวะ ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง