10 พฤติกรรมการใช้ยาแบบผิดๆ

   ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการดำรงชีวิต แต่การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่การเกิดโทษได้ ตัวอย่างปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาที่พบได้บ่อย คือ การแพ้ยา การใช้ยาเสื่อมคุณภาพ การได้รับยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม และการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องกับโรค โดย “10 พฤติกรรมการใช้ยาอย่างไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยในคนไทย” ได้แก่

1. การปรับขนาดยาด้วยตนเอง

   จากความเชื่อที่ว่าการรับประทานยามากเกินไปทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เมื่อโรคของผู้ป่วยไม่แสดงอาการหรืออาการมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมื่อสามารถควบคุมความดันโลหิต หรือไม่มีอาการแสดงของโรค ผู้ป่วยจึงหยุดรับประทานยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงเป้าหมายได้ หรือในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เมื่ออาการดีขึ้นหลังจากใช้ยาไประยะหนึ่งจึงหยุดยา เป็นผลให้เชื้อโรคในร่างกายไม่สามารถถูกกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ และนำมาซึ่งปัญหาการดื้อยาได้

2. การนำยาของผู้อื่นมาใช้ 

   จากความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงกันจำเป็นต้องได้รับยาชนิดและขนาดเดียวกัน ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งปันยาสู่ผู้อื่นซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยานัั้น เช่น การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา การแพ้ยา เป็นต้น

3. ผู้ป่วยไม่พร้อมรับฟังคำอธิบายจากเภสัชกร 

   พฤติกรรมนี้พบได้บ่อยกับผู้ป่วยที่มารับยาในสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยมักจะมีความเร่งรีบในการเดินทางกลับ โดยปราศจากความสนใจในการอธิบายวิธีการใช้ยาจากเภสัชกร เนื่องจากผู้ป่วยมีความคิดว่าสามารถเข้าใจวิธีใช้ตามฉลากยาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีความสงสัยในการใช้ยาดังกล่าวก็อาจทำให้ใช้ยาผิดวิธีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแพทย์มีการปรับเปลี่ยนชนิดหรือวิธีการใช้ยาก็อาจทำให้ผู้ป่วยยังรับประทานยาในรูปแบบเดิม ซึ่งส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาของยานั้น นอกจากนี้เภสัชกรอาจมีการบอกกล่าวเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์สำหรับการใช้ยานั้นเพื่อทำให้ผู้ป่วยคอยติดตามและสังเกตอาการดังกล่าว หากผู้ป่วยไม่มีความสนใจในการรับฟังข้อมูลจากเภสัชกรอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง

4. การจัดเก็บยาในสภาวะที่ไม่เหมาะสม

   เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากสถานพยาบาลแล้วนำมาจัดเก็บในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น การจัดเก็บยาในรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้กลางแสงแดดซึ่งมีอุณหภูมิที่มากกว่าปกติ การวางยาในบริเวณที่มีแสงแดดจ้า การจัดเก็บยาในตู้เย็นช่องแช่แข็ง เป็นต้น การกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความเสื่อมสลายของยาและทำให้ยานั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคของผู้ป่วย

5. การไม่ตรวจสอบวันหมดอายุของยา

   เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากสถานพยาบาลควรตรวจสอบวันหมดอายุการใช้งานของยานั้น ซึ่งมักอยู่บริเวณแผงยา ขวดยา หรือหลอดบรรจุยานั้น โดยยาที่ผู้ป่วยได้รับควรมีวันหมดอายุอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีหลังจากได้รับยา เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการใช้ยานั้นจะยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคของผู้ป่วย

 

 

 

6. การลืมรับประทานยา 

   การรับประทานยาให้ตรงเวลาตามฉลากยาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรคติดต่อกันทุกวัน ทำให้อาจเกิดการลืมรับประทานยาได้บ่อยมากขึ้น เช่น ยามื้อกลางวัน ยามื้อก่อนอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเพื่อทำให้การควบคุมโรคของผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

7. การใช้ยาไม่ถูกต้อง 

   ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาเทคนิคพิเศษ เช่น ยาสูดพ่นทางปาก ยาฉีดอินซูลิน ยาแผ่นแปะ เป็นต้น ซึ่งควรมีความเข้าใจในวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องเพื่อทำให้ได้รับยาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

8. การไม่นำยาที่ใช้อย่างเป็นประจำมา เพื่อตรวจสอบในระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล

   ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาโรคประจำตัวติดต่อกันทุกวัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จำเป็นต้องนำยาดังกล่าวมาระหว่างรักษาตัวในสถานพยาบาล เพื่อให้เภสัชกรตรวจสอบ และแพทย์สั่งใช้ยาเพื่อรักษาโรคของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล

9. ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากหลายสถานพยาบาล 

   ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลายแห่งมักได้รับยาร่วมกันหลายชนิด จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อน การได้รับยาที่มีอันตรกิริยากัน (อันตรกิริยา คือ ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา หรือปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร) การได้รับยาที่เสริมฤทธิ์หรือทำให้ฤทธิ์ของยาอื่นลดลง เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ป่วยไปรับบริการในสถานพยาบาล ควรนำยาประจำทั้งหมดติดตัวไปด้วยทุกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลแก่แพทย์และเภสัชกรใช้ประเมินความเหมาะสมของยาที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน และหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อนหรือการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาเดิมกับยาใหม่ที่จะจ่ายให้แก่ผู้ป่วย

10. ความเชื่อของผู้ป่วยที่ว่า “การใช้ยามีประสิทธิภาพมากกว่าการป้องกันการเกิดโรค”

   ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความคิดว่าการได้รับยาจากสถานพยาบาลเพื่อการรักษาตนเองมีประสิทธิภาพมากกว่าการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรค ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคในอนาคตมักมีประโยชน์มากกว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้หากผู้ป่วยต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วยเพื่อทำให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     พฤติกรรมการใช้ยาอย่างไม่ปลอดภัยดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจในวิธีการใช้และการเก็บรักษายา หากมีข้อสงสัย หรือปัญหาจากการใช้ยาควรได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรเพื่อลดปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา โดยเฉพาะยาเทคนิคพิเศษและยารักษาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาหลายชนิด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2 

   ยารักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการดำรงชีวิต แต่การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่การเกิดโทษได้ ตัวอย่างปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยาที่พบได้บ่อย คือ การแพ้ยา การใช้ยาเสื่อมคุณภาพ การได้รับยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม และการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องกับโรค โดย “10 พฤติกรรมการใช้ยาอย่างไม่ปลอดภัยที่พบบ่อยในคนไทย” ได้แก่

1. การปรับขนาดยาด้วยตนเอง

   จากความเชื่อที่ว่าการรับประทานยามากเกินไปทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เมื่อโรคของผู้ป่วยไม่แสดงอาการหรืออาการมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เช่น ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมื่อสามารถควบคุมความดันโลหิต หรือไม่มีอาการแสดงของโรค ผู้ป่วยจึงหยุดรับประทานยาด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงเป้าหมายได้ หรือในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ เมื่ออาการดีขึ้นหลังจากใช้ยาไประยะหนึ่งจึงหยุดยา เป็นผลให้เชื้อโรคในร่างกายไม่สามารถถูกกำจัดได้อย่างสมบูรณ์ และนำมาซึ่งปัญหาการดื้อยาได้

2. การนำยาของผู้อื่นมาใช้ 

   จากความเชื่อที่ว่า ผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียงกันจำเป็นต้องได้รับยาชนิดและขนาดเดียวกัน ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งปันยาสู่ผู้อื่นซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ยานัั้น เช่น การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา การแพ้ยา เป็นต้น

3. ผู้ป่วยไม่พร้อมรับฟังคำอธิบายจากเภสัชกร 

   พฤติกรรมนี้พบได้บ่อยกับผู้ป่วยที่มารับยาในสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยมักจะมีความเร่งรีบในการเดินทางกลับ โดยปราศจากความสนใจในการอธิบายวิธีการใช้ยาจากเภสัชกร เนื่องจากผู้ป่วยมีความคิดว่าสามารถเข้าใจวิธีใช้ตามฉลากยาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีความสงสัยในการใช้ยาดังกล่าวก็อาจทำให้ใช้ยาผิดวิธีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากแพทย์มีการปรับเปลี่ยนชนิดหรือวิธีการใช้ยาก็อาจทำให้ผู้ป่วยยังรับประทานยาในรูปแบบเดิม ซึ่งส่งผลต่อความไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาของยานั้น นอกจากนี้เภสัชกรอาจมีการบอกกล่าวเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์สำหรับการใช้ยานั้นเพื่อทำให้ผู้ป่วยคอยติดตามและสังเกตอาการดังกล่าว หากผู้ป่วยไม่มีความสนใจในการรับฟังข้อมูลจากเภสัชกรอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลหรือไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง

4. การจัดเก็บยาในสภาวะที่ไม่เหมาะสม

   เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากสถานพยาบาลแล้วนำมาจัดเก็บในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น การจัดเก็บยาในรถยนต์ที่จอดทิ้งไว้กลางแสงแดดซึ่งมีอุณหภูมิที่มากกว่าปกติ การวางยาในบริเวณที่มีแสงแดดจ้า การจัดเก็บยาในตู้เย็นช่องแช่แข็ง เป็นต้น การกระทำดังกล่าวอาจนำมาซึ่งความเสื่อมสลายของยาและทำให้ยานั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคของผู้ป่วย

5. การไม่ตรวจสอบวันหมดอายุของยา

   เมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากสถานพยาบาลควรตรวจสอบวันหมดอายุการใช้งานของยานั้น ซึ่งมักอยู่บริเวณแผงยา ขวดยา หรือหลอดบรรจุยานั้น โดยยาที่ผู้ป่วยได้รับควรมีวันหมดอายุอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีหลังจากได้รับยา เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการใช้ยานั้นจะยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคของผู้ป่วย

 

 

 

6. การลืมรับประทานยา 

   การรับประทานยาให้ตรงเวลาตามฉลากยาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาโรคติดต่อกันทุกวัน ทำให้อาจเกิดการลืมรับประทานยาได้บ่อยมากขึ้น เช่น ยามื้อกลางวัน ยามื้อก่อนอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเพื่อทำให้การควบคุมโรคของผู้ป่วยเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

7. การใช้ยาไม่ถูกต้อง 

   ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยาเทคนิคพิเศษ เช่น ยาสูดพ่นทางปาก ยาฉีดอินซูลิน ยาแผ่นแปะ เป็นต้น ซึ่งควรมีความเข้าใจในวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้องเพื่อทำให้ได้รับยาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

8. การไม่นำยาที่ใช้อย่างเป็นประจำมา เพื่อตรวจสอบในระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล

   ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาโรคประจำตัวติดต่อกันทุกวัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จำเป็นต้องนำยาดังกล่าวมาระหว่างรักษาตัวในสถานพยาบาล เพื่อให้เภสัชกรตรวจสอบ และแพทย์สั่งใช้ยาเพื่อรักษาโรคของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาล

9. ผู้ป่วยได้รับการรักษาจากหลายสถานพยาบาล 

   ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลายแห่งมักได้รับยาร่วมกันหลายชนิด จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาการได้รับยาซ้ำซ้อน การได้รับยาที่มีอันตรกิริยากัน (อันตรกิริยา คือ ปฏิกิริยาระหว่างยากับยา หรือปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร) การได้รับยาที่เสริมฤทธิ์หรือทำให้ฤทธิ์ของยาอื่นลดลง เป็นต้น ดังนั้นหากผู้ป่วยไปรับบริการในสถานพยาบาล ควรนำยาประจำทั้งหมดติดตัวไปด้วยทุกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลแก่แพทย์และเภสัชกรใช้ประเมินความเหมาะสมของยาที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน และหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อนหรือการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาเดิมกับยาใหม่ที่จะจ่ายให้แก่ผู้ป่วย

10. ความเชื่อของผู้ป่วยที่ว่า “การใช้ยามีประสิทธิภาพมากกว่าการป้องกันการเกิดโรค”

   ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความคิดว่าการได้รับยาจากสถานพยาบาลเพื่อการรักษาตนเองมีประสิทธิภาพมากกว่าการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดโรค ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หากผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคในอนาคตมักมีประโยชน์มากกว่าการใช้ยาเพื่อรักษาโรค นอกจากนี้หากผู้ป่วยต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วยเพื่อทำให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     พฤติกรรมการใช้ยาอย่างไม่ปลอดภัยดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจในวิธีการใช้และการเก็บรักษายา หากมีข้อสงสัย หรือปัญหาจากการใช้ยาควรได้รับคำปรึกษาจากเภสัชกรเพื่อลดปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้ยา โดยเฉพาะยาเทคนิคพิเศษและยารักษาโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาหลายชนิด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายเภสัชกรรม โทร 1474 กด 2 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง