มะเร็งปอด ทุกระยะดูแลได้

มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตของประชากรทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมะเร็งมีอาการลุกลาม ซึ่งผลการรักษาไม่ค่อยดี ขณะที่หากได้รับการรักษาในระยะแรก ๆ ของโรค ผลการรักษาจะดีกว่ามาก ดังนั้น การตรวจพบโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและพัฒนามากขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน ๆ จึงเรียกชื่อตามต้นกำเนิดของมะเร็งได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bronchogenic Carcinoma (Broncho = หลอดลม, Carcinoma = มะเร็ง) ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้ขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็ก ๆ ส่วนปลายที่ไกลออกไปจากขั้วปอดก็ได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

     1. บุหรี่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดสูงกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วย การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า หากผู้ที่สูบบุหรี่จัดหยุดสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลดลงเรื่อย ๆ แต่กว่าจะลดลงจนเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่จะต้องใช้เวลากว่า 10 ปี

     2. สารพิษ การสัมผัสสารแอสเบสตอส หรือแร่ใยหินซึ่งมักนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค คลัช การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่า นอกจากนี้สารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ สารหนู นิกเกิล โครเมียม และมลภาวะในอากาศ

     3. โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรคปอด หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป

     4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การใช้ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ พันธุกรรม

อาการของโรคมะเร็งปอด

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดมีจำนวนมากที่ไม่มีอาการ ขณะตรวจพบในรายที่มีอาการ อาจมีอาการ ดังนี้

     1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

  • ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
  • ไอเป็นเลือด
  • หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือ ก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • ปอดอักเสบ มีไข้

     แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

     2. อาการของระบบอื่น ๆ ได้แก่

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
  • เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
  • ปวดกระดูก
  • กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
  • อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
  • มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

     ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่โรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นด้วย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

     1. การตรวจคัดกรองในผู้มีความเสี่ยง ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low - Dose Computerized Tomography : LDCT) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดผู้ป่วยสูงอายุ โรคปอดเรื้อรังและมีญาติเป็นมะเร็ง หลายคนซึ่งช่วยในการตรวจพบจุดหรือก้อนมะเร็งปอดขนาดเล็ก ๆที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการเอกชเรย์ปอดแบบธรรมดาโดยผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตรวจ

     2. การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษโดยแพทย์

  • เอกซเรย์ปอด (X-Ray)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การตรวจด้วยเครื่องเพท/ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
  • การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy) และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
  • การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy)
  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ (CT-Guided Biopsy) เป็นต้น

     ข้อมูลจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และสามารถแยกชนิดของมะเร็งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด หรือเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายที่ปอด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการรักษาจำเพาะต่อไป

โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด

     1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 10 - 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด มักมีการดำเนินโรคเร็ว เนื่องจากเป็นชนิดที่แพร่กระจายเร็ว มะเร็งชนิดนี้อาจสร้างสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกาย มะเร็งปอดชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่โอกาสหายขาดยังเป็นไปได้น้อย

     2. มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 75 - 90 ของมะเร็งปอดทั้งหมดมักมีการดำเนินโรคที่ช้ากว่ามีโอกาสตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก หากพบในระยะแรกขั้นตอนของการรักษาหลัก คือการผ่าตัดเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองออก บางรายอาจให้การรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา หรือการรักษาเสริมอื่น ๆ ผลการรักษาดีกว่าชนิดเซลล์เล็ก มีโอกาสหายขาดได้

ระยะของโรคมะเร็งปอด

     1. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ ดังนี้

  • ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
  • ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

     2. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตรและยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่น ๆ ในข้างเดียวกันหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้น ๆ
  • ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกช่องอกไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งปอด

     1. การผ่าตัด ใช้สำหรับรักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปไกล หรือมีการกระจายไปเฉพาะต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และไม่มีการลุกลามไปที่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกที่พิจารณาก่อนการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ การผ่าตัดมี 4 แบบ

  • การตัดเป็นรูปลิ่ม (Wedge Resection) คือ การผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็ง และเนื้อเยื่อรอบ ๆออก
  • การตัดกลีบปอด (Lobectomy) คือ การตัดกลีบปอดออกทั้งกลีบ เป็นการผ่าตัดที่เหมาะสมในผู้ป่วยส่วนใหญ่
  • การตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy) คือการตัดปอดทั้งข้าง
  • การตัดปอดและส่วนของหลอดลมร่วมออกด้วย (Sleeve Resection) คือ การตัดปอดออกทั้งกลีบร่วมกับการตัดและต่อหลอดลมข้างเคียงของปอดนั้นด้วย โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธี Lobectomy ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง แต่แพทย์อาจเลือกวิธีอื่น ๆให้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนั้นอาจพิจารณาตัดอวัยวะข้างเคียงออกบางส่วนถ้ามีการลุกลามเฉพาะที่

     2. การฉายรังสี เป็นการรักษาเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด โดยมีข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยดังนี้

  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกในรายที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ มีผลการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามเฉพาะที่ (ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด) เป็นการรักษาหลักเพื่อหวังผลหายขาด ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • ใช้เป็นการรักษาเสริมก่อน และ/หรือหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะที่ 3 ที่มีข้อบ่งซื้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคเฉพาะที่
  • ใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคองในรายที่เป็นระยะลุกลาม เช่น บรรเทาอาการปวดกระดูก บรรเทาการกดทับเส้นเลือด หรือเส้นประสาทที่สำคัญบรรเทาอาการ ในกรณีที่มะเร็งมีการกระจายไปยังสมอง เป็นต้น
  • ใช้เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการกระจาย เช่น การฉายรังสีที่ศีรษะ เพื่อป้องกันมะเร็งกระจายมาที่สมอง

     3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งโดยการฉีด หรือผสมสารละลายหยุดเข้าทางหลอดเลือด ตัวยาจะผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดและเข้าสู่เซลล์มะเร็งทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้น ข้อดีคือยาเคมีบำบัดสามารถเข้าไปทุกส่วนทั่วร่างกาย ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่จะมีข้อเสียในเรื่องผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นแผลที่เยื่อบุในปาก ท้องร่วง ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาจติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติเป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดในกรณีต่อไปนี้

  • ให้ภายหลังการผ่าตัด ในกรณีที่ผลการผ่าตัดพบว่าเป็นในระยะที่ 2 (ระยะที่ 1 ในบางกรณี)
  • ให้ร่วมกับการฉายแสง เพื่อรักษามะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่
  • ให้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งให้เล็กลง ก่อนพิจารณาการรักษาอื่น ๆ ต่อในมะเร็งระยะที่ 3
  • ให้เพื่อรักษาประคับประคองโรคระยะลุกลาม หรือกำเริบ

     ทั้งนี้ แพทย์ผู้ดูแลจะประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งความเหมาะสมในการให้การรักษาด้วยยาเคมีในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเสมอ

     4. การรักษาโดยให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เป็นการรักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ตัวมะเร็งเป็นหลัก แต่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ต้องมีการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนก่อน ถ้ามีผิดปกติจึงจะใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ เช่น การตรวจ EGFR mutation, ALK Fusion เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้โดยมากเป็นยาในรูปแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเคมีบำบัด

     5. การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษามะเร็งแนวใหม่ล่าสุด โดยใช้ยาไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้มาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีผลข้างเคียงน้อย เป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ อาจใช้เพียงลำพังหรือให้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย

ปัจจัยที่บอกถึงการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด

  • ชนิดของมะเร็งที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีการพยาการณ์โรคโดยรวมดีกว่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็กโดยผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกจะมีโอกาสหายขาดมากกว่า และมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยระยะหลังหรือระยะแพร่กระจาย
  • ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ มักมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่ร่างกายไม่สมบูรณ์
  • การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับการเลือกการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก มีความสำคัญในการพยากรณ์ผลการรักษาของโรคด้วย โดยทั่วไปแพทย์สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ แม้ว่าในบางครั้งอาจจะไม่สามารถช่วยให้หายขาดจากโรคได้ก็ตาม

การป้องกันและการปฏิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอด

  • หยุดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่มีฝุ่นควันมาก หรือการทำงานในเหมืองแร่โดยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง
  • อยู่ในที่ ๆ มีอากาศบริสุทธิ์
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

มะเร็งปอด เป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตของประชากรทั่วโลกและเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ชายเป็นอันดับ 1 และเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมะเร็งมีอาการลุกลาม ซึ่งผลการรักษาไม่ค่อยดี ขณะที่หากได้รับการรักษาในระยะแรก ๆ ของโรค ผลการรักษาจะดีกว่ามาก ดังนั้น การตรวจพบโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจะช่วยให้มีผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้ ด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัยและพัฒนามากขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดลมปอดที่ได้รับการระคายเคืองเป็นระยะเวลานาน ๆ จึงเรียกชื่อตามต้นกำเนิดของมะเร็งได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bronchogenic Carcinoma (Broncho = หลอดลม, Carcinoma = มะเร็ง) ซึ่งอาจเกิดในบริเวณหลอดลมใหญ่ใกล้ขั้วปอด หรืออาจเกิดในหลอดลมแขนงเล็ก ๆ ส่วนปลายที่ไกลออกไปจากขั้วปอดก็ได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

     1. บุหรี่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดสูงกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วย การสูบบุหรี่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์หลอดลม ทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากกว่า 10 เท่า ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2 เท่า หากผู้ที่สูบบุหรี่จัดหยุดสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดลดลงเรื่อย ๆ แต่กว่าจะลดลงจนเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่จะต้องใช้เวลากว่า 10 ปี

     2. สารพิษ การสัมผัสสารแอสเบสตอส หรือแร่ใยหินซึ่งมักนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรค คลัช การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่ร่วมด้วย จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 90 เท่า นอกจากนี้สารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ สารหนู นิกเกิล โครเมียม และมลภาวะในอากาศ

     3. โรคปอด ผู้ที่เคยมีรอยแผลเป็นของโรคที่ปอด เช่น เคยเป็นวัณโรคปอด หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป

     4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น การใช้ยาเสพติดบางประเภท เช่น โคเคน ภาวะขาดวิตามินเอ พันธุกรรม

อาการของโรคมะเร็งปอด

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปอดมีจำนวนมากที่ไม่มีอาการ ขณะตรวจพบในรายที่มีอาการ อาจมีอาการ ดังนี้

     1. อาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

  • ไอเรื้อรัง อาจมีหรือไม่มีเสมหะก็ได้
  • ไอเป็นเลือด
  • หอบเหนื่อย หายใจลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้น ทำให้เนื้อที่ปอดสำหรับหายใจเหลือน้อยลง หรือ ก้อนมะเร็งนั้นกดเบียดหลอดลม
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • ปอดอักเสบ มีไข้

     แต่อาการเหล่านี้ อาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ของปอดได้เช่นกัน จึงไม่ใช่อาการของมะเร็งปอดเสมอไป

     2. อาการของระบบอื่น ๆ ได้แก่

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บวมที่หน้า แขน คอ และทรวงอกส่วนบนเนื่องจากมีเลือดดำคั่ง
  • เสียงแหบ เพราะมะเร็งลุกลามไปยังเส้นประสาทบริเวณกล่องเสียง
  • ปวดกระดูก
  • กลืนลำบาก เนื่องจากก้อนมะเร็งกดเบียดหลอดอาหาร
  • อัมพาต เนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังสมองหรือไขสันหลัง
  • มีตุ่มหรือก้อนขึ้นตามผิวหนัง

     ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่โรคมะเร็งปอดเช่นกัน ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่นด้วย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

     1. การตรวจคัดกรองในผู้มีความเสี่ยง ในปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low - Dose Computerized Tomography : LDCT) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่จัดผู้ป่วยสูงอายุ โรคปอดเรื้อรังและมีญาติเป็นมะเร็ง หลายคนซึ่งช่วยในการตรวจพบจุดหรือก้อนมะเร็งปอดขนาดเล็ก ๆที่ไม่สามารถตรวจพบได้จากการเอกชเรย์ปอดแบบธรรมดาโดยผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนตรวจ

     2. การซักประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจพิเศษโดยแพทย์

  • เอกซเรย์ปอด (X-Ray)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การตรวจด้วยเครื่องเพท/ซีทีสแกน (PET/CT Scan)
  • การส่องกล้องหลอดลมปอด (Bronchoscopy) และตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
  • การส่องกล้องในช่องกลางทรวงอก (Mediastinoscopy)
  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อ (CT-Guided Biopsy) เป็นต้น

     ข้อมูลจากการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด เนื่องจากผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาจะสามารถยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และสามารถแยกชนิดของมะเร็งได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด หรือเป็นมะเร็งของอวัยวะอื่นที่แพร่กระจายที่ปอด เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการรักษาจำเพาะต่อไป

โรคมะเร็งปอดมี 2 ชนิด

     1. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 10 - 25 ของมะเร็งปอดทั้งหมด ส่วนใหญ่พบบริเวณใกล้ขั้วปอดมากกว่าบริเวณชายปอด มักมีการดำเนินโรคเร็ว เนื่องจากเป็นชนิดที่แพร่กระจายเร็ว มะเร็งชนิดนี้อาจสร้างสารเคมีบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน) ในร่างกาย มะเร็งปอดชนิดนี้มักตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาได้ดีทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการรักษา แต่โอกาสหายขาดยังเป็นไปได้น้อย

     2. มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) มะเร็งชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 75 - 90 ของมะเร็งปอดทั้งหมดมักมีการดำเนินโรคที่ช้ากว่ามีโอกาสตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้นได้มากกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก หากพบในระยะแรกขั้นตอนของการรักษาหลัก คือการผ่าตัดเอาก้อนและต่อมน้ำเหลืองออก บางรายอาจให้การรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา หรือการรักษาเสริมอื่น ๆ ผลการรักษาดีกว่าชนิดเซลล์เล็ก มีโอกาสหายขาดได้

ระยะของโรคมะเร็งปอด

     1. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ ดังนี้

  • ระยะจำกัด (Limited-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งพบอยู่ในปอด 1 ข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงเท่านั้น
  • ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) เป็นระยะที่มะเร็งกระจายออกนอกบริเวณช่องทรวงอกข้างนั้น หรือออกจากปอดสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

     2. การแบ่งระยะมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 เซนติเมตรและยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก และผนังหน้าอกหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับก้อนมะเร็ง
  • ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการลุกลามไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง และแพร่กระจายไปที่ปอดกลีบอื่น ๆ ในข้างเดียวกันหรือมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่กลางช่องอก หรือไกลออกไปจากช่องอกข้างนั้น ๆ
  • ระยะที่ 4 มะเร็งที่กระจายออกนอกช่องอกไปยังที่ไกลจากจุดเริ่มต้น และมะเร็งที่กระจายไปที่เยื่อหุ้มปอดหรือแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ตับ กระดูก ต่อมหมวกไตและสมอง เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งปอด

     1. การผ่าตัด ใช้สำหรับรักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปไกล หรือมีการกระจายไปเฉพาะต่อมน้ำเหลืองใกล้ๆ และไม่มีการลุกลามไปที่อวัยวะสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกที่พิจารณาก่อนการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ การผ่าตัดมี 4 แบบ

  • การตัดเป็นรูปลิ่ม (Wedge Resection) คือ การผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็ง และเนื้อเยื่อรอบ ๆออก
  • การตัดกลีบปอด (Lobectomy) คือ การตัดกลีบปอดออกทั้งกลีบ เป็นการผ่าตัดที่เหมาะสมในผู้ป่วยส่วนใหญ่
  • การตัดปอดทั้งข้าง (Pneumonectomy) คือการตัดปอดทั้งข้าง
  • การตัดปอดและส่วนของหลอดลมร่วมออกด้วย (Sleeve Resection) คือ การตัดปอดออกทั้งกลีบร่วมกับการตัดและต่อหลอดลมข้างเคียงของปอดนั้นด้วย โดยทั่วไปแพทย์จะผ่าตัดด้วยวิธี Lobectomy ร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง แต่แพทย์อาจเลือกวิธีอื่น ๆให้ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนั้นอาจพิจารณาตัดอวัยวะข้างเคียงออกบางส่วนถ้ามีการลุกลามเฉพาะที่

     2. การฉายรังสี เป็นการรักษาเฉพาะที่เช่นเดียวกับการผ่าตัด โดยมีข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยดังนี้

  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกในรายที่ไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ มีผลการรักษาใกล้เคียงกับการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามเฉพาะที่ (ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด) เป็นการรักษาหลักเพื่อหวังผลหายขาด ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะที่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบริเวณใกล้เคียงทำให้ไม่สามารถผ่าตัดได้
  • ใช้เป็นการรักษาเสริมก่อน และ/หรือหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยระยะที่ 3 ที่มีข้อบ่งซื้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคเฉพาะที่
  • ใช้เป็นการรักษาแบบประคับประคองในรายที่เป็นระยะลุกลาม เช่น บรรเทาอาการปวดกระดูก บรรเทาการกดทับเส้นเลือด หรือเส้นประสาทที่สำคัญบรรเทาอาการ ในกรณีที่มะเร็งมีการกระจายไปยังสมอง เป็นต้น
  • ใช้เป็นการรักษาเพื่อป้องกันการกระจาย เช่น การฉายรังสีที่ศีรษะ เพื่อป้องกันมะเร็งกระจายมาที่สมอง

     3. การให้ยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งโดยการฉีด หรือผสมสารละลายหยุดเข้าทางหลอดเลือด ตัวยาจะผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดและเข้าสู่เซลล์มะเร็งทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งนั้น ข้อดีคือยาเคมีบำบัดสามารถเข้าไปทุกส่วนทั่วร่างกาย ภายในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่จะมีข้อเสียในเรื่องผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นแผลที่เยื่อบุในปาก ท้องร่วง ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ทำให้อาจติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงกว่าปกติเป็นต้น โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดในกรณีต่อไปนี้

  • ให้ภายหลังการผ่าตัด ในกรณีที่ผลการผ่าตัดพบว่าเป็นในระยะที่ 2 (ระยะที่ 1 ในบางกรณี)
  • ให้ร่วมกับการฉายแสง เพื่อรักษามะเร็งระยะลุกลามเฉพาะที่
  • ให้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งให้เล็กลง ก่อนพิจารณาการรักษาอื่น ๆ ต่อในมะเร็งระยะที่ 3
  • ให้เพื่อรักษาประคับประคองโรคระยะลุกลาม หรือกำเริบ

     ทั้งนี้ แพทย์ผู้ดูแลจะประเมินความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งความเหมาะสมในการให้การรักษาด้วยยาเคมีในผู้ป่วยแต่ละรายก่อนเสมอ

     4. การรักษาโดยให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) เป็นการรักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์เฉพาะที่ตัวมะเร็งเป็นหลัก แต่มีผลต่อเซลล์ปกติเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ต้องมีการตรวจการกลายพันธุ์ของยีนก่อน ถ้ามีผิดปกติจึงจะใช้ยาในกลุ่มนี้ได้ เช่น การตรวจ EGFR mutation, ALK Fusion เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้โดยมากเป็นยาในรูปแบบรับประทาน มีผลข้างเคียงน้อยและมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเคมีบำบัด

     5. การรักษาโดยใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษามะเร็งแนวใหม่ล่าสุด โดยใช้ยาไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้มาทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีผลข้างเคียงน้อย เป็นยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ อาจใช้เพียงลำพังหรือให้ร่วมกับยาตัวอื่น ๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย

ปัจจัยที่บอกถึงการพยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด

  • ชนิดของมะเร็งที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ไม่เล็ก มีการพยาการณ์โรคโดยรวมดีกว่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็กโดยผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะแรกจะมีโอกาสหายขาดมากกว่า และมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยระยะหลังหรือระยะแพร่กระจาย
  • ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง ผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะน้ำหนักตัวลดลงผิดปกติ มักมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ที่ร่างกายไม่สมบูรณ์
  • การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับการเลือกการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก มีความสำคัญในการพยากรณ์ผลการรักษาของโรคด้วย โดยทั่วไปแพทย์สามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ แม้ว่าในบางครั้งอาจจะไม่สามารถช่วยให้หายขาดจากโรคได้ก็ตาม

การป้องกันและการปฏิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปอด

  • หยุดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีมลพิษทางอากาศสูง เช่น สถานที่มีฝุ่นควันมาก หรือการทำงานในเหมืองแร่โดยไม่ใช้เครื่องมือป้องกันตนเอง
  • อยู่ในที่ ๆ มีอากาศบริสุทธิ์
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์มะเร็ง ชั้น 1 โซน E

 


ค้นหาแพทย์

สาระสุขภาพ

ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง