ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ (NSAIDs are not Antibiotics)
หากคิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาอาการอักเสบได้ทุกชนิด หรือคิดว่ายาแก้อักเสบก็ฆ่าเชื้อโรคได้ คุณเข้าใจผิด ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ มาทำความรู้จักกับยา 2 กลุ่มนี้ให้มากขึ้น
กลุ่มยาต้านการอักเสบคืออะไร?
กลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) คือกลุ่มยาที่ช่วยแก้อาการปวด บวม แดง ร้อน และลดการอักเสบโดยตรงของร่างกาย รวมทั้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้ ซึ่งใช้รักษาการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บเพราะการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การใช้เสียง ข้ออักเสบจากโรครูมาตอยด์
ตัวอย่างยาแก้ปวดแก้อักเสบ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs; NSAIDs)
เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac, Etoricoxib, Celecoxib ยากลุ่มนี้กำหนดให้รับประทานหลังอาหารทันที เนื่องจากมีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทั้งยังไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส แต่ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบ เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ เนื่องจากอาการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม การอักเสบของข้อจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือกล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก
อย่างไรก็ตาม กลุ่มยานี้ควรรับประทานอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร การรับประทานต่อเนื่องอาจจะมีผลต่อการทำงานของไต ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนั้นโดยทั่วไปยากลุ่มนี้ควรรับประทานตามอาการ และอยู่ภายใต้การแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร
ยาฆ่าเชื้อหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะคืออะไร?
ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) คือกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์แก้ปวดหรือลดการอักเสบ
ตัวอย่างยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotics)
เช่น Penicillin, Amoxicillin, Azithromycin ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ยากลุ่มนี้หลายคนเข้าใจผิดเรียกว่ายาแก้อักเสบ ทำให้มีการใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (Common Cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
ดังนั้น ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ หากสับสนหรือไม่แน่ใจในการใช้ยาแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาหรือมาพบแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกต้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222
หากคิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาอาการอักเสบได้ทุกชนิด หรือคิดว่ายาแก้อักเสบก็ฆ่าเชื้อโรคได้ คุณเข้าใจผิด ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ มาทำความรู้จักกับยา 2 กลุ่มนี้ให้มากขึ้น
กลุ่มยาต้านการอักเสบคืออะไร?
กลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) คือกลุ่มยาที่ช่วยแก้อาการปวด บวม แดง ร้อน และลดการอักเสบโดยตรงของร่างกาย รวมทั้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้ ซึ่งใช้รักษาการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บเพราะการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การใช้เสียง ข้ออักเสบจากโรครูมาตอยด์
ตัวอย่างยาแก้ปวดแก้อักเสบ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs; NSAIDs)
เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac, Etoricoxib, Celecoxib ยากลุ่มนี้กำหนดให้รับประทานหลังอาหารทันที เนื่องจากมีผลระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทั้งยังไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส แต่ช่วยบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบ เช่น ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ เนื่องจากอาการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม การอักเสบของข้อจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือกล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก
อย่างไรก็ตาม กลุ่มยานี้ควรรับประทานอย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้บ่อยและรุนแรงกว่าวัยอื่น อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร การรับประทานต่อเนื่องอาจจะมีผลต่อการทำงานของไต ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนั้นโดยทั่วไปยากลุ่มนี้ควรรับประทานตามอาการ และอยู่ภายใต้การแนะนำจากแพทย์และเภสัชกร
ยาฆ่าเชื้อหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะคืออะไร?
ยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) คือกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ไม่มีฤทธิ์แก้ปวดหรือลดการอักเสบ
ตัวอย่างยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotics)
เช่น Penicillin, Amoxicillin, Azithromycin ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ ปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ยากลุ่มนี้หลายคนเข้าใจผิดเรียกว่ายาแก้อักเสบ ทำให้มีการใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้ยาฆ่าเชื้อในการรักษาไข้หวัด (Common Cold) ซึ่งไม่จำเป็นต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยา และเพิ่มโอกาสต่อการดื้อยาอีกด้วย
ดังนั้น ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ หากสับสนหรือไม่แน่ใจในการใช้ยาแนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อยาหรือมาพบแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกต้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลยา ฝ่ายวิชาการเภสัชสนเทศ
โทร. 1474 กด 2 ตามด้วยกด 2 หรือ 02-419-2222