ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
ความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่จริงแล้วผิดหรือถูก?
โรคเบาหวาน คือ โรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้มีผลแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ ตา ไต สมอง และระบบประสาทส่วนปลาย โรคเบาหวานเกิดจากกรรมพันธุ์ พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น ทานอาหารที่มีแป้งและไขมันมาก หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก และไม่ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนยังมีความเข้าใจหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของการเกิดโรคเบาหวาน
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน
1. รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากจะทำให้เป็นเบาหวาน
- การรับประทานอาหารรสหวานจัดหรือมีน้ำตาลมาก ไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคเบาหวานเสมอไป หากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- โรคเบาหวานอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็อาจทำให้เกิดเบาหวานได้
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
2. น้ำตาลและแป้งเท่านั้นที่ทำให้เป็นเบาหวาน
- นอกจากแป้งและน้ำตาลจะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว สัตว์เนื้อแดงที่มีไขมันมาก และอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากกว่าปกติ ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ดีเท่าตอนที่ยังทำงานปกติ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน
3. หากคนในครอบครัวไม่เป็นโรคเบาหวาน เราก็จะไม่เป็นโรคเบาหวาน
- พันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน หากเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นประจำ พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียดสะสมมาก
4. ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นเบาหวาน
- โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น
- เบาหวานมี 2 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กหรือคนอายุน้อย
- เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่าคนอายุน้อยก็เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย
5. เบาหวานเป็นโรคสำหรับคนอ้วน
- เบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย มีภาวะเครียดบ่อยๆ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมก็มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน
6. น้ำตาลจากผลไม้ปลอดภัยทานได้
- นอกจากขนมหวานแล้ว ผลไม้ที่มีรสหวานก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรักโทส เมื่อรับประทานทานเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
- นอกจากจะควบคุมการรับประทานขนมหวานแล้ว ควรระวังเรื่องผลไม้ด้วย ผลไม้ที่มีรสหวาน ผลไม้อบแห้ง ผลไม้ตากแห้ง หรือผลไม้แปรรูปต่างๆ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก องุ่น ขนุน กล้วย ลำไย ผลไม้ที่รับประทานได้ เช่น แก้วมังกร ชมพู่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฝรั่ง สาลี่ เป็นต้น
7. ผู้ที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวหากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ผู้ที่เป็นเบาหวานบางรายอาจไม่แสดงอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หัวใจเต้นแรง อ่อนเพลีย ปากแห้ง ตัวเย็น เหงื่อออก เป็นต้น แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หรือตรวจเมื่อมีอาการ หรือสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
8. โรคเบาหวานไม่ใช่โรคน่ากลัว
- เบาหวานเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ เบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน เนื่องจากส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมีโอกาสเกิดหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงมาก
9. ห้ามรับประทานอาหารที่มีรสหวาน
- หากรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
10. ห้ามบริจาคเลือด
- ผู้เป็นโรคเบาหวานสามารถบริจาคเลือดได้ หากมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D
ความเชื่อเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่จริงแล้วผิดหรือถูก?
โรคเบาหวาน คือ โรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้มีผลแทรกซ้อนต่อหลอดเลือดหัวใจ ตา ไต สมอง และระบบประสาทส่วนปลาย โรคเบาหวานเกิดจากกรรมพันธุ์ พฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น ทานอาหารที่มีแป้งและไขมันมาก หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปริมาณมาก และไม่ออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม หลายๆ คนยังมีความเข้าใจหรือความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของการเกิดโรคเบาหวาน
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน
1. รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากจะทำให้เป็นเบาหวาน
- การรับประทานอาหารรสหวานจัดหรือมีน้ำตาลมาก ไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคเบาหวานเสมอไป หากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- โรคเบาหวานอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของตับอ่อน ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายก็อาจทำให้เกิดเบาหวานได้
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
2. น้ำตาลและแป้งเท่านั้นที่ทำให้เป็นเบาหวาน
- นอกจากแป้งและน้ำตาลจะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว สัตว์เนื้อแดงที่มีไขมันมาก และอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลดลง ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากกว่าปกติ ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ดีเท่าตอนที่ยังทำงานปกติ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน
3. หากคนในครอบครัวไม่เป็นโรคเบาหวาน เราก็จะไม่เป็นโรคเบาหวาน
- พันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน หากเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นประจำ พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียดสะสมมาก
4. ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นเบาหวาน
- โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น
- เบาหวานมี 2 ประเภท คือ เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กหรือคนอายุน้อย
- เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่าคนอายุน้อยก็เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย
5. เบาหวานเป็นโรคสำหรับคนอ้วน
- เบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย มีภาวะเครียดบ่อยๆ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมก็มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานได้เช่นกัน
6. น้ำตาลจากผลไม้ปลอดภัยทานได้
- นอกจากขนมหวานแล้ว ผลไม้ที่มีรสหวานก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรักโทส เมื่อรับประทานทานเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
- นอกจากจะควบคุมการรับประทานขนมหวานแล้ว ควรระวังเรื่องผลไม้ด้วย ผลไม้ที่มีรสหวาน ผลไม้อบแห้ง ผลไม้ตากแห้ง หรือผลไม้แปรรูปต่างๆ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก องุ่น ขนุน กล้วย ลำไย ผลไม้ที่รับประทานได้ เช่น แก้วมังกร ชมพู่ แอปเปิ้ล แคนตาลูป ฝรั่ง สาลี่ เป็นต้น
7. ผู้ที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวหากมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ผู้ที่เป็นเบาหวานบางรายอาจไม่แสดงอาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หัวใจเต้นแรง อ่อนเพลีย ปากแห้ง ตัวเย็น เหงื่อออก เป็นต้น แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หรือตรวจเมื่อมีอาการ หรือสงสัยว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
8. โรคเบาหวานไม่ใช่โรคน่ากลัว
- เบาหวานเมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ เบาหวานเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยปีละประมาณ 20,000 คน เนื่องจากส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และมีโอกาสเกิดหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงมาก
9. ห้ามรับประทานอาหารที่มีรสหวาน
- หากรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย การรับประทานผลไม้ หรือขนมหวานก็ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
10. ห้ามบริจาคเลือด
- ผู้เป็นโรคเบาหวานสามารถบริจาคเลือดได้ หากมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ ชั้น 4 โซน D