
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังขณะฟอกเลือด
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีจำเป็นต้องฟอกเลือดที่โรงพยาบาล ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า รวมถึงสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจไม่ดีไปด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายในระหว่างฟอกเลือดจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น ลดความเมื่อยล้า ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมหรือได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
คำแนะนำ ผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกเลือดบริเวณลำคอ (PERM CATH) สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ กรณีผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกเลือดบริเวณแขนหรือขา (AVF / AVG) ให้ออกกำลังกายเฉพาะข้างที่ไม่มีเส้นฟอกเลือด
ในระหว่างการออกกำลังกายหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
- มีความรู้สึกเหนื่อยมาก
- หายใจไม่สะดวกหรือหายใจหอบเหนื่อย
- เจ็บแน่นหน้าอกหรือใจสั่น
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- เป็นตะคริว
- หน้ามืด เวียนศีรษะ
การออกกำลังกายขณะฟอกเลือด
การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพปอดและการหายใจ
ท่าที่ 1 หายใจเข้า-ออก วางมือทั้ง 2 ข้างบริเวณชายโครง หายใจเข้าทางจมูก แล้วหายใจออกทางปาก ทำ 10 ครั้ง
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขน
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของแขน ป้องกันการยึดติดของข้อต่างๆ และช่วยให้ทรวงอกขยายตัวได้ดีขึ้น
ท่าที่ 1 กำมือ-แบมือ ตั้งแขนทั้ง 2 ข้างเข้าข้างลำตัว กำมือแล้วปล่อยมือให้สุด ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 2 งอศอกสลับกับเหยียดศอก วางแขนข้างลำตัว กำมือพร้อมงอศอกเข้าหาตัวให้สุด เหยียดศอกลงให้สุด ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 3 ยกแขนขึ้น-ลง วางแขนข้างลำตัว เหยียดแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ วางมือลงข้างลำตัว ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 4 กางแขนและหุบแขน กางแขนทั้ง 2 ข้างให้สุด ยกแขนขึ้นด้านบนพร้อมหุบเข้าให้สุด ทำ 20 ครั้ง
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของขา และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ท่าที่ 1 กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง กระดกปลายเท้าขึ้น-ลงพร้อมกันทั้งสองข้าง ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 2 งอเข่า-เหยียดเข่า เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง ชันเข่าขึ้นข้างนึงให้ฝ่าเท้าแนบพื้น ค่อยๆ วางขาลง ทำ 10 - 20 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ท่าที่ 3 เหยียดขาและกางขา เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง กางขาออกไปด้านข้างทำมุมประมาณ 45 องศา ปลายเท้าตั้งตรง ทำ 20 ครั้ง เสร็จแล้วสลับข้างกัน
ท่าที่ 4 เหยียดขาและยกส้นเท้า เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง ยกส้นเท้าให้พ้นพื้น ปลายเท้าตั้งตรง ทำ 10 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ท่าที่ 5 วางขาบนหมอนเหยียดขาตรง วางหมอนหรือผ้าขนหนูหนาๆ ใต้ขา เหยียดขาขึ้นปลายเท้าตั้งตรง ทำ 20 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ข้อจำกัดในการออกกำลังกายขณะฟอกเลือด
- ประเภทเครื่องฟอกเลือดที่แตกต่างกัน
- ระดับความหนักของการออกกำลังกาย (Intensity of exercise)
- ประเภทของวิธีการที่ใช้
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- เสริมสร้างให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
- เพิ่มหรือคงความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
- ควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยเพิ่มอัตราการนำไขมันไปใช้ (ลดคอเลสเตอรอล และไตรกีเซอไรด์)
- ช่วยให้นอนหลับดี
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก
- ลดภาวะซึมเศร้าและความกังวล
- ช่วยลดระดับความต้านทานอินซูลิน
- เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด
- เสริมสร้างการทำงานของไต ตับ และระบบย่อยอาหาร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีจำเป็นต้องฟอกเลือดที่โรงพยาบาล ซึ่งจะใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า รวมถึงสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจไม่ดีไปด้วย ดังนั้น การออกกำลังกายในระหว่างฟอกเลือดจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น ลดความเมื่อยล้า ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น โดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมหรือได้รับคำปรึกษาจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
คำแนะนำ ผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกเลือดบริเวณลำคอ (PERM CATH) สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ กรณีผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกเลือดบริเวณแขนหรือขา (AVF / AVG) ให้ออกกำลังกายเฉพาะข้างที่ไม่มีเส้นฟอกเลือด
ในระหว่างการออกกำลังกายหากผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
- มีความรู้สึกเหนื่อยมาก
- หายใจไม่สะดวกหรือหายใจหอบเหนื่อย
- เจ็บแน่นหน้าอกหรือใจสั่น
- มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
- เป็นตะคริว
- หน้ามืด เวียนศีรษะ
การออกกำลังกายขณะฟอกเลือด
การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพปอดและการหายใจ
ท่าที่ 1 หายใจเข้า-ออก วางมือทั้ง 2 ข้างบริเวณชายโครง หายใจเข้าทางจมูก แล้วหายใจออกทางปาก ทำ 10 ครั้ง
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อแขน
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของแขน ป้องกันการยึดติดของข้อต่างๆ และช่วยให้ทรวงอกขยายตัวได้ดีขึ้น
ท่าที่ 1 กำมือ-แบมือ ตั้งแขนทั้ง 2 ข้างเข้าข้างลำตัว กำมือแล้วปล่อยมือให้สุด ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 2 งอศอกสลับกับเหยียดศอก วางแขนข้างลำตัว กำมือพร้อมงอศอกเข้าหาตัวให้สุด เหยียดศอกลงให้สุด ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 3 ยกแขนขึ้น-ลง วางแขนข้างลำตัว เหยียดแขนทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะ วางมือลงข้างลำตัว ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 4 กางแขนและหุบแขน กางแขนทั้ง 2 ข้างให้สุด ยกแขนขึ้นด้านบนพร้อมหุบเข้าให้สุด ทำ 20 ครั้ง
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อขา
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของขา และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
ท่าที่ 1 กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง กระดกปลายเท้าขึ้น-ลงพร้อมกันทั้งสองข้าง ทำ 20 ครั้ง
ท่าที่ 2 งอเข่า-เหยียดเข่า เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง ชันเข่าขึ้นข้างนึงให้ฝ่าเท้าแนบพื้น ค่อยๆ วางขาลง ทำ 10 - 20 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ท่าที่ 3 เหยียดขาและกางขา เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง กางขาออกไปด้านข้างทำมุมประมาณ 45 องศา ปลายเท้าตั้งตรง ทำ 20 ครั้ง เสร็จแล้วสลับข้างกัน
ท่าที่ 4 เหยียดขาและยกส้นเท้า เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง ยกส้นเท้าให้พ้นพื้น ปลายเท้าตั้งตรง ทำ 10 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ท่าที่ 5 วางขาบนหมอนเหยียดขาตรง วางหมอนหรือผ้าขนหนูหนาๆ ใต้ขา เหยียดขาขึ้นปลายเท้าตั้งตรง ทำ 20 ครั้ง เสร็จแล้วทำสลับข้างกัน
ข้อจำกัดในการออกกำลังกายขณะฟอกเลือด
- ประเภทเครื่องฟอกเลือดที่แตกต่างกัน
- ระดับความหนักของการออกกำลังกาย (Intensity of exercise)
- ประเภทของวิธีการที่ใช้
ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- เสริมสร้างให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ
- เพิ่มหรือคงความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
- ควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยเพิ่มอัตราการนำไขมันไปใช้ (ลดคอเลสเตอรอล และไตรกีเซอไรด์)
- ช่วยให้นอนหลับดี
- ช่วยควบคุมน้ำหนัก
- ลดภาวะซึมเศร้าและความกังวล
- ช่วยลดระดับความต้านทานอินซูลิน
- เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด
- เสริมสร้างการทำงานของไต ตับ และระบบย่อยอาหาร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์โรคไต ชั้น 6 โซน C