โรคพาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม

     โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารบางอย่างที่ชื่อว่า “โดพามีน” ลดลง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวช้าลง ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจใช้ชีวิตลำบากได้

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

     สาเหตุที่ทำให้การผลิตสารโดพามีนลดลงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าคืออะไร และยังไม่แน่ชัดว่ามีปัจจัยใดที่กระตุ้นการเกิดโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตามโรคพาร์กินสันอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ซึ่งที่พบบ่อยๆ ในผู้สูงอายุคือ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ แก้มึนงง ยาแก้อาเจียน ยารักษาความผิดปกติทางจิตบางชนิด ยากล่อมประสาท เป็นต้น นอกจากนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติในสมองจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดสมองแตก สมองขาดอ็อกซิเจน สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง  โพรงน้ำในสมองขยายตัว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เป็นต้น บางคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสันซึ่งสามารถพบได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมร้อยละ 10-15

อาการโรคพาร์กินสัน

  1. อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว มี 4 อาการหลักดังนี้
    • มือสั่น ใช้มือไม่คล่องเหมือนเก่า เช่น กลัดกระดุม เปิดฝาขวดน้ำ เขียนหนังสือ หรืออาจมือสั่นขณะอยู่นิ่งแต่เวลาเคลื่อนไหวอาการมือสั่นกลับหายไป
    • ฝืด หนืด  กล้ามเนื้อเกร็ง แขนขาเกร็งแข็งจนบางครั้งอาจปวดหรือเกิดตะคริว ใบหน้าแสดงออกได้น้อย ยิ้มน้อยหรือไม่แสดงออกทางสีหน้า ไม่ค่อยกระพริบตา พูดเสียงเบาลง กลืนไม่คล่องเหมือนเดิม อาจมีน้ำลายหรือสำลักง่ายขึ้น
    • เคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวร่างกายหรือทำอะไรได้ช้าลง
    • การทรงตัวและการเดินผิดปกติ เดินลำบาก ก้าวขาไม่ค่อยออก ก้าวเท้าสั้น ๆ เดินซอยเท้าถี่ ศีรษะพุ่งไปข้างหน้าขณะเดิน หมุนกลับลำตัวลำบาก
  2. อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น คิดช้าลง ความจำไม่ดี ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท ฝันนอนละเมอ ออกท่าทาง ท้องผูก จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยได้หรือได้กลิ่นลดลง

การตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

     ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากอาจยังไม่ตระหนักถึงอาการของโรคเพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดผลเสียจากตัวโรคตามมา เช่น หกล้ม กลืนอาหารลำบาก การคัดกรองเบื้องต้นอย่างง่ายด้วยตัวเองจะสามารถทำให้ค้นพบอาการป่วยได้ โดยวิธีการตรวจเช็กอาการใน 11 ข้อดังต่อไปนี้ หากมีอาการดังกล่าว 5 ข้อขึ้นไปควรพบแพทย์ แต่หากมีอาการน้อยกว่า 5 ข้อแนะนำให้ตรวจเช็กอาการเป็นระยะ

แบบประเมินอาการโรคพาร์กินสันด้วยตนเอง

     หากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์จะทำการซักถามประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุ เช่น การรับยาต้านอาการจิตเวช การรับยาแก้อาเจียนคลื่นไส้ หรือแก้เวียนศีรษะ ประวัติอัมพฤกษ์อัมพาต เนื้องอกสมอง อาการโพรงสมองคั่งน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการพาร์กินสันแบบมีสาเหตุ จากนั้นจะหาข้อสนับสนุนและลักษณะอาการดำเนินโรคต่อไป

การรักษาโรคพาร์กินสัน

     ในปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นใช้ยาในการรักษา โดยมีเป้าหมายคือ เพิ่มการออกฤทธิ์ของสารโดพามีนในสมอง โดยมีทั้งการรับประทานยาและการใช้แผ่นแปะ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกมากขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติก่อนเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากการใช้ยาการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปยังเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น การออกกำลังกาย รำมวยจีน รำไทเก๊ก และการเต้นรำจังหวะแทงโก้ แต่หากไม่สามารถทำได้ แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างง่าย เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน หรือออกกำลังกายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และผักผลไม้ เพื่อช่วยเรื่องการขับถ่าย

ข้อมูลจาก : ศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D

     โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารบางอย่างที่ชื่อว่า “โดพามีน” ลดลง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการมือสั่น เคลื่อนไหวช้าลง ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ มักเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจใช้ชีวิตลำบากได้

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

     สาเหตุที่ทำให้การผลิตสารโดพามีนลดลงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าคืออะไร และยังไม่แน่ชัดว่ามีปัจจัยใดที่กระตุ้นการเกิดโรคพาร์กินสัน อย่างไรก็ตามโรคพาร์กินสันอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ ซึ่งที่พบบ่อยๆ ในผู้สูงอายุคือ การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้เวียนศีรษะ แก้มึนงง ยาแก้อาเจียน ยารักษาความผิดปกติทางจิตบางชนิด ยากล่อมประสาท เป็นต้น นอกจากนั้นอาจเกิดจากความผิดปกติในสมองจากสาเหตุอื่นๆ เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดสมองแตก สมองขาดอ็อกซิเจน สมองอักเสบ เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว หรือเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ เป็นต้น บางคนมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคพาร์กินสันซึ่งสามารถพบได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมร้อยละ 10-15

อาการโรคพาร์กินสัน

  1. อาการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว มี 4 อาการหลักดังนี้
    • มือสั่น ใช้มือไม่คล่องเหมือนเก่า เช่น กลัดกระดุม เปิดฝาขวดน้ำ เขียนหนังสือ หรืออาจมือสั่นขณะอยู่นิ่งแต่เวลาเคลื่อนไหวอาการมือสั่นกลับหายไป
    • ฝืด หนืด  กล้ามเนื้อเกร็ง แขนขาเกร็งแข็งจนบางครั้งอาจปวดหรือเกิดตะคริว ใบหน้าแสดงออกได้น้อย ยิ้มน้อยหรือไม่แสดงออกทางสีหน้า ไม่ค่อยกระพริบตา พูดเสียงเบาลง กลืนไม่คล่องเหมือนเดิม อาจมีน้ำลายหรือสำลักง่ายขึ้น
    • เคลื่อนไหวช้า เคลื่อนไหวร่างกายหรือทำอะไรได้ช้าลง
    • การทรงตัวและการเดินผิดปกติ เดินลำบาก ก้าวขาไม่ค่อยออก ก้าวเท้าสั้น ๆ เดินซอยเท้าถี่ ศีรษะพุ่งไปข้างหน้าขณะเดิน หมุนกลับลำตัวลำบาก
  2. อาการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น คิดช้าลง ความจำไม่ดี ซึมเศร้า นอนหลับไม่สนิท ฝันนอนละเมอ ออกท่าทาง ท้องผูก จมูกดมกลิ่นไม่ค่อยได้หรือได้กลิ่นลดลง

การตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน

     ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากอาจยังไม่ตระหนักถึงอาการของโรคเพราะคิดว่าเกิดจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เกิดผลเสียจากตัวโรคตามมา เช่น หกล้ม กลืนอาหารลำบาก การคัดกรองเบื้องต้นอย่างง่ายด้วยตัวเองจะสามารถทำให้ค้นพบอาการป่วยได้ โดยวิธีการตรวจเช็กอาการใน 11 ข้อดังต่อไปนี้ หากมีอาการดังกล่าว 5 ข้อขึ้นไปควรพบแพทย์ แต่หากมีอาการน้อยกว่า 5 ข้อแนะนำให้ตรวจเช็กอาการเป็นระยะ

แบบประเมินอาการโรคพาร์กินสันด้วยตนเอง

     หากผู้ป่วยมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์จะทำการซักถามประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุ เช่น การรับยาต้านอาการจิตเวช การรับยาแก้อาเจียนคลื่นไส้ หรือแก้เวียนศีรษะ ประวัติอัมพฤกษ์อัมพาต เนื้องอกสมอง อาการโพรงสมองคั่งน้ำ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการพาร์กินสันแบบมีสาเหตุ จากนั้นจะหาข้อสนับสนุนและลักษณะอาการดำเนินโรคต่อไป

การรักษาโรคพาร์กินสัน

     ในปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นใช้ยาในการรักษา โดยมีเป้าหมายคือ เพิ่มการออกฤทธิ์ของสารโดพามีนในสมอง โดยมีทั้งการรับประทานยาและการใช้แผ่นแปะ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสะดวกมากขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติก่อนเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากการใช้ยาการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปยังเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น การออกกำลังกาย รำมวยจีน รำไทเก๊ก และการเต้นรำจังหวะแทงโก้ แต่หากไม่สามารถทำได้ แนะนำให้ออกกำลังกายอย่างง่าย เช่น การเดิน ปั่นจักรยาน หรือออกกำลังกายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และผักผลไม้ เพื่อช่วยเรื่องการขับถ่าย

ข้อมูลจาก : ศ.นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โซน D


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง