เชื้อราในช่องคลอด อย่าปล่อยไว้ให้กวนใจ

   เมื่อมีอาการคันหรือมีตกขาวปริมาณมาก ผู้หญิงทั่วไปมักจะนึกถึงการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นสาเหตุแรกๆ ทำให้ไปหาซื้อยามาใช้เอง ใช้ครบบ้างไม่ครบบ้างจนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังขึ้นมา  อันที่จริงแล้วอาการคันและตกขาวเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส  หรือแม้กระทั่งไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น ความเป็นกรดของตกขาวในช่องคลอด  สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างในช่องคลอด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะซื้อยามาใช้เอง ควรได้รับการประเมินจากสูติ-นรีแพทย์ก่อน โดยเฉพาะในการเป็นครั้งแรก

   ช่องทางของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นบริเวณที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีพของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ บางชนิด การพบเชื้อดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าคนนั้นเป็นโรค พบร้อยละ 41 ของเพศหญิงจะมีเชื้อราในช่องคลอดโดยไม่มีอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับอายุ ภูมิภาคที่อยู่อาศัย เชื้อราชนิดที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราส่วนใหญ่ คือ เชื้อ Candida albicans เพราะเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์เยื่อบุช่องคลอดได้ดี นอกจากนี้เชื้อตัวนี้ยังสามารถอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้โดยไม่ก่อโรคอีกด้วย โดยสามารถตรวจพบเชื้อรานี้ในอุจจาระของประชากรร้อยละ 65

เชื้อ Candida albicans เป็นเชื้อราที่มีสองรูปแบบคือ ยีสต์ และสายรายาว สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งบนพื้นผิวและในสารคัดหลั่งของร่างกาย โดยขณะที่เจริญเติบโตสามารถแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนรูปร่างเป็นเส้นใยที่ไม่มีผนังกั้นได้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเชื้อราในช่องคลอด

การอักเสบในช่องคลอดจากเชื้อราพบได้น้อยในเด็กหญิงก่อนวัยมีประจำเดือน และสตรีวัยหมดประจำเดือน ภาวะนี้พบได้มากในสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภูมิประเทศที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูง ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีการทำหน้าที่ของ T-cell เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ การรับประทานอาหารรสหวาน มากเกินไป

อาการและอาการแสดงของภาวะเชื้อราในช่องคลอด

อาการแสดงที่เด่นชัดที่สุด คือ อาการคัน ซึ่งมักจะคันค่อนข้างมาก อาการมักจะดีขึ้นเมื่อมีประจำเดือน เชื่อว่าเกิดจากความเป็นด่างของเลือดประจำเดือน  โดยอาการคันจะครอบคลุมบริเวณฝีเย็บด้วย หากคันเฉพาะบริเวณแคมใหญ่ควรคิดถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หากคันทั้งที่ในช่องคลอดและฝีเย็บอาจเกิดจากเชื้อ T.vaginalis, Human papilloma virus ซึ่งควรเข้ารับการตรวจแยกโรคที่ สถานพยาบาล  อาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์หรือแสบเมื่อปัสสาวะโดนบริเวณอักเสบก็สามารถพบได้บ่อย สำหรับอาการตกขาวจะไม่ชัดเจนในบางรายโดยหากมีตกขาวผู้ป่วยมักจะมีอาการคันนำมาก่อน 

การวินิจฉัยภาวะเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยจะทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของช่องคลอดอักเสบร่วมกับผลการตรวจข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ตรวจตกขาว
  2. เพาะเชื้อหรือการตรวจอื่นให้ผลบวก

โดยการตรวจเหล่านี้จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรที่มีความชำนาญ สำหรับการเป็นครั้งหลังๆ ผู้ป่วยอาจลองซื้อยามาใช้เองได้ แต่จะต้องใช้อย่างถูกวิธีและครบตามจำนวน 

การรักษาภาวะเชื้อราในช่องคลอด

  1. ยาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา หรือ ยาเหน็บ ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ยาทาเฉพาะที่อาจทำให้มีการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้แต่จะไม่ทำให้แพ้ทั้งร่างกาย 
  2. ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะได้ สำหรับยารับประทานกลุ่ม Azole พบมีรายงานทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้น ภาวะข้างเคียงจะพบมากขึ้นหากใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาบางชนิด

สามีต้องรักษาด้วยหรือไม่

ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงยังไม่มีข้อสรุปให้รักษาในทุกราย หากคู่นอนมีอาการก็ควรที่จะรักษาร่วมกันไปด้วย

กรณีที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

1. อาการไม่ดีขึ้น หรือกลับเป็นซ้ำในสองเดือนหลังการรักษา

2. การมีอาการอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี พบได้ในน้อยกว่าร้อยละ 5 ของสตรีทั่วไป 

3. อาการรุนแรง คือ อวัยวะเพศบวมแดงมาก มีผิวเป็นขุย จนถึงอาจมีรอยแตกของผิวหนัง กลุ่มนี้มักจะตอบสนองต่อยาระยะสั้นทั้งรูป รับประทานหรือทายาเฉพาะที่ระยะสั้นได้ไม่ดี

4. ตั้งครรภ์

5. ผู้ที่มีการทำหน้าที่ของ T-cell เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสภูมิต้านทานบกพร่อง

หากท่านมีภาวะใดภาวะหนึ่งข้างต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมารับการตรวจวินิจฉัย และดูแลจากแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

   เมื่อมีอาการคันหรือมีตกขาวปริมาณมาก ผู้หญิงทั่วไปมักจะนึกถึงการติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นสาเหตุแรกๆ ทำให้ไปหาซื้อยามาใช้เอง ใช้ครบบ้างไม่ครบบ้างจนเกิดเป็นปัญหาเรื้อรังขึ้นมา  อันที่จริงแล้วอาการคันและตกขาวเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากการติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส  หรือแม้กระทั่งไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อ เช่น ความเป็นกรดของตกขาวในช่องคลอด  สิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างในช่องคลอด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะซื้อยามาใช้เอง ควรได้รับการประเมินจากสูติ-นรีแพทย์ก่อน โดยเฉพาะในการเป็นครั้งแรก

   ช่องทางของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงเป็นบริเวณที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีพของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ บางชนิด การพบเชื้อดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าคนนั้นเป็นโรค พบร้อยละ 41 ของเพศหญิงจะมีเชื้อราในช่องคลอดโดยไม่มีอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับอายุ ภูมิภาคที่อยู่อาศัย เชื้อราชนิดที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราส่วนใหญ่ คือ เชื้อ Candida albicans เพราะเป็นเชื้อที่สามารถยึดติดกับเซลล์เยื่อบุช่องคลอดได้ดี นอกจากนี้เชื้อตัวนี้ยังสามารถอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้โดยไม่ก่อโรคอีกด้วย โดยสามารถตรวจพบเชื้อรานี้ในอุจจาระของประชากรร้อยละ 65

เชื้อ Candida albicans เป็นเชื้อราที่มีสองรูปแบบคือ ยีสต์ และสายรายาว สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งบนพื้นผิวและในสารคัดหลั่งของร่างกาย โดยขณะที่เจริญเติบโตสามารถแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อจะมีการเปลี่ยนรูปร่างเป็นเส้นใยที่ไม่มีผนังกั้นได้

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเชื้อราในช่องคลอด

การอักเสบในช่องคลอดจากเชื้อราพบได้น้อยในเด็กหญิงก่อนวัยมีประจำเดือน และสตรีวัยหมดประจำเดือน ภาวะนี้พบได้มากในสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภูมิประเทศที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูง ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังพบบ่อยในผู้ที่มีการทำหน้าที่ของ T-cell เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่พบได้บ่อย คือ การรับประทานอาหารรสหวาน มากเกินไป

อาการและอาการแสดงของภาวะเชื้อราในช่องคลอด

อาการแสดงที่เด่นชัดที่สุด คือ อาการคัน ซึ่งมักจะคันค่อนข้างมาก อาการมักจะดีขึ้นเมื่อมีประจำเดือน เชื่อว่าเกิดจากความเป็นด่างของเลือดประจำเดือน  โดยอาการคันจะครอบคลุมบริเวณฝีเย็บด้วย หากคันเฉพาะบริเวณแคมใหญ่ควรคิดถึงการติดเชื้อราที่ผิวหนัง หากคันทั้งที่ในช่องคลอดและฝีเย็บอาจเกิดจากเชื้อ T.vaginalis, Human papilloma virus ซึ่งควรเข้ารับการตรวจแยกโรคที่ สถานพยาบาล  อาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์หรือแสบเมื่อปัสสาวะโดนบริเวณอักเสบก็สามารถพบได้บ่อย สำหรับอาการตกขาวจะไม่ชัดเจนในบางรายโดยหากมีตกขาวผู้ป่วยมักจะมีอาการคันนำมาก่อน 

การวินิจฉัยภาวะเชื้อราในช่องคลอด

การวินิจฉัยจะทำเมื่อผู้ป่วยมีอาการและอาการแสดงของช่องคลอดอักเสบร่วมกับผลการตรวจข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ตรวจตกขาว
  2. เพาะเชื้อหรือการตรวจอื่นให้ผลบวก

โดยการตรวจเหล่านี้จำเป็นต้องทำโดยบุคลากรที่มีความชำนาญ สำหรับการเป็นครั้งหลังๆ ผู้ป่วยอาจลองซื้อยามาใช้เองได้ แต่จะต้องใช้อย่างถูกวิธีและครบตามจำนวน 

การรักษาภาวะเชื้อราในช่องคลอด

  1. ยาเฉพาะที่ ได้แก่ ยาทา หรือ ยาเหน็บ ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัย ยาทาเฉพาะที่อาจทำให้มีการระคายเคืองหรือแสบร้อนได้แต่จะไม่ทำให้แพ้ทั้งร่างกาย 
  2. ยารับประทาน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง หรือปวดศีรษะได้ สำหรับยารับประทานกลุ่ม Azole พบมีรายงานทำให้มีเอนไซม์ตับสูงขึ้น ภาวะข้างเคียงจะพบมากขึ้นหากใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาบางชนิด

สามีต้องรักษาด้วยหรือไม่

ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงยังไม่มีข้อสรุปให้รักษาในทุกราย หากคู่นอนมีอาการก็ควรที่จะรักษาร่วมกันไปด้วย

กรณีที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ

1. อาการไม่ดีขึ้น หรือกลับเป็นซ้ำในสองเดือนหลังการรักษา

2. การมีอาการอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี พบได้ในน้อยกว่าร้อยละ 5 ของสตรีทั่วไป 

3. อาการรุนแรง คือ อวัยวะเพศบวมแดงมาก มีผิวเป็นขุย จนถึงอาจมีรอยแตกของผิวหนัง กลุ่มนี้มักจะตอบสนองต่อยาระยะสั้นทั้งรูป รับประทานหรือทายาเฉพาะที่ระยะสั้นได้ไม่ดี

4. ตั้งครรภ์

5. ผู้ที่มีการทำหน้าที่ของ T-cell เสื่อมลง ได้แก่ โรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดี ผู้ที่ต้องรับยาสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสภูมิต้านทานบกพร่อง

หากท่านมีภาวะใดภาวะหนึ่งข้างต้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรมารับการตรวจวินิจฉัย และดูแลจากแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์นรีเวช ชั้น 2 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง