โรคลิ้นหัวใจ ทำไมถึงสำคัญ?

โรคลิ้นหัวใจ เป็นปัญหาที่สำคัญของโลกและประเทศไทย สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง อุบัติการณ์ของโรคลิ้นหัวใจเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกเนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจที่พบบ่อย คือโรคหัวใจรูห์มาติก (rheumatic heart disease) และโรคจากความเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจวางตัวอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง และระหว่างหัวใจห้องล่างกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ทั้งด้านซ้ายและขวา มีหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านตามระบบไหลเวียนเลือดและป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสวนทาง

อาการโรคลิ้นหัวใจ

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจมักมาพบแพทย์ด้วยอาการเหนื่อยหอบขณะออกแรง นอนราบไม่ได้หรือเหนื่อยเฉียบพลันขณะหลับ เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืดเป็นลม ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีอาการบวมจากภาวะของหัวใจห้องขวาล้มเหลว

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติ และยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)

การตรวจสืบค้นเพิ่มเติม

เพื่อประกอบการวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 leads การถ่ายภาพรังสีทรวงอก และการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

การรักษาหลักในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ คือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ให้ตรวจติดตามอาการและตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นระยะ

ในปัจจุบันการรักษาโรคลิ้นหัวใจสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และการการรักษาผ่านสายสวน ซึ่งมีหลักการพิจารณาตามลักษณะของผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการรักษาแต่ละวิธี

การรักษาด้วยยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาภาวะน้ำเกิน และให้ยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบที่มีอาการขณะหัวใจเต้นเร็ว การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin) ในผู้ป่วยลิ้นหัวใจไมตรัลตีบที่มีข้อบ่งชี้ การให้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วรุนแรงปฐมภูมิระยะเรื้อรัง ที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลงและผู้ป่วยมีข้อห้ามในการผ่าตัด

บทสรุป

โรคลิ้นหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุทั้งจากโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นในภายหลัง การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคลิ้นหัวใจมีความสำคัญ โดยจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากอาการ อาการแสดงร่วมกับการสืบค้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดควรได้รับการตรวจติดตามอาการ รวมถึงตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นระยะ ตามความรุนแรงของโรค การรักษาของโรคลิ้นหัวใจรุนแรง คือการผ่าตัดลิ้นหัวใจ การรักษาผ่านสายสวน รวมถึงการใช้ยาในผู้ป่วยบางกรณี

เอกสารอ้างอิง

  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์. การประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว. ใน: อาศิส อุนนะนันทน์ พรพรหม เมืองแมน ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน ธีรดา พลอยเพชร ประสงค์ ตันมหาสมุทร วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ และคณะ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทันยุค 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2566. หน้า 381-400.
  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์. การประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ. ใน: อาศิส อุนนะนันทน์ พรพรหม เมืองแมน ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน ธีรดา พลอยเพชร ประสงค์ ตันมหาสมุทร วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ และคณะ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทันยุค 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2566. หน้า 401-416.
  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์, นิธิมา รัตนสิทธิ์. การดูแลผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก. ใน: ชยวี เมืองจันทร์, ทวีศักดิ์ วรรณชาลี, พจมาน พิศาลประภา, ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร, สิรินาถ สิรินทร์วราวงศ์, สุพจน์ นิ่มอนงค์, และคณะ, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ทันยุค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์; 2565. หน้า 189-214.

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหัวใจ ใครเสี่ยง?

โรคหัวใจ ใครเสี่ยง?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C

 

โรคลิ้นหัวใจ เป็นปัญหาที่สำคัญของโลกและประเทศไทย สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด หรือเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง อุบัติการณ์ของโรคลิ้นหัวใจเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกเนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจที่พบบ่อย คือโรคหัวใจรูห์มาติก (rheumatic heart disease) และโรคจากความเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจวางตัวอยู่ระหว่างหัวใจห้องบนกับหัวใจห้องล่าง และระหว่างหัวใจห้องล่างกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ทั้งด้านซ้ายและขวา มีหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านตามระบบไหลเวียนเลือดและป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสวนทาง

อาการโรคลิ้นหัวใจ

ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจมักมาพบแพทย์ด้วยอาการเหนื่อยหอบขณะออกแรง นอนราบไม่ได้หรือเหนื่อยเฉียบพลันขณะหลับ เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืดเป็นลม ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีอาการบวมจากภาวะของหัวใจห้องขวาล้มเหลว

ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติแต่แพทย์ตรวจพบเสียงหัวใจผิดปกติ และยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography)

การตรวจสืบค้นเพิ่มเติม

เพื่อประกอบการวินิจฉัย ได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 leads การถ่ายภาพรังสีทรวงอก และการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การรักษาโรคลิ้นหัวใจ

การรักษาหลักในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ คือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ผู้ป่วยที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ให้ตรวจติดตามอาการและตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นระยะ

ในปัจจุบันการรักษาโรคลิ้นหัวใจสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และการการรักษาผ่านสายสวน ซึ่งมีหลักการพิจารณาตามลักษณะของผู้ป่วยที่เหมาะสมกับการรักษาแต่ละวิธี

การรักษาด้วยยาขับปัสสาวะเพื่อรักษาภาวะน้ำเกิน และให้ยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบที่มีอาการขณะหัวใจเต้นเร็ว การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin) ในผู้ป่วยลิ้นหัวใจไมตรัลตีบที่มีข้อบ่งชี้ การให้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วรุนแรงปฐมภูมิระยะเรื้อรัง ที่มีการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลงและผู้ป่วยมีข้อห้ามในการผ่าตัด

บทสรุป

โรคลิ้นหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีสาเหตุทั้งจากโรคหัวใจแต่กำเนิดหรือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นในภายหลัง การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคลิ้นหัวใจมีความสำคัญ โดยจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากอาการ อาการแสดงร่วมกับการสืบค้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดควรได้รับการตรวจติดตามอาการ รวมถึงตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นระยะ ตามความรุนแรงของโรค การรักษาของโรคลิ้นหัวใจรุนแรง คือการผ่าตัดลิ้นหัวใจ การรักษาผ่านสายสวน รวมถึงการใช้ยาในผู้ป่วยบางกรณี

เอกสารอ้างอิง

  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์. การประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว. ใน: อาศิส อุนนะนันทน์ พรพรหม เมืองแมน ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน ธีรดา พลอยเพชร ประสงค์ ตันมหาสมุทร วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ และคณะ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทันยุค 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2566. หน้า 381-400.
  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์. การประเมินและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ. ใน: อาศิส อุนนะนันทน์ พรพรหม เมืองแมน ดาราวรรณ วนะชิวนาวิน ธีรดา พลอยเพชร ประสงค์ ตันมหาสมุทร วัชรศักดิ์ โชติยะปุตตะ และคณะ, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทันยุค 2566. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2566. หน้า 401-416.
  • ยอดยิ่ง เกาลวณิชย์, นิธิมา รัตนสิทธิ์. การดูแลผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก. ใน: ชยวี เมืองจันทร์, ทวีศักดิ์ วรรณชาลี, พจมาน พิศาลประภา, ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร, สิรินาถ สิรินทร์วราวงศ์, สุพจน์ นิ่มอนงค์, และคณะ, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ทันยุค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญวานิสย์; 2565. หน้า 189-214.

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหัวใจ ใครเสี่ยง?

โรคหัวใจ ใครเสี่ยง?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจ ชั้น 4 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง