กระดูกสันหลังคด รู้เร็ว แก้ไขได้

   โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) ซึ่งมักจะพบในช่วงอายุระหว่าง 10 - 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น

อาการของโรคกระดูกสันหลังคด

  • ระดับของแนวหัวไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบัก โก่งนูนมากขึ้น
  • ร่องเอวสองข้างไม่เท่ากัน เหมือนเอวเบี้ยว
  • ระดับสะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
  • ก้มแล้วแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง

โรคนี้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคด สามารถแบ่งได้เป็น

1. โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเรียกว่า Idiopathic scoliosis ซึ่งจะแบ่งการดูแลรักษาตามอายุของผู้ป่วย

  • ​​​​​​โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่เกิดอาการของโรคกระดูกสันหลังคดก่อนอายุ 3 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่เกิดอาการช่วงอายุระหว่าง 4 – 10 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่มีการเจริญเติบโตเร็วเข้าสู่วัยรุ่นหรือมีอายุระหว่าง 10 – 18 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบโรคกระดูกสันหลังคดได้บ่อยมากที่สุด

2. โรคกระดูกสันหลังคดแบบทราบสาเหตุ ในกลุ่มนี้จะมีโรคของกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง รวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลายระบบมาเข้ามาเกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่างโรคที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด

  • โรคกระดูกสันหลังคดแบบทราบสาเหตุ ในกลุ่มนี้จะมีโรคของกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง รวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลายระบบมาเข้ามาเกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่างโรคที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด
  • โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) เกิดจากความผิกปกติในการสร้างของกระดูก ทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) พบในเด็กที่มีความผิดปกติของไขสันหลัง สมอง ทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อลำตัวได้ ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative lumbar scoliosis) พบในผู้ใหญ่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากการใช้งานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • โรคกระดูกสันหลังคดในผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคมาร์ฟาน (Marfan syndrome) โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)

โรคนี้มีสัญญาณเตือนไหม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น

          ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายตนเองที่กระดูกสันหลัง ผู้ที่สังเกตุพบมักจะเป็นคนใกล้ชิด ในช่วงเวลาเวลาก้มเก็บของ เนื่องจากกระดูกสันหลังคดจะเห็นได้ชัดเจนเวลาก้ม สะบักสองข้างจะไม่เท่ากัน หรือเห็นความโก่งนูนกระดูกสันหลัง และกระดูกสะบัก ดังนั้น หากพบว่ารูปร่างผิดปกติดังนี้ ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์

  • กระดูกไหปลาร้าต่างระดับกัน
  • ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
  • ร่องเอวสองข้างไม่เท่ากัน
  • กระดูกเชิงกรานสูงต่ำไม่เท่ากัน
  • ขายาวไม่เท่ากัน

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นกระดูกสันหลังคด

          โรคกระดูกสันหลังคดพบในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงที่กำลังจะเข้าวัยรุ่นซึ่งจะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงที่สุด หลังเด็กเจริญเติบโตเต็มที่ความเสี่ยงในโรคนี้จะลดลงมาก ผู้ป่วยที่มีฝาแฝด หรือคนในครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคกระดูกสันหลังคดถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน

วิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

          การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ มุมคดของกระดูกสันหลัง อายุที่เป็น และการดำเนินโรคว่าความคดของกระดูกสันหลังเพิ่มรวดเร็วแค่ไหน

การรักษาผู้ป่วยแพทย์ผู้ดูแลจะให้ข้อมูลในการตัดสินใจ

  • การรักษาโดยการติดตามอาการผู้ป่วย จะใช้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดไม่มาก แพทย์จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว การออกกำลังกาย และนัดติดตามภาพเอกซ์เรย์
  • การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง เหมาะสมกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังยังคงมีการเจริญเติบโต การใส่เสื้อเกราะดัดหลังจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น โดยผู้ป่วยควรใส่ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาออกกำลัง หรืออาบน้ำ เสื้อเกราะดัดหลังมักใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีมุมคดกระดูกสันหลังอยู่ระหว่าง 25 – 45 องศา
  • การผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดเมื่อการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค หรือผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีกระดูกสันหลังคดอย่างรุนแรงตั้งแต่แรก

โรคนี้อันตรายแค่ไหน?

          ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคด ไม่ได้เป็นภาวะที่อันตราย มีเพียงรูปร่างที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสมรรถภาพร่างกายเป็นปกติ แต่เนื่องจากรูปร่างที่เปลี่ยนไป ทำให้ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ป่วย หรือมีความกังวลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ

          เฉพาะกรณีที่มีกระดูกสันหลังคดที่เป็นรุนแรง มุมโค้งมากๆ หรือมีโรคทางพันธุกรรมร่วมด้วยจึงจะมีภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายส่วนอื่นๆ เช่น ปอดและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่

          ส่วนปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลังพบได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อเป็นผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ถึงจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังจากโรคกระดูกสันหลังคดได้

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A

   โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ แนวกระดูกสันหลังที่ผิดรูปมีการคดโค้งออกไปด้านข้าง โดยทั่วไปประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วย เป็นกระดูกสันหลังคดชนิดที่ไม่พบสาเหตุ (idiopathic scoliosis) ซึ่งมักจะพบในช่วงอายุระหว่าง 10 - 15 ปี สาเหตุอื่นๆที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ได้แก่ การสร้างและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด กล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติ หรือเกิดร่วมกับโรคพันธุกรรมอื่นๆ เป็นต้น

อาการของโรคกระดูกสันหลังคด

  • ระดับของแนวหัวไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบัก โก่งนูนมากขึ้น
  • ร่องเอวสองข้างไม่เท่ากัน เหมือนเอวเบี้ยว
  • ระดับสะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
  • ก้มแล้วแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง

โรคนี้แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?

สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคด สามารถแบ่งได้เป็น

1. โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือเรียกว่า Idiopathic scoliosis ซึ่งจะแบ่งการดูแลรักษาตามอายุของผู้ป่วย

  • ​​​​​​โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่เกิดอาการของโรคกระดูกสันหลังคดก่อนอายุ 3 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่เกิดอาการช่วงอายุระหว่าง 4 – 10 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis) เป็นในเด็กที่มีการเจริญเติบโตเร็วเข้าสู่วัยรุ่นหรือมีอายุระหว่าง 10 – 18 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบโรคกระดูกสันหลังคดได้บ่อยมากที่สุด

2. โรคกระดูกสันหลังคดแบบทราบสาเหตุ ในกลุ่มนี้จะมีโรคของกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง รวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลายระบบมาเข้ามาเกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่างโรคที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด

  • โรคกระดูกสันหลังคดแบบทราบสาเหตุ ในกลุ่มนี้จะมีโรคของกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลัง รวมถึงโรคทางพันธุกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลายระบบมาเข้ามาเกี่ยวข้อง ขอยกตัวอย่างโรคที่ทำให้มีกระดูกสันหลังคด
  • โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) เกิดจากความผิกปกติในการสร้างของกระดูก ทำให้กระดูกสันหลังผิดรูป
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) พบในเด็กที่มีความผิดปกติของไขสันหลัง สมอง ทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาสมดุลของกล้ามเนื้อลำตัวได้ ทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative lumbar scoliosis) พบในผู้ใหญ่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังจากการใช้งานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • โรคกระดูกสันหลังคดในผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคมาร์ฟาน (Marfan syndrome) โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)

โรคนี้มีสัญญาณเตือนไหม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น

          ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายตนเองที่กระดูกสันหลัง ผู้ที่สังเกตุพบมักจะเป็นคนใกล้ชิด ในช่วงเวลาเวลาก้มเก็บของ เนื่องจากกระดูกสันหลังคดจะเห็นได้ชัดเจนเวลาก้ม สะบักสองข้างจะไม่เท่ากัน หรือเห็นความโก่งนูนกระดูกสันหลัง และกระดูกสะบัก ดังนั้น หากพบว่ารูปร่างผิดปกติดังนี้ ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์

  • กระดูกไหปลาร้าต่างระดับกัน
  • ระดับหัวไหล่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
  • ร่องเอวสองข้างไม่เท่ากัน
  • กระดูกเชิงกรานสูงต่ำไม่เท่ากัน
  • ขายาวไม่เท่ากัน

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นกระดูกสันหลังคด

          โรคกระดูกสันหลังคดพบในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงที่กำลังจะเข้าวัยรุ่นซึ่งจะมีการเจริญเติบโตเร็วมาก มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูงที่สุด หลังเด็กเจริญเติบโตเต็มที่ความเสี่ยงในโรคนี้จะลดลงมาก ผู้ป่วยที่มีฝาแฝด หรือคนในครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคกระดูกสันหลังคดถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน

วิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด

          การรักษาโรคกระดูกสันหลังคด ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ มุมคดของกระดูกสันหลัง อายุที่เป็น และการดำเนินโรคว่าความคดของกระดูกสันหลังเพิ่มรวดเร็วแค่ไหน

การรักษาผู้ป่วยแพทย์ผู้ดูแลจะให้ข้อมูลในการตัดสินใจ

  • การรักษาโดยการติดตามอาการผู้ป่วย จะใช้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดไม่มาก แพทย์จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว การออกกำลังกาย และนัดติดตามภาพเอกซ์เรย์
  • การใส่เสื้อเกราะดัดหลัง เหมาะสมกับผู้ป่วยที่กระดูกสันหลังยังคงมีการเจริญเติบโต การใส่เสื้อเกราะดัดหลังจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้น โดยผู้ป่วยควรใส่ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาออกกำลัง หรืออาบน้ำ เสื้อเกราะดัดหลังมักใช้กับผู้ป่วยเด็กที่มีมุมคดกระดูกสันหลังอยู่ระหว่าง 25 – 45 องศา
  • การผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังคด แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดเมื่อการรักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ช่วยชะลอความรุนแรงของโรค หรือผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อมีกระดูกสันหลังคดอย่างรุนแรงตั้งแต่แรก

โรคนี้อันตรายแค่ไหน?

          ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคด ไม่ได้เป็นภาวะที่อันตราย มีเพียงรูปร่างที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสมรรถภาพร่างกายเป็นปกติ แต่เนื่องจากรูปร่างที่เปลี่ยนไป ทำให้ส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ป่วย หรือมีความกังวลต่อการทำกิจกรรมต่างๆ

          เฉพาะกรณีที่มีกระดูกสันหลังคดที่เป็นรุนแรง มุมโค้งมากๆ หรือมีโรคทางพันธุกรรมร่วมด้วยจึงจะมีภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายส่วนอื่นๆ เช่น ปอดและหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่

          ส่วนปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลังพบได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อเป็นผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคน ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ถึงจะมีอาการปวดหลังเรื้อรังจากโรคกระดูกสันหลังคดได้

ข้อมูลจาก : ผศ.นพ.มนต์ชัย เรืองชัยนิคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 2 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง