ภาวะตาแห้ง (Dry eye)

ภาวะตาแห้ง (Dry eye) เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำตาหล่อเลี้ยงผิวตาไม่เพียงพอ สาเหตุหลักมาจากการสร้างน้ำตาน้อยลงหรือน้ำตาระเหยมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการอักเสบของผิวตา ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการตาแห้งหากปล่อยให้เป็นบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส ผิวกระจกตาอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อ และอาจจะร้ายแรงจนสูญเสียการมองเห็นได้

สาเหตุของอาการตาแห้ง

  • ผู้ป่วยมีโรคบางอย่าง เช่น Sjogren's Syndrome หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง โดยผู้ป่วยมีภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อของตาเอง และเกิดการอักเสบเรื้อรังของต่อมน้ำตา
  • ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุมากขึ้นเซลล์เยื่อบุตาจะสร้างน้ำตาลดลง
  • ยาหยอดตาบางชนิด และการใช้ยาบางอย่าง ซึ่งการรับประทานยาที่มีผลข้างเคียงทำให้การสร้างน้ำตาลดลง เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด
  • ความผิดปกติของเปลือกตา หรือเส้นประสาทเปลือกตาทำให้หลับตาไม่สนิท มีการกระพริบตาที่ผิดปกติ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคระบบเส้นประสาทและสมอง 
  • ใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพท์มือถือ    
  • ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่มีคุณภาพ
  • ภูมิแพ้ที่ตา หรือเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง
  • มีประวัติเคยเลเซอร์ที่กระจกตาเพื่อแก้ไขค่าสายตา (LASIK) หรือผ่าตัดที่ตา
  • ดื่มน้ำน้อย  
  • อยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อน ลมแรง หรืออยู่ในห้องปรับอากาศที่มีความชื้นต่ำ

อาการตาแห้ง

  • ระคายเคืองตา เหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา
  • แสบตา
  • ตาพร่ามัว
  • น้ำตาไหล
  • มีขี้ตาเป็นเมือกเหนียว  
  • อาจรู้สึกปวดกระบอกตา และปวดศีรษะได้ 

การดูแลและป้องกันตาแห้ง

  • หากจำเป็นต้องใช้สายตานาน ๆ ควรพักสายตาทุก 20 นาที ด้วยการหลับตาหรือมองระยะไกลที่ 20 ฟุตเป็นเวลา 20 วินาที เรียกว่ากฎ 20-20-20 Rule
  • กะพริบตาบ่อย ๆ ให้มีน้ำตาเคลือบตาตลอดเวลา
  • หากรู้สึกระคายเคืองตา ควรหยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา
  • ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ที่รับประทานยาแก้แพ้เป็นประจำ อาจจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมช่วย
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารทะเลที่มีกรดไขมันที่จำเป็น หรือโอเมก้า-3
  • ประคบตาด้วยน้ำอุ่น นวดและฟอกทำความสะอาดเปลือกตา เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่บริเวณขอบเปลือกตา ช่วยลดการเกิดต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง และตาแห้ง

หมายเหตุ กรณีที่ยังมีอาการตาแห้งบ่อย ๆ หากไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดหรืออาการไม่บรรเทาลง แนะนำให้รีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A

ภาวะตาแห้ง (Dry eye) เป็นภาวะที่มีปริมาณน้ำตาหล่อเลี้ยงผิวตาไม่เพียงพอ สาเหตุหลักมาจากการสร้างน้ำตาน้อยลงหรือน้ำตาระเหยมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการอักเสบของผิวตา ซึ่งสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อาการตาแห้งหากปล่อยให้เป็นบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตา กระจกตาไม่เรียบใส ผิวกระจกตาอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การติดเชื้อ และอาจจะร้ายแรงจนสูญเสียการมองเห็นได้

สาเหตุของอาการตาแห้ง

  • ผู้ป่วยมีโรคบางอย่าง เช่น Sjogren's Syndrome หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง โดยผู้ป่วยมีภูมิต่อต้านเนื้อเยื่อของตาเอง และเกิดการอักเสบเรื้อรังของต่อมน้ำตา
  • ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากอายุมากขึ้นเซลล์เยื่อบุตาจะสร้างน้ำตาลดลง
  • ยาหยอดตาบางชนิด และการใช้ยาบางอย่าง ซึ่งการรับประทานยาที่มีผลข้างเคียงทำให้การสร้างน้ำตาลดลง เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด
  • ความผิดปกติของเปลือกตา หรือเส้นประสาทเปลือกตาทำให้หลับตาไม่สนิท มีการกระพริบตาที่ผิดปกติ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคระบบเส้นประสาทและสมอง 
  • ใช้สายตาเป็นเวลานาน ๆ เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้โทรศัพท์มือถือ    
  • ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน หรือใช้คอนแทคเลนส์ที่ไม่มีคุณภาพ
  • ภูมิแพ้ที่ตา หรือเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง
  • มีประวัติเคยเลเซอร์ที่กระจกตาเพื่อแก้ไขค่าสายตา (LASIK) หรือผ่าตัดที่ตา
  • ดื่มน้ำน้อย  
  • อยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อน ลมแรง หรืออยู่ในห้องปรับอากาศที่มีความชื้นต่ำ

อาการตาแห้ง

  • ระคายเคืองตา เหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา
  • แสบตา
  • ตาพร่ามัว
  • น้ำตาไหล
  • มีขี้ตาเป็นเมือกเหนียว  
  • อาจรู้สึกปวดกระบอกตา และปวดศีรษะได้ 

การดูแลและป้องกันตาแห้ง

  • หากจำเป็นต้องใช้สายตานาน ๆ ควรพักสายตาทุก 20 นาที ด้วยการหลับตาหรือมองระยะไกลที่ 20 ฟุตเป็นเวลา 20 วินาที เรียกว่ากฎ 20-20-20 Rule
  • กะพริบตาบ่อย ๆ ให้มีน้ำตาเคลือบตาตลอดเวลา
  • หากรู้สึกระคายเคืองตา ควรหยอดน้ำตาเทียมเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา
  • ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ที่รับประทานยาแก้แพ้เป็นประจำ อาจจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมช่วย
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ควรสวมแว่นกันแดดหรือกันลม หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัดแรง
  • รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารทะเลที่มีกรดไขมันที่จำเป็น หรือโอเมก้า-3
  • ประคบตาด้วยน้ำอุ่น นวดและฟอกทำความสะอาดเปลือกตา เพื่อกำจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่บริเวณขอบเปลือกตา ช่วยลดการเกิดต่อมไขมันเปลือกตาอุดตัน ซึ่งเป็นเหตุทำให้เปลือกตาอักเสบเรื้อรัง และตาแห้ง

หมายเหตุ กรณีที่ยังมีอาการตาแห้งบ่อย ๆ หากไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดหรืออาการไม่บรรเทาลง แนะนำให้รีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง