กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual syndrome (PMS) คืออะไร?
ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการทางกายและอารมณ์ก่อนมีประจำเดือน 1 - 2 สัปดาห์ ซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual syndrome (PMS) โดยประมาณ 2 ใน 3 ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะมีอาการเจ็บเต้านมในระหว่างรอบเดือน และส่วนใหญ่มีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 หรือ 2 อาการ อาการเหล่านี้มักจะบรรเทาลงเมื่อประจำเดือนมา ซึ่งอาการอาจรุนแรงขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเมื่อใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน บางครั้งอาการอาจรุนแรงมากขึ้น เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD) ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงประมาณ 3 - 8%
อาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
ผู้หญิงทุกคนมีประสบการณ์กับ PMS ที่แตกต่างกัน และอาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละรอบเดือน
อาการทางกาย ได้แก่
- อาการเจ็บหรือบวมของเต้านม
- ท้องอืด
- สิว
- ท้องผูก และ/หรือ ท้องเสีย
- ตัวบวมน้ำ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
และอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
- ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
- นอนหลับไม่สนิทและอ่อนเพลีย
- อยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ปวดศีรษะ และ/หรือ ไมเกรน
- ร้อนวูบวาบและเหงื่อออก
อาการทางอารมณ์ ได้แก่
- หงุดหงิด
- วิตกกังวล
- อารมณ์เศร้า
- มีปัญหาด้านสมาธิและความจำ
สาเหตุของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) คืออะไร?
ยังไม่ทราบชัดเจนว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงมี PMS แต่ PMS อาจเกี่ยวข้องกับสารเคมีบางชนิดในสมองสัมพันธ์กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อ PMS เช่น
- สุขภาพจิต
- ระดับความเครียด
- สุขภาพทางกาย
- น้ำหนัก
- โรคประจำตัว
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัย PMS จากอาการและประวัติ โดยดูจากอาการในช่วงรอบเดือนอย่างน้อยสองรอบเดือน
คำแนะนำเมื่อเกิดภาวะ PMS
การปรับวิถีชีวิตประจำวัน สามารถช่วยลดอาการ PMS ได้ เช่น
- ออกกำลังกายอย่างพอประมาณ 30 นาทีในแต่ละวันจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกมีความสุข (Endorphins)
- รับประทานอาหารสุขภาพ เช่น โปรตีนที่ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ และธัญพืช
- ดื่มน้ำมาก ๆ ลดการบริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
- ลดความเครียด ใช้เวลาในการทำสิ่งที่ชอบหรือถนัด
- ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะ และการทำสมาธิ
- นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ
การรักษาด้วยยาและฮอร์โมน
- ยาฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด
- ยาต้านซึมเศร้า
อาหารเสริมหรือวิตามิน
- วิตามิน B6
- แมกนีเซียม
- แคลเซียม
- น้ำมันดอกคำฝอย หรือ evening primrose oil
เมื่อไหร่ที่ควรมาพบแพทย์
- เมื่ออาการ PMS รบกวนชีวิตประจำวัน
- เมื่ออาการ PMS ยังคงอยู่แม้จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว
ข้อมูลจาก พญ. เพ็ญพรรณ ศิริสุทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E
ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการทางกายและอารมณ์ก่อนมีประจำเดือน 1 - 2 สัปดาห์ ซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual syndrome (PMS) โดยประมาณ 2 ใน 3 ของผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะมีอาการเจ็บเต้านมในระหว่างรอบเดือน และส่วนใหญ่มีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 หรือ 2 อาการ อาการเหล่านี้มักจะบรรเทาลงเมื่อประจำเดือนมา ซึ่งอาการอาจรุนแรงขึ้นในช่วงวัยรุ่นและเมื่อใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน บางครั้งอาการอาจรุนแรงมากขึ้น เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Dysphoric Disorder (PMDD) ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงประมาณ 3 - 8%
อาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS)
ผู้หญิงทุกคนมีประสบการณ์กับ PMS ที่แตกต่างกัน และอาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละรอบเดือน
อาการทางกาย ได้แก่
- อาการเจ็บหรือบวมของเต้านม
- ท้องอืด
- สิว
- ท้องผูก และ/หรือ ท้องเสีย
- ตัวบวมน้ำ
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
และอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
- ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ
- นอนหลับไม่สนิทและอ่อนเพลีย
- อยากอาหารเพิ่มขึ้น
- ปวดศีรษะ และ/หรือ ไมเกรน
- ร้อนวูบวาบและเหงื่อออก
อาการทางอารมณ์ ได้แก่
- หงุดหงิด
- วิตกกังวล
- อารมณ์เศร้า
- มีปัญหาด้านสมาธิและความจำ
สาเหตุของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) คืออะไร?
ยังไม่ทราบชัดเจนว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงมี PMS แต่ PMS อาจเกี่ยวข้องกับสารเคมีบางชนิดในสมองสัมพันธ์กับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อ PMS เช่น
- สุขภาพจิต
- ระดับความเครียด
- สุขภาพทางกาย
- น้ำหนัก
- โรคประจำตัว
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัย PMS จากอาการและประวัติ โดยดูจากอาการในช่วงรอบเดือนอย่างน้อยสองรอบเดือน
คำแนะนำเมื่อเกิดภาวะ PMS
การปรับวิถีชีวิตประจำวัน สามารถช่วยลดอาการ PMS ได้ เช่น
- ออกกำลังกายอย่างพอประมาณ 30 นาทีในแต่ละวันจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกมีความสุข (Endorphins)
- รับประทานอาหารสุขภาพ เช่น โปรตีนที่ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ และธัญพืช
- ดื่มน้ำมาก ๆ ลดการบริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะ 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
- ลดความเครียด ใช้เวลาในการทำสิ่งที่ชอบหรือถนัด
- ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น โยคะ และการทำสมาธิ
- นอนหลับและพักผ่อนให้เพียงพอ
การรักษาด้วยยาและฮอร์โมน
- ยาฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด
- ยาต้านซึมเศร้า
อาหารเสริมหรือวิตามิน
- วิตามิน B6
- แมกนีเซียม
- แคลเซียม
- น้ำมันดอกคำฝอย หรือ evening primrose oil
เมื่อไหร่ที่ควรมาพบแพทย์
- เมื่ออาการ PMS รบกวนชีวิตประจำวัน
- เมื่ออาการ PMS ยังคงอยู่แม้จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว
ข้อมูลจาก พญ. เพ็ญพรรณ ศิริสุทธิ์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E