ภาวะสายตาผิดปกติ
โดยปกติการมองเห็นเกิดจากการที่แสงตกกระทบที่ผิวกระจกตา แล้วเกิดการหักเหโฟกัสไปที่จอประสาทตาพอดี ภาพที่มองเห็นจึงมีความชัดเจน ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล แต่หากความโค้งของกระจกตา หรือความยาวของลูกตา มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ภาพที่เห็นไม่ชัดเจน เรียกว่า ภาวะสายตาผิดปกติ
ภาวะสายตาผิดปกติมี 4 ประเภท
1.สายตาสั้น (Myopia)
เกิดจากการรวมแสงตกลงหน้าจอประสาทตา มักเกิดจากลูกตายาวเกินไป หรือเกิดจากกระจกตามีความโค้งมากเกินไป ผู้ที่มีสายตาสั้นจึงมองเห็นได้ในระยะใกล้ แต่จะมองไม่ชัดในระยะไกล
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น เช่น พันธุกรรมจากพ่อแม่ หรือมีพฤติกรรมการใช้สายตาในระยะใกล้มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ
2. สายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia)
เกิดจากการรวมแสงของตาที่ทำให้จุดโฟกัสของแสงตกลงด้านหลังจอประสาทตา มักเกิดจากลูกตาสั้นเกินไปหรือกระจกตามีความโค้งน้อยเกินไป ผู้ที่มีสายตายาวจึงมองไม่ชัดทั้งในระยะใกล้หรือไกล ภาวะสายตายาวโดยกำเนิดนี้ไม่ใช่ชนิดเดียวกับสายตายาวในผู้สูงอายุ
3.สายตาเอียง (Astigmatism)
เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้แสงโฟกัสที่จอประสาทตาไม่เป็นจุดเดียว จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน อาจเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวก็ได้
ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่มักเกิดมาพร้อมกับสายตาเอียงเล็กน้อยอยู่แล้ว และอาจเกิดร่วมกับภาวะสายตาสั้นและสายตายาว สำหรับผู้ที่มีสายตาเอียงมากจะมีอาการ เช่น มองเห็นภาพซ้อนหรือบิดเบี้ยว ปวดศีรษะ ปวดตา ตาล้า เห็นภาพเป็นแสงกระจาย และต้องพยายามหรี่ตาอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับโฟกัสให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
4.สายตายาวในผู้สูงอายุ (Presbyopia)
เป็นภาวะจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อในตาที่ใช้ในการปรับระยะมองใกล้-ไกล และเกิดจากการเริ่มแข็งตัวของเลนส์แก้วตาที่มีความยืดหยุ่นลดน้อยลง ทำให้มองใกล้ไม่ชัด ซึ่งภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุนี้จะเริ่มมีอาการในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป
การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ
1.การแก้ไขโดยไม่ใช้การผ่าตัด
- แว่นตา (Spectacles) เลนส์ของแว่นตาจะช่วยในการรวมแสงให้ตกลงบนจอรับภาพพอดี ซึ่งมีความปลอดภัย ง่ายต่อการดูแลรักษา แต่มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่สะดวกในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ การประกอบอาชีพบางสายงาน เช่น นักกีฬา ทหาร นักบิน เป็นต้น
- คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติ และไม่สะดวกที่จะใส่แวนตา หรือนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ช่วยให้มองภาพในมุมกว้างได้ดี และเหมาะสมในผู้ที่สายตาทั้งสองข้างมีความแตกต่างกันมาก แต่จะมีข้อควรระวังในเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระจกตาติดเชื้อ ซึ่งอาจรุนแรงจนสูญเสียตาได้ และผู้ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้คอนแทคเลนส์ เช่น มีภาวะตาแห้ง ภูมิแพ้คราบโปรตีนที่สะสมในเลนส์ และในน้ำยาล้างเลนส์ นอกจากนั้น ไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์ ในขณะที่ทำกิจกรรมบางประเภท เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ และไม่ควรใส่ขณะนอน การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการตรวจและแนะนำจากจักษุแพทย์
2.การแก้ไขผ่าตัดด้วยเลเซอร์
- การผ่าตัดด้วยวิธี PRK (photorefractive keratectomy) วิธีการโดยเริ่มจากลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออกแล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่าง เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาและเป็นการแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติ จากนั้นปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตา เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อผิวกระจกตาสมานกันได้ดี
- การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (LASIK) เป็นการผ่าตัดสายตาด้วยการเปิดฝากระจกตาคล้ายบานพับ ด้วยใบมีด หรือ femtosecond laser แล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาจากนั้นจะปิดฝากระจกตากลับที่เดิม
- การผ่าตัดด้วยวิธี ReLEx Pro เป็นการรักษาภาวะสายตาสั้น และ สายตาเอียงโดยการปรับความโค้งของกระจกตาด้วยเลเซอร์โดยใช้ Femtosecond Laser แยกชิ้นเนื้อเยื่อกระจกตาให้เป็นลักษณะรูปทรงเลนส์(lenticule) ซึ่งอยู่ภายในกระจกตาจากนั้นจะดึงแผ่น lenticule ออกมาผ่านรอยตัดที่มีขนาดเล็ก 2 – 4 มิลลิเมตร
3.การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (Phakic IOL) เป็นการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม เข้าไปในลูกตาโดยเลนส์เทียมนี้จะวางอยู่หน้าต่อเลนส์แก้วตาธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตามากๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีเลเซอร์
ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A
โดยปกติการมองเห็นเกิดจากการที่แสงตกกระทบที่ผิวกระจกตา แล้วเกิดการหักเหโฟกัสไปที่จอประสาทตาพอดี ภาพที่มองเห็นจึงมีความชัดเจน ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกล แต่หากความโค้งของกระจกตา หรือความยาวของลูกตา มากหรือน้อยเกินไป จะทำให้ภาพที่เห็นไม่ชัดเจน เรียกว่า ภาวะสายตาผิดปกติ
ภาวะสายตาผิดปกติมี 4 ประเภท
1.สายตาสั้น (Myopia)
เกิดจากการรวมแสงตกลงหน้าจอประสาทตา มักเกิดจากลูกตายาวเกินไป หรือเกิดจากกระจกตามีความโค้งมากเกินไป ผู้ที่มีสายตาสั้นจึงมองเห็นได้ในระยะใกล้ แต่จะมองไม่ชัดในระยะไกล
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น เช่น พันธุกรรมจากพ่อแม่ หรือมีพฤติกรรมการใช้สายตาในระยะใกล้มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ
2. สายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia)
เกิดจากการรวมแสงของตาที่ทำให้จุดโฟกัสของแสงตกลงด้านหลังจอประสาทตา มักเกิดจากลูกตาสั้นเกินไปหรือกระจกตามีความโค้งน้อยเกินไป ผู้ที่มีสายตายาวจึงมองไม่ชัดทั้งในระยะใกล้หรือไกล ภาวะสายตายาวโดยกำเนิดนี้ไม่ใช่ชนิดเดียวกับสายตายาวในผู้สูงอายุ
3.สายตาเอียง (Astigmatism)
เกิดจากความโค้งของกระจกตาในแต่ละแนวไม่เท่ากัน ทำให้แสงโฟกัสที่จอประสาทตาไม่เป็นจุดเดียว จึงมองเห็นเป็นภาพซ้อน อาจเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาวก็ได้
ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่มักเกิดมาพร้อมกับสายตาเอียงเล็กน้อยอยู่แล้ว และอาจเกิดร่วมกับภาวะสายตาสั้นและสายตายาว สำหรับผู้ที่มีสายตาเอียงมากจะมีอาการ เช่น มองเห็นภาพซ้อนหรือบิดเบี้ยว ปวดศีรษะ ปวดตา ตาล้า เห็นภาพเป็นแสงกระจาย และต้องพยายามหรี่ตาอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับโฟกัสให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
4.สายตายาวในผู้สูงอายุ (Presbyopia)
เป็นภาวะจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อในตาที่ใช้ในการปรับระยะมองใกล้-ไกล และเกิดจากการเริ่มแข็งตัวของเลนส์แก้วตาที่มีความยืดหยุ่นลดน้อยลง ทำให้มองใกล้ไม่ชัด ซึ่งภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุนี้จะเริ่มมีอาการในผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป
การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ
1.การแก้ไขโดยไม่ใช้การผ่าตัด
- แว่นตา (Spectacles) เลนส์ของแว่นตาจะช่วยในการรวมแสงให้ตกลงบนจอรับภาพพอดี ซึ่งมีความปลอดภัย ง่ายต่อการดูแลรักษา แต่มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ไม่สะดวกในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ การประกอบอาชีพบางสายงาน เช่น นักกีฬา ทหาร นักบิน เป็นต้น
- คอนแทคเลนส์ (Contact Lens) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติ และไม่สะดวกที่จะใส่แวนตา หรือนักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ช่วยให้มองภาพในมุมกว้างได้ดี และเหมาะสมในผู้ที่สายตาทั้งสองข้างมีความแตกต่างกันมาก แต่จะมีข้อควรระวังในเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระจกตาติดเชื้อ ซึ่งอาจรุนแรงจนสูญเสียตาได้ และผู้ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้คอนแทคเลนส์ เช่น มีภาวะตาแห้ง ภูมิแพ้คราบโปรตีนที่สะสมในเลนส์ และในน้ำยาล้างเลนส์ นอกจากนั้น ไม่แนะนำให้ใส่คอนแทคเลนส์ ในขณะที่ทำกิจกรรมบางประเภท เช่น ว่ายน้ำ ดำน้ำ และไม่ควรใส่ขณะนอน การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการตรวจและแนะนำจากจักษุแพทย์
2.การแก้ไขผ่าตัดด้วยเลเซอร์
- การผ่าตัดด้วยวิธี PRK (photorefractive keratectomy) วิธีการโดยเริ่มจากลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออกแล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (excimer laser) ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาด้านล่าง เพื่อปรับความโค้งของกระจกตาและเป็นการแก้ไขค่าสายตาที่ผิดปกติ จากนั้นปิดกระจกตาด้วยคอนแทคเลนส์แบบไม่มีค่าสายตา เพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อผิวกระจกตาสมานกันได้ดี
- การผ่าตัดด้วยวิธีเลสิก (LASIK) เป็นการผ่าตัดสายตาด้วยการเปิดฝากระจกตาคล้ายบานพับ ด้วยใบมีด หรือ femtosecond laser แล้วจึงใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ยิงลงไปบนเนื้อกระจกตาเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาจากนั้นจะปิดฝากระจกตากลับที่เดิม
- การผ่าตัดด้วยวิธี ReLEx Pro เป็นการรักษาภาวะสายตาสั้น และ สายตาเอียงโดยการปรับความโค้งของกระจกตาด้วยเลเซอร์โดยใช้ Femtosecond Laser แยกชิ้นเนื้อเยื่อกระจกตาให้เป็นลักษณะรูปทรงเลนส์(lenticule) ซึ่งอยู่ภายในกระจกตาจากนั้นจะดึงแผ่น lenticule ออกมาผ่านรอยตัดที่มีขนาดเล็ก 2 – 4 มิลลิเมตร
3.การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม (Phakic IOL) เป็นการผ่าตัดใส่เลนส์แก้วตาเทียม เข้าไปในลูกตาโดยเลนส์เทียมนี้จะวางอยู่หน้าต่อเลนส์แก้วตาธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีค่าสายตามากๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีเลเซอร์
ข้อมูลจาก : พญ. บัณฑิตา เลิศสุวรรณโรจน์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์ตา ชั้น 4 โซน A