จัดโต๊ะทำงานอย่างไร เลี่ยงออฟฟิศซินโดรม!!

     ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า คำว่า “ ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome ) ” เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมสูง “ Office Syndrome ” กลุ่มอาการที่พบบ่อย อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องค่อนข้างนาน ทั้งในขณะนั่ง ยืน หรือเดิน เช่น การนั่ง, การยืนหลังค่อม, ไหล่ที่มีลักษณะห่ออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง, การยกไหล่ และการก้มคอมากเกินไป ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมอาจไปอยู่ในทุกท่วงท่าของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการเล่นเกมส์ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในหมู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน เป็นต้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและสภาพร่างกาย อาจทำให้เราละเลยสัญญาณเตือนของอาการออฟฟิศซินโดรม แม้กระทั่งความเครียด อาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้

 

 

      ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จึงมีข้อแนะนำสำหรับการปรับอุปกรณ์สำนักงานให้ถูกต้อง เป็นวิธีการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดการเจ็บป่วย ที่มีผลมาจากการเคลื่อนไหวและการวางตำแหน่งของสรีระในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง โดยมีแนวทางการปรับปรุง อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ดังนี้ คือ
           1. เก้าอี้ ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ขอบด้านหน้าของเบาะนั่ง ควรมีลักษณะโค้งเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระหว่างด้านหน้าของเบาะกับด้านหลังของหัวเข่า ความสูงของเบาะและพนักพิงจะต้องปรับได้ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลัง โดยสมบูรณ์ในขณะที่เท้ากับแขน สามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้แป้นพิมพ์ได้
           2. จอภาพ  ควรอยู่ตำแหน่งตรงหน้าผู้ใช้ จัดให้ห่างจากผู้ใช้อย่างน้อย 3 ฟุต (ยิ่งห่างยิ่งดี) จอภาพควรอยู่ระดับต่ำกว่าระดับสายตา 5 นิ้ว หรือประมาณ 10-20 องศา และสามารถปรับความสูงของจอภาพได้ด้วยแท่นวางปรับมุมเงยของจอภาพ เพื่อลดแสงจ้าหรือแสงสะท้อนจากดวงไฟเหนือศีรษะหรือหน้าต่าง นอกจากนี้ ควรใช้จอที่กรองแสง เพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสีต่าง ๆ
           3. แป้นพิมพ์และเมาส์  ควรวางตำแหน่งของแป้นพิมพ์และเมาส์ในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว ซึ่งจะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ
           4. ถาดวางแป้นพิมพ์และเมาส์  ควรมั่นคงแข็งแรงและปรับได้ในหลายลักษณะของการใช้งานที่เหมาะสม แต่ยังคงให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งตรงกลาง และสามารถวางที่พักข้อมือได้
           5. แป้นหนีบเอกสาร จะต้องอยู่ระดับเดียวกันและใกล้จอคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด จะช่วยให้คออยู่ในตำแหน่งตั้งตรง ซึ่งจะช่วยลดการเคลื่อนไหวของศีรษะและลดความเครียดของกล้ามเนื้อตา
           6. ที่พักข้อมือ จะต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคม โดยมีหน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ
           7. ที่วางเท้า  ควรมั่นคงแข็งแรงสามารถปรับความสูงได้ ไม่ลื่น และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ความสะดวกสบายขณะวางเท้า
           8. โคมไฟ ให้แสงสว่างที่เพียงพอแก่การมองดูเอกสาร นิยมแสงแบบอุ่นจะช่วยลดแสงกระจายและสายตาเมื่อยล้า โดยปราศจากแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์
             คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานได้ หากยังมีอาการอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม.

ที่มา : งานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ร.พ.ศิริราช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C

     ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า คำว่า “ ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome ) ” เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรมสูง “ Office Syndrome ” กลุ่มอาการที่พบบ่อย อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มคนวัยทำงาน ที่มีลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยท่าทางซ้ำ ๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องค่อนข้างนาน ทั้งในขณะนั่ง ยืน หรือเดิน เช่น การนั่ง, การยืนหลังค่อม, ไหล่ที่มีลักษณะห่ออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเดินหรือนั่ง, การยกไหล่ และการก้มคอมากเกินไป ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมอาจไปอยู่ในทุกท่วงท่าของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการเล่นเกมส์ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ในหมู่วัยรุ่นหรือวัยทำงาน เป็นต้น รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงานและสภาพร่างกาย อาจทำให้เราละเลยสัญญาณเตือนของอาการออฟฟิศซินโดรม แม้กระทั่งความเครียด อาจส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้

      ทั้งนี้ ทางโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ จึงมีข้อแนะนำสำหรับการปรับอุปกรณ์สำนักงานให้ถูกต้อง เป็นวิธีการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยลดการเจ็บป่วย ที่มีผลมาจากการเคลื่อนไหวและการวางตำแหน่งของสรีระในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง โดยมีแนวทางการปรับปรุง อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ถูกต้อง ดังนี้ คือ
           1. เก้าอี้ ควรเป็นขนาดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ขอบด้านหน้าของเบาะนั่ง ควรมีลักษณะโค้งเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระหว่างด้านหน้าของเบาะกับด้านหลังของหัวเข่า ความสูงของเบาะและพนักพิงจะต้องปรับได้ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ควรทำมุมอย่างน้อย 90 องศา พนักพิงจะต้องสัมผัสกับแผ่นหลัง โดยสมบูรณ์ในขณะที่เท้ากับแขน สามารถช่วยพยุงแขนขณะใช้แป้นพิมพ์ได้
           2. จอภาพ  ควรอยู่ตำแหน่งตรงหน้าผู้ใช้ จัดให้ห่างจากผู้ใช้อย่างน้อย 3 ฟุต (ยิ่งห่างยิ่งดี) จอภาพควรอยู่ระดับต่ำกว่าระดับสายตา 5 นิ้ว หรือประมาณ 10-20 องศา และสามารถปรับความสูงของจอภาพได้ด้วยแท่นวางปรับมุมเงยของจอภาพ เพื่อลดแสงจ้าหรือแสงสะท้อนจากดวงไฟเหนือศีรษะหรือหน้าต่าง นอกจากนี้ ควรใช้จอที่กรองแสง เพื่อป้องกันแสงจ้าและรังสีต่าง ๆ
           3. แป้นพิมพ์และเมาส์  ควรวางตำแหน่งของแป้นพิมพ์และเมาส์ในระยะห่างและความสูงที่พอเหมาะ ปล่อยแขนตามธรรมชาติและให้ข้อศอกอยู่ใกล้ตัว ซึ่งจะช่วยให้เกิดมุมที่เหมาะสมระหว่างข้อศอกและข้อมือ
           4. ถาดวางแป้นพิมพ์และเมาส์  ควรมั่นคงแข็งแรงและปรับได้ในหลายลักษณะของการใช้งานที่เหมาะสม แต่ยังคงให้ข้อมืออยู่ในตำแหน่งตรงกลาง และสามารถวางที่พักข้อมือได้
           5. แป้นหนีบเอกสาร จะต้องอยู่ระดับเดียวกันและใกล้จอคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด จะช่วยให้คออยู่ในตำแหน่งตั้งตรง ซึ่งจะช่วยลดการเคลื่อนไหวของศีรษะและลดความเครียดของกล้ามเนื้อตา
           6. ที่พักข้อมือ จะต้องปราศจากขอบที่แข็งหรือคม โดยมีหน้ากว้างเพียงพอแก่การพยุงข้อมือและฝ่ามือ
           7. ที่วางเท้า  ควรมั่นคงแข็งแรงสามารถปรับความสูงได้ ไม่ลื่น และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะให้ความสะดวกสบายขณะวางเท้า
           8. โคมไฟ ให้แสงสว่างที่เพียงพอแก่การมองดูเอกสาร นิยมแสงแบบอุ่นจะช่วยลดแสงกระจายและสายตาเมื่อยล้า โดยปราศจากแสงจ้าบนเอกสารหรือบนจอคอมพิวเตอร์
             คำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานได้ หากยังมีอาการอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม.

ที่มา : งานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ร.พ.ศิริราช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!! ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 โซน C


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง