โรคไตกับโรคหัวใจเกี่ยวกันอย่างไร?

โรคไตกับโรคหัวใจมีความเกี่ยวข้องกัน เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่เหมือนกัน ทำให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด

   หากพูดถึงโรคไตหรือโรคหัวใจแล้ว มั่นใจว่าหลาย ๆ คนเคยได้ยินหรือมีประสบการณ์ทั้งโดยตรงหรือบอกเล่าจากคนใกล้ชิดอยู่เป็นแน่ เนื่องจากทั้งโรคไตและโรคหัวใจเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรัง หรือ non-communicable disease ลำดับต้นๆ จากการสำรวจทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก นำไปสู่ความเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตจำนวนมากต่อปี และรู้หรือไม่ว่าทั้งโรคไตและโรคหัวใจนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ทำไมผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคไตร่วมด้วย หรือผู้ป่วยโรคไตเองก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจด้วยเช่นเดียวกัน

     เนื่องจากทั้งโรคหัวใจและโรคไต เกิดจากปัจจัยเสี่ยงเหมือนกัน กล่าวคือสาเหตุลำดับต้น ๆ ของโรคหัวใจและโรคไตเกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด หรือไขมันพอกเส้นเลือด (atherosclerosis) นำไปสู่การขาดเลือด และความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่พบเพิ่มมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ ความเครียด หรือพฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นทั้งโรคหัวใจ และโรคไต

     นอกจากนี้ทราบกันดีว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติต่อหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเรื้อรัง จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีความผิดปกติ ส่งผลโดยตรงต่อไต เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เกิดเป็นโรคไตทำงานบกพร่องเรื้อรังได้ง่ายมากขึ้น หรือในกรณีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะท้ายที่เริ่มขับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ได้ลดลง หรือขับปัสสาวะได้ลดลง เกิดการสะสมของของเสีย เกิดภาวะน้ำเกินในร่างกาย ความดันโลหิตเพิ่มสูง ก็จะยิ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้ลดลง เกิดเป็นโรคหัวใจตามมาด้วย

     จะเห็นได้ว่าทั้งโรคหัวใจและโรคไต มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้ตัวเองหรือคนที่เรารักป่วยเป็นโรคดังกล่าว เพราะฉะนั้นเราทุกคนจึงควรใส่ใจ ดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด เป็นโรคหัวใจหรือโรคไตตั้งแต่ต้น และหมั่นคอยตรวจสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งหัวใจและไตของเราทำงานอยู่ในเกณฑ์ปกติ

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและโรคไต ที่ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ซึ่งอาหารเค็มในที่นี้ รวมถึงเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส อาหารแปรรูปต่าง ๆ โดยจำกัดไม่ให้บริโภคโซเดียมเกิน 2 กรัมต่อวัน
  2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเนือยนิ่ง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์
  3. ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมทั้งหัวใจ ปอด และไต และนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลายชนิด

     ปรึกษาแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคร่วมอื่น ๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพียงเท่านี้เราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากทั้งโรคหัวใจและโรคไตได้แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C

 

     หากพูดถึงโรคไตหรือโรคหัวใจแล้ว มั่นใจว่าหลาย ๆ คนเคยได้ยินหรือมีประสบการณ์ทั้งโดยตรงหรือบอกเล่าจากคนใกล้ชิดอยู่เป็นแน่ เนื่องจากทั้งโรคไตและโรคหัวใจเป็นโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรัง หรือ non-communicable disease ลำดับต้นๆ จากการสำรวจทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก นำไปสู่ความเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตจำนวนมากต่อปี และรู้หรือไม่ว่าทั้งโรคไตและโรคหัวใจนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร ทำไมผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคไตร่วมด้วย หรือผู้ป่วยโรคไตเองก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจด้วยเช่นเดียวกัน

     เนื่องจากทั้งโรคหัวใจและโรคไต เกิดจากปัจจัยเสี่ยงเหมือนกัน กล่าวคือสาเหตุลำดับต้น ๆ ของโรคหัวใจและโรคไตเกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดการแข็งตัวของเส้นเลือด หรือไขมันพอกเส้นเลือด (atherosclerosis) นำไปสู่การขาดเลือด และความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่พบเพิ่มมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ ความเครียด หรือพฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่ง หรือนอนเป็นเวลานาน ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นทั้งโรคหัวใจ และโรคไต

     นอกจากนี้ทราบกันดีว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ คอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติต่อหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเรื้อรัง จะทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตมีความผิดปกติ ส่งผลโดยตรงต่อไต เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงที่ไตน้อยลง เกิดเป็นโรคไตทำงานบกพร่องเรื้อรังได้ง่ายมากขึ้น หรือในกรณีของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในระยะท้ายที่เริ่มขับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ได้ลดลง หรือขับปัสสาวะได้ลดลง เกิดการสะสมของของเสีย เกิดภาวะน้ำเกินในร่างกาย ความดันโลหิตเพิ่มสูง ก็จะยิ่งส่งผลเสียโดยตรงต่อหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานได้ลดลง เกิดเป็นโรคหัวใจตามมาด้วย

     จะเห็นได้ว่าทั้งโรคหัวใจและโรคไต มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และแน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้ตัวเองหรือคนที่เรารักป่วยเป็นโรคดังกล่าว เพราะฉะนั้นเราทุกคนจึงควรใส่ใจ ดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด เป็นโรคหัวใจหรือโรคไตตั้งแต่ต้น และหมั่นคอยตรวจสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งหัวใจและไตของเราทำงานอยู่ในเกณฑ์ปกติ

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและโรคไต ที่ปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ซึ่งอาหารเค็มในที่นี้ รวมถึงเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส อาหารแปรรูปต่าง ๆ โดยจำกัดไม่ให้บริโภคโซเดียมเกิน 2 กรัมต่อวัน
  2. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเนือยนิ่ง หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์
  3. ลดน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมทั้งหัวใจ ปอด และไต และนำไปสู่การเกิดมะเร็งหลายชนิด

     ปรึกษาแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคร่วมอื่น ๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพียงเท่านี้เราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากทั้งโรคหัวใจและโรคไตได้แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง