รู้ได้อย่างไร ว่า...แพ้ยา?
การแพ้ยา มีอาการอย่างไร
มีอาการแสดงได้หลากหลายระบบ ซึ่งอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการทางผิวหนัง โดยการแพ้ยาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามความรุนแรง ได้แก่
1. การแพ้ยาแบบไม่รุนแรง เช่น ผื่นแดงจางๆ คันผิว เป็นต้น
2. การแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง (Severe cutaneous drug reaction) การแพ้ยาแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 วัน ถึง 2 เดือนหลังได้รับยา เช่น มีผื่นตุ่มน้ำพอง (Steven Johnson Syndrome, Toxic epidermal necrolysis), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) และ acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP) ซึ่งอาจนำมาสู่ความสูญเสียทั้งร่างกายและจิตใจ หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง ประกอบด้วย
1. มีไข้สูง
2. เจ็บ แสบบริเวณผิวหนัง หรือเริ่มมีผิวหนังบวม
3. มีผื่นสีเข้ม หรือผื่นที่เป็นตุ่มน้ำพองขึ้นตามลำตัว
4. เจ็บบริเวณเยื่อบุอ่อน เช่น ตา ช่องปาก และอวัยวะเพศ
5. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
6. มีอาการอักเสบของอวัยวะภายใน เช่น ตับอักเสบ อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไตอักเสบ เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าแพ้ยา
- หยุดยาที่สงสัยทันที
- ถ่ายรูปผื่นที่สงสัยไว้ โดยเน้นให้เห็นผื่นชัดเจน ควรถ่ายรูปบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน และขา เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยของแพทย์ต่อไป
- รีบมาพบแพทย์ พร้อมทั้งนำยาทั้งหมด รวมถึงอาหารเสริม สมุนไพรที่รับประทานในช่วงเวลาดังกล่าวมาด้วย
- หากผื่นมีการเปลี่ยนแปลงให้ถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง
เมื่อแพ้ยาแล้ว ควรทำการทดสอบการแพ้ยาหรือไม่?
การทดสอบการแพ้ยา มี 2 จุดประสงค์หลัก คือ
1. เพื่อวินิจฉัย เนื่องจากในบางภาวะ เช่น การติดเชื้อ โรคผิวหนังบางชนิด โรคแพ้ภูมิตัวเอง มีอาการแสดงทางผิวหนังคล้ายกับอาการแพ้ยา
2. เพื่อหายาทดแทนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากในปัจจุบันมียาหลากหลายชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ หากหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้ทั้งหมดอาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาที่เหมาะสม ดังนั้น การทดสอบแพ้ยาจึงมีความจำเป็น
หมายเหตุ: ยาที่ควรทำการทดสอบการแพ้ยา ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเพนนิซิลิน ยาชา ยาที่ใช้ในการดมสลบ และยาแก้ปวด
วิธีทดสอบการแพ้ยา
1. ทดสอบทางผิวหนังโดยการสะกิดและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
2. ทดสอบโดยการเจาะเลือด ใช้ได้สำหรับการแพ้ยาบางชนิดเท่านั้น
3. ทดสอบโดยการได้รับยาซ้ำ คือ การให้ยาที่ต้องการทดสอบแก่ผู้ป่วย โดยเริ่มจากขนาดยาที่น้อยไปจนถึงขนาดยาที่ใช้ในการรักษา ภายใต้การควบคุมและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างครบครัน
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้ยาแล้ว
- ผู้ป่วยควรจำชื่อยาที่แพ้ได้อย่างแม่นยำ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำ
- ควรพกบัตรแพ้ยา และแสดงให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งที่มาใช้บริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D
การแพ้ยา มีอาการอย่างไร
มีอาการแสดงได้หลากหลายระบบ ซึ่งอาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการทางผิวหนัง โดยการแพ้ยาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามความรุนแรง ได้แก่
1. การแพ้ยาแบบไม่รุนแรง เช่น ผื่นแดงจางๆ คันผิว เป็นต้น
2. การแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง (Severe cutaneous drug reaction) การแพ้ยาแบบนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 2 วัน ถึง 2 เดือนหลังได้รับยา เช่น มีผื่นตุ่มน้ำพอง (Steven Johnson Syndrome, Toxic epidermal necrolysis), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) และ acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP) ซึ่งอาจนำมาสู่ความสูญเสียทั้งร่างกายและจิตใจ หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง ประกอบด้วย
1. มีไข้สูง
2. เจ็บ แสบบริเวณผิวหนัง หรือเริ่มมีผิวหนังบวม
3. มีผื่นสีเข้ม หรือผื่นที่เป็นตุ่มน้ำพองขึ้นตามลำตัว
4. เจ็บบริเวณเยื่อบุอ่อน เช่น ตา ช่องปาก และอวัยวะเพศ
5. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
6. มีอาการอักเสบของอวัยวะภายใน เช่น ตับอักเสบ อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไตอักเสบ เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าแพ้ยา
- หยุดยาที่สงสัยทันที
- ถ่ายรูปผื่นที่สงสัยไว้ โดยเน้นให้เห็นผื่นชัดเจน ควรถ่ายรูปบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน และขา เพื่อเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยของแพทย์ต่อไป
- รีบมาพบแพทย์ พร้อมทั้งนำยาทั้งหมด รวมถึงอาหารเสริม สมุนไพรที่รับประทานในช่วงเวลาดังกล่าวมาด้วย
- หากผื่นมีการเปลี่ยนแปลงให้ถ่ายรูปไว้ทุกครั้ง
เมื่อแพ้ยาแล้ว ควรทำการทดสอบการแพ้ยาหรือไม่?
การทดสอบการแพ้ยา มี 2 จุดประสงค์หลัก คือ
1. เพื่อวินิจฉัย เนื่องจากในบางภาวะ เช่น การติดเชื้อ โรคผิวหนังบางชนิด โรคแพ้ภูมิตัวเอง มีอาการแสดงทางผิวหนังคล้ายกับอาการแพ้ยา
2. เพื่อหายาทดแทนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากในปัจจุบันมียาหลากหลายชนิด โดยเฉพาะในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ หากหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มนี้ทั้งหมดอาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการได้รับยาที่เหมาะสม ดังนั้น การทดสอบแพ้ยาจึงมีความจำเป็น
หมายเหตุ: ยาที่ควรทำการทดสอบการแพ้ยา ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อกลุ่มเพนนิซิลิน ยาชา ยาที่ใช้ในการดมสลบ และยาแก้ปวด
วิธีทดสอบการแพ้ยา
1. ทดสอบทางผิวหนังโดยการสะกิดและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
2. ทดสอบโดยการเจาะเลือด ใช้ได้สำหรับการแพ้ยาบางชนิดเท่านั้น
3. ทดสอบโดยการได้รับยาซ้ำ คือ การให้ยาที่ต้องการทดสอบแก่ผู้ป่วย โดยเริ่มจากขนาดยาที่น้อยไปจนถึงขนาดยาที่ใช้ในการรักษา ภายใต้การควบคุมและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำในสถานที่ที่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตอย่างครบครัน
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าแพ้ยาแล้ว
- ผู้ป่วยควรจำชื่อยาที่แพ้ได้อย่างแม่นยำ และหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำ
- ควรพกบัตรแพ้ยา และแสดงให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทุกครั้งที่มาใช้บริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคภูมิแพ้ ชั้น 3 โซน D