โรคกระเพาะอาหาร รักษาอย่างไรถึงได้ผลดี
โรคกระเพาะอาหารในทางการแพทย์ หมายถึงโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่ได้เกิดจากแผล เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ทำให้ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิต เพราะมีอาการปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ เช่น ปวดท้องอยู่ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นอาการปวดหายไปเป็นเดือน จนคิดว่าหายแล้ว แต่สุดท้ายก็กลับมาปวดอีก
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่ย่อยอาหาร โดยการผลิตน้ำย่อย ซึ่งเป็นกรดในการย่อยอาหาร ย่อยได้แม้กระทั่งของที่แข็งอย่างกระดูก แต่กระเพาะของเราจะไม่โดนน้ำย่อยกัด เพราะกระเพาะมีกลไกในการป้องกันตัวเอง และมีการสร้างเมือกขึ้นมาเคลือบผิวของกระเพาะอาหาร แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะอักเสบ
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
มีหลากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุ อาจเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้กลไกการป้องกันตัวเองของกระเพาะเสียไป เจ้าเชื้อนี้ มีชื่อว่า “Helicobacter pylori (H. pylori)” เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่บนเยื่อบุอาหาร เพิ่มความเสี่ยงของการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
นอกจากนี้พฤติกรรมของเรา เช่น การดื่มเหล้า ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ รวมถึงความเครียด การอดอาหารหรือทานอาหารไม่เป็นเวลา ส่งผลให้กลไกการทำงานของกระเพาะอาหารเสียไป กระตุ้นให้กรดหลั่งเยอะขึ้น เมื่อหลั่งเยอะขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะ
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
- ปวด จุกแน่นท้อง แสบ หรือรู้สึกตื้อ อิ่มเร็ว อาการจะเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบน เหนือต่อสะดือ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง เวลาอิ่มหรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด หรือยาปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร
- อาการปวด มักจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
- บางราย ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
- โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดยตรง
การรักษาหรือการบรรเทาอาการ
โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน ถ้าหากพบว่ามีแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยานานถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว ยังอาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- หากมีปัญหาจุกแน่นหลังรับประทาน อาจปรับลดเป็นกินอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอาหารมัน
- งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยง/งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
- ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ถ่ายดำ กลืนติด กลืนลำบาก ซีด เหนื่อย น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ หรืออาการไม่ดีขึ้นเลยหลังได้ยา ควรปรึกษาแพทย์
ข้อมูลจาก : ร.ศ.พญ. มณฑิรา มณีรัตนะพร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A
โรคกระเพาะอาหารในทางการแพทย์ หมายถึงโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่ได้เกิดจากแผล เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ทำให้ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิต เพราะมีอาการปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ เช่น ปวดท้องอยู่ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นอาการปวดหายไปเป็นเดือน จนคิดว่าหายแล้ว แต่สุดท้ายก็กลับมาปวดอีก
กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่ย่อยอาหาร โดยการผลิตน้ำย่อย ซึ่งเป็นกรดในการย่อยอาหาร ย่อยได้แม้กระทั่งของที่แข็งอย่างกระดูก แต่กระเพาะของเราจะไม่โดนน้ำย่อยกัด เพราะกระเพาะมีกลไกในการป้องกันตัวเอง และมีการสร้างเมือกขึ้นมาเคลือบผิวของกระเพาะอาหาร แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะอักเสบ
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
มีหลากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุ อาจเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้กลไกการป้องกันตัวเองของกระเพาะเสียไป เจ้าเชื้อนี้ มีชื่อว่า “Helicobacter pylori (H. pylori)” เป็นเชื้อที่อาศัยอยู่บนเยื่อบุอาหาร เพิ่มความเสี่ยงของการอักเสบเรื้อรังของกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารได้
นอกจากนี้พฤติกรรมของเรา เช่น การดื่มเหล้า ชา กาแฟ การสูบบุหรี่ รวมถึงความเครียด การอดอาหารหรือทานอาหารไม่เป็นเวลา ส่งผลให้กลไกการทำงานของกระเพาะอาหารเสียไป กระตุ้นให้กรดหลั่งเยอะขึ้น เมื่อหลั่งเยอะขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะ
อาการของโรคกระเพาะอาหาร
- ปวด จุกแน่นท้อง แสบ หรือรู้สึกตื้อ อิ่มเร็ว อาการจะเกิดบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือช่องท้องส่วนบน เหนือต่อสะดือ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง เวลาอิ่มหรือเวลาหิว อาการจึงเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน
- อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด หรือยาปรับการทำงานของกระเพาะอาหาร
- อาการปวด มักจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีก
- บางราย ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
- แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม
- โรคแผลกระเพาะอาหารจะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม นอกจากจะเป็นแผลชนิดที่เกิดจากโรคมะเร็งของกระเพาะอาหารตั้งแต่แรกเริ่มโดยตรง
การรักษาหรือการบรรเทาอาการ
โรคแผลกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ มักไม่หายขาดตลอดชีวิต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกันเป็นเวลานาน หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน ถ้าหากพบว่ามีแผลในกระเพาะอาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยานานถึง 4-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย เมื่อหายแล้ว ยังอาจกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ได้แก่
- กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- กินอาหารตรงตามเวลาทุกมื้อ
- หากมีปัญหาจุกแน่นหลังรับประทาน อาจปรับลดเป็นกินอาหารจำนวนน้อย ๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอาหารมัน
- งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
- หลีกเลี่ยง/งดการใช้ยาแก้ปวด แอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
- ผ่อนคลายความเครียด กังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
- กินยาลดกรด หรือยารักษาแผลกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
- ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ถ่ายดำ กลืนติด กลืนลำบาก ซีด เหนื่อย น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ หรืออาการไม่ดีขึ้นเลยหลังได้ยา ควรปรึกษาแพทย์
ข้อมูลจาก : ร.ศ.พญ. มณฑิรา มณีรัตนะพร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น 4 โซน A