การทำบอลลูน รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

     การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention: PCI) เป็นวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดเป็นแนวทางการรักษาวิธีหนึ่งที่ทันสมัย ได้ผลดี และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถนอนพักรักษาตัวเพียง 1 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป

ข้อบ่งชี้ในการทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. มีอาการแน่นหน้าอกบ่อยๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

     2. มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง

     3. มีการตีบหลายตำแหน่งในหลอดเลือดหัวใจ และตีบในส่วนต้นของหลอดเลือดหัวใจค่อนข้างยาว มีหินปูนเกาะเป็นบางส่วนหรือมีการอุดตันอย่างสมบูรณ์

     4. ผู้ป่วยที่หลังทำผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมีการตีบของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดดั้งเดิมและส่วนของหลอดเลือดที่ใช้ทำทางเบี่ยง

     5. การตีบซ้ำภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     6. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

     7. ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการผ่าตัดหรือไม่มีความเหมาะสมต่อการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แต่ได้ประโยชน์จากการขยายหลอดเลือดหัวใจมากกว่า

การเตรียมตัวก่อนทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

     2. ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel มาก่อน 5-7 วัน หรือหากไม่ได้รับประทานยามาผู้ป่วยจะได้รับในวันที่ทำหัตถการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

     3. หากมีประวัติแพ้ยา อาหารทะเล หรือเลือดออกง่ายและหยุดยาก ต้องแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบล่วงหน้า

     4. หากมีประวัติการตรวจอื่นๆ เช่น  ฟิล์มเอกซเรย์ปอดและหัวใจ ผลการตรวจเลือดที่ไม่เกิน 1 เดือน ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจสมรรถภาพของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST) หรือผลของการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ควรนำมาให้แพทย์ดูก่อน

     5. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อประเมินหน้าที่ของไต การตรวจเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี  ไวรัสเอดส์ เป็นต้น

     6. ควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวมาด้วย

     7. ควรมีญาติมาด้วยเพื่อช่วยในการตัดสินใจร่วมกับแพทย์และผู้ป่วย

     8. ผู้ป่วยต้องลงชื่อในใบยินยอมการรักษาก่อนการตรวจ

ขั้นตอนทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด             

     1. แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ จากนั้นจะฉีดยาชาเฉพาะที่และใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดงผ่านผิวหนัง

     2. สอดสายสวนชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ และฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบแคบที่จุดใด และมีระดับความรุนแรงแค่ไหน เพื่อพิจารณาให้การรักษาต่อไป

     3. ใช้สายสวนหัวใจชนิดพิเศษที่มีลูกโป่งหรือบอลลูนติดอยู่ที่ปลายสายสวน บอลลูนจะมีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย วางบอลลูนในตำแหน่งหลอดเลือดที่ตีบแล้วทำให้บอลลูนขยายออกไปกดเบียดคราบไขมันให้แบนราบติดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

     ปัจจุบันแพทย์มักจะใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูน ซึ่งให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจได้น้อยลง ภายหลังจากที่แพทย์ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีซ้ำเพื่อตรวจสอบดูตำแหน่งการใส่บอลลูน และใส่ขดลวดอีกครั้งเพื่อประเมินผลการขยายหลอดเลือดหัวใจ

ขดลวด (Stent)

     เป็นอุปกรณ์พิเศษที่มีลักษณะเป็นโครงตาข่าย ทำจากโลหะชนิดพิเศษที่นำมาใช้ร่วมในการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อให้การขยายหลอดเลือดหัวใจได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันมีวิวัฒนาการของขดลวด (Stent) ค้ำยัน ซึ่งเป็นขดลวดชนิดเคลือบยาที่ป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจได้ลดลงจากร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

     หากไม่มีความผิดปกติใดๆ แพทย์จะคาท่อนำ (Sheath) ที่สอดไว้บริเวณคาหนีบประมาณ 4 ชั่วโมงและย้ายผู้ป่วยมานอนพักเพื่อสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อครบกำหนดแพทย์จะถอดท่อนำออกแล้วทำการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว และวางหมอนทรายทับประมาณ 2 ชั่วโมง ห้ามผู้ป่วยงอข้อสะโพกในข้างที่ทำการสวนหลอดเลือดหัวใจประมาณ 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเลือดออก แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 2-4 สัปดาห์ ในกรณีที่ใส่สายสวนทางข้อมือ หลังแพทย์นำสายสวนออกแล้วจะใช้อุปกรณ์พิเศษ (TR Band) รัดข้อมือในการห้ามเลือด

การปฏิบัติตัวภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดขณะพักฟื้นที่โรงพยาบาล

     1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดประมาณ 1 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น

     2. ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนขนาดเล็ก (Sheath) บริเวณขาหนีบเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังทำการรักษา เมื่อครบกำหนดเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แพทย์จะนำสายสวนออก

     3. ผู้ป่วยต้องนอนราบและห้ามงอขาในข้างที่ทำการรักษาอย่างน้อย 6-10 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกจากตำแหน่งที่เจาะหลอดเลือดแดง

     4. ในกรณีที่รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ แพทย์จะถอดท่อนำออกแล้วกดห้ามเลือดทันที และกดหลอดเลือดแดงด้วยอุปกรณ์ TR band

     5. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ รู้สึกอุ่นๆ ชื้น ๆ มีเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ หรือแขนข้างที่ใส่สายสวน ควรแจ้งให้ แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที

     6. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทันทีหากไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกมา ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

     7. แพทย์จะเข้าตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยในวันรุ่งขึ้น และทำแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจ หากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ แพทย์จะอนุญาติให้กลับบ้านได้

     8. แพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษา และให้คำแนะนำต่างๆ ในการปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา

อาการแทรกซ้อนจากการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. ผนังหลอดเลือดหัวใจฉีกขาด

     2. ขดลวดอุดตันอาจเกิดขึ้นทันทีใน 24 ชั่วโมงแรก หรือหลังทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ 30 วัน ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการขาดยา

การปฏิบัติตัวภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

     1. ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการใส่ขดลวด (Stent) แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาต้านเกร็ดเลือด (Clopidogrel) อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันเกร็ดเลือดเกาะขดลวด หากผู้ป่วยได้รับการใส่ขดลวดชนิดเคลือบยา ผู้ป่วยต้องรับประทานทานยาต้านเกร็ดเลือดนานกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับชนิดของขดลวด หรือดุลยพินิจของแพทย์ หรือความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

     2. ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการนั่งงอข้อสะโพกประมาณ 1 สัปดาห์ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ

     3. แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายหลังทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 2-4 สัปดาห์ ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ และไม่สามารถทำการขยายหลอดเลือดหัวใจได้หมดในครั้งเดียว แพทย์จะนัดผู้ป่วยเข้าทำการรักษาในภายหลัง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการทั่วไปของผู้ป่วยในขณะนั้น

     4. ผู้ป่วยทุกรายควรพกยาอมใต้ลิ้นไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เมื่อเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกให้หยิบมาอมทันที สามารถอมได้ทุกๆ 5 นาที หากอมยา 2 เม็ดแล้วไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด

     5. ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ และมาตรวจตามเวลานัดอย่างสม่ำเสมอ

     6. ผู้ป่วยควรงดอาหารเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และลดภาวะเครียด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

     การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention: PCI) เป็นวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้ผลดีวิธีหนึ่ง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของประเทศไทย การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดเป็นแนวทางการรักษาวิธีหนึ่งที่ทันสมัย ได้ผลดี และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผู้ป่วยสามารถนอนพักรักษาตัวเพียง 1 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป

ข้อบ่งชี้ในการทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. มีอาการแน่นหน้าอกบ่อยๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

     2. มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจขั้นรุนแรง

     3. มีการตีบหลายตำแหน่งในหลอดเลือดหัวใจ และตีบในส่วนต้นของหลอดเลือดหัวใจค่อนข้างยาว มีหินปูนเกาะเป็นบางส่วนหรือมีการอุดตันอย่างสมบูรณ์

     4. ผู้ป่วยที่หลังทำผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจมีการตีบของหลอดเลือด ทั้งหลอดเลือดดั้งเดิมและส่วนของหลอดเลือดที่ใช้ทำทางเบี่ยง

     5. การตีบซ้ำภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     6. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

     7. ผู้ป่วยที่ปฏิเสธการผ่าตัดหรือไม่มีความเหมาะสมต่อการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ แต่ได้ประโยชน์จากการขยายหลอดเลือดหัวใจมากกว่า

การเตรียมตัวก่อนทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ

     2. ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel มาก่อน 5-7 วัน หรือหากไม่ได้รับประทานยามาผู้ป่วยจะได้รับในวันที่ทำหัตถการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

     3. หากมีประวัติแพ้ยา อาหารทะเล หรือเลือดออกง่ายและหยุดยาก ต้องแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบล่วงหน้า

     4. หากมีประวัติการตรวจอื่นๆ เช่น  ฟิล์มเอกซเรย์ปอดและหัวใจ ผลการตรวจเลือดที่ไม่เกิน 1 เดือน ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจสมรรถภาพของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST) หรือผลของการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ควรนำมาให้แพทย์ดูก่อน

     5. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อประเมินหน้าที่ของไต การตรวจเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี  ไวรัสเอดส์ เป็นต้น

     6. ควรนำยาที่รับประทานเป็นประจำติดตัวมาด้วย

     7. ควรมีญาติมาด้วยเพื่อช่วยในการตัดสินใจร่วมกับแพทย์และผู้ป่วย

     8. ผู้ป่วยต้องลงชื่อในใบยินยอมการรักษาก่อนการตรวจ

ขั้นตอนทำการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด             

     1. แพทย์ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ จากนั้นจะฉีดยาชาเฉพาะที่และใช้เข็มเจาะหลอดเลือดแดงผ่านผิวหนัง

     2. สอดสายสวนชนิดพิเศษเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ และฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบแคบที่จุดใด และมีระดับความรุนแรงแค่ไหน เพื่อพิจารณาให้การรักษาต่อไป

     3. ใช้สายสวนหัวใจชนิดพิเศษที่มีลูกโป่งหรือบอลลูนติดอยู่ที่ปลายสายสวน บอลลูนจะมีขนาดเล็กกว่าหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย วางบอลลูนในตำแหน่งหลอดเลือดที่ตีบแล้วทำให้บอลลูนขยายออกไปกดเบียดคราบไขมันให้แบนราบติดผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น

     ปัจจุบันแพทย์มักจะใส่ขดลวด (Stent) ค้ำยันเพื่อเสริมความแข็งแรงในการขยายหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ทำการขยายบอลลูน ซึ่งให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้เกิดการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจได้น้อยลง ภายหลังจากที่แพทย์ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะฉีดสารทึบรังสีซ้ำเพื่อตรวจสอบดูตำแหน่งการใส่บอลลูน และใส่ขดลวดอีกครั้งเพื่อประเมินผลการขยายหลอดเลือดหัวใจ

ขดลวด (Stent) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่มีลักษณะเป็นโครงตาข่าย ทำจากโลหะชนิดพิเศษที่นำมาใช้ร่วมในการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน เพื่อให้การขยายหลอดเลือดหัวใจได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันมีวิวัฒนาการของขดลวด (Stent) ค้ำยัน ซึ่งเป็นขดลวดชนิดเคลือบยาที่ป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือดหัวใจได้ลดลงจากร้อยละ 30 เหลือเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

     หากไม่มีความผิดปกติใดๆ แพทย์จะคาท่อนำ (Sheath) ที่สอดไว้บริเวณคาหนีบประมาณ 4 ชั่วโมงและย้ายผู้ป่วยมานอนพักเพื่อสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิด เมื่อครบกำหนดแพทย์จะถอดท่อนำออกแล้วทำการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียว และวางหมอนทรายทับประมาณ 2 ชั่วโมง ห้ามผู้ป่วยงอข้อสะโพกในข้างที่ทำการสวนหลอดเลือดหัวใจประมาณ 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเลือดออก แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 2-4 สัปดาห์ ในกรณีที่ใส่สายสวนทางข้อมือ หลังแพทย์นำสายสวนออกแล้วจะใช้อุปกรณ์พิเศษ (TR Band) รัดข้อมือในการห้ามเลือด

การปฏิบัติตัวภายหลังการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดขณะพักฟื้นที่โรงพยาบาล

     1. ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดประมาณ 1 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น

     2. ผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนขนาดเล็ก (Sheath) บริเวณขาหนีบเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังทำการรักษา เมื่อครบกำหนดเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แพทย์จะนำสายสวนออก

     3. ผู้ป่วยต้องนอนราบและห้ามงอขาในข้างที่ทำการรักษาอย่างน้อย 6-10 ชั่วโมง เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกจากตำแหน่งที่เจาะหลอดเลือดแดง

     4. ในกรณีที่รักษาผู้ป่วยหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ แพทย์จะถอดท่อนำออกแล้วกดห้ามเลือดทันที และกดหลอดเลือดแดงด้วยอุปกรณ์ TR band

     5. หากผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้ รู้สึกอุ่นๆ ชื้น ๆ มีเลือดออก หรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ หรือแขนข้างที่ใส่สายสวน ควรแจ้งให้ แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที

     6. ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทันทีหากไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกมา ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

     7. แพทย์จะเข้าตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยในวันรุ่งขึ้น และทำแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจ หากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ แพทย์จะอนุญาติให้กลับบ้านได้

     8. แพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษา และให้คำแนะนำต่างๆ ในการปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา

อาการแทรกซ้อนจากการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด

     1. ผนังหลอดเลือดหัวใจฉีกขาด

     2. ขดลวดอุดตันอาจเกิดขึ้นทันทีใน 24 ชั่วโมงแรก หรือหลังทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ 30 วัน ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากการขาดยา

การปฏิบัติตัวภายหลังขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

     1. ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการใส่ขดลวด (Stent) แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาต้านเกร็ดเลือด (Clopidogrel) อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันเกร็ดเลือดเกาะขดลวด หากผู้ป่วยได้รับการใส่ขดลวดชนิดเคลือบยา ผู้ป่วยต้องรับประทานทานยาต้านเกร็ดเลือดนานกว่าปกติ ขึ้นอยู่กับชนิดของขดลวด หรือดุลยพินิจของแพทย์ หรือความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

     2. ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่หลีกเลี่ยงการนั่งงอข้อสะโพกประมาณ 1 สัปดาห์ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ

     3. แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อติดตามผลการรักษาภายหลังทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 2-4 สัปดาห์ ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ และไม่สามารถทำการขยายหลอดเลือดหัวใจได้หมดในครั้งเดียว แพทย์จะนัดผู้ป่วยเข้าทำการรักษาในภายหลัง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และอาการทั่วไปของผู้ป่วยในขณะนั้น

     4. ผู้ป่วยทุกรายควรพกยาอมใต้ลิ้นไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เมื่อเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกให้หยิบมาอมทันที สามารถอมได้ทุกๆ 5 นาที หากอมยา 2 เม็ดแล้วไม่ดีขึ้นควรรีบไปโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุด

     5. ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ และมาตรวจตามเวลานัดอย่างสม่ำเสมอ

     6. ผู้ป่วยควรงดอาหารเค็ม อาหารที่มีไขมันสูง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และลดภาวะเครียด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง